การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม แบบถอนรากชนิดดัดแปลง หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฎชากรณ์ เทโหปการ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • ธิดาจิต มณีวัต โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • จารุวรรณ สุวรรณบูรณ์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, การผ่าตัดมะเร็งเต้านมชนิดถอนราก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลงโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2) ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกจากการใช้  แนวปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2563  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการทำผ่าตัดแบบถอนรากชนิดดัดแปลง ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง 2 จำนวน 30 ราย และ 2) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1)  แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง มีการหาความยากง่ายและความสามารถในการนำไปปฏิบัติ ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และระยะก่อนจำหน่าย ด้วยดัชนีความสอดคล้อง พบว่า ดัชนีความสอดคล้องมากกว่า .67 ในทุกข้อและทั้งระยะก่อนการผ่าตัด หลังผ่าตัดและระยะก่อนจำหน่าย 2) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า  1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการผ่าตัด  เป็นการประเมินทางด้านร่างกายและประเมินด้านจิตใจ 2) ระยะหลังผ่าตัด ได้แก่ การพยาบาลหลังผ่าตัด 1 วัน และการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันน้ำเหลืองสะสมเป็นก้อนใต้ผิวหนัง  การป้องกันข้อไหล่ติด และการป้องกันแขนบวม   3) ระยะก่อนจำหน่ายให้ผู้ป่วยเข้ากิจกรรมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 4) ระยะจำหน่าย เป็นการให้คำแนะนำเรื่องการมาตรวจตามแพทย์นัด และการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน 2) ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกจากการใช้แนวปฏิบัติ  พบว่า ผลลัพธ์ทางคลินิกของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลง ไม่พบแผลผ่าตัดมีเลือดซึม ไม่พบแผลผ่าตัดติดเชื้อ ไม่มีน้ำเหลืองสะสมเป็นก้อนใต้ผิวหนัง  ไม่มีแขนบวม และไม่มีข้อไหล่ติด  ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจระดับมาก และผลลัพธ์ด้านผู้ปฏิบัติ มีความง่ายในการนำไปปฏิบัติ ไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปปฏิบัติได้กับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลงได้ทันที  แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแบบถอนรากชนิดดัดแปลงได้

References

Badger, et. al. (2014). Psychological and physical distress are interdependent in breast cancer survivors and their partners. Journal Psychology, Health & Medicine, 9(6),716-723.

Chaweewan, T. (2008). Clinical Practice Guidelines Development. The Thai Journal of Nursing Council, 20(2), 63-75. (in Thai).

Torres Lacomba, M., Yuste Sánchez, M. J., Zapico Goñi, A., Prieto Merino, D., Mayoral del Moral, O., Cerezo Téllez, E., & Minayo Mogollón, E. (2010). Effectiveness of early physiotherapy to prevent lymphoedema after surgery for breast cancer: randomised, single blinded, clinical trial. BMJ (Clinical research ed.), 340, b5396,from https://doi.org/10.1136/bmj.b5396

Fongkham, T. (2011). Evidence-based nursing: principle and method. Bangkok: Faculty of Nursing Mahidol University. (in Thai).

Khamla. A, Wongwatanarerk, W, Chularee,S., Chairanai,.C & Kaewta,K. (2017). The Development of Care Model to Prevent Surgical Site Infection for Patients Undergoing Coronary Artery Bypass Graft Using Evidence-based Practice. Journal of Nursing and Health Care. 35(2,)34-44.

Nuengruethai, U., Tanaporn, T., Laddawan, S., Cheepakhom, P., & Thamonwan, Y. (2020). Development and evaluation of Clinical Nursing Practice Guideline of Breast Cancer Patients. Vajira Nursing Journal, 22 (2), 91-104. (in Thai).

Medical records and statistics of Surat Thani Hospital. (2019). Breast cancer patient statistics. Report: Surat Thani Hospital. (in Thai).

National Cancer Institute Department of Medical Services Ministry of Public Health Thailand.

(2020). Hospital Base Cancer Registry 2020. Retrieved July1 ,2019 from https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/index.html

Polit, D.F., andBack, T. (2008). Nursing research: Principle and methods (8th ed.). Philadelphiaa: Lippincoott.

Ratchada, P. & Witchuda, K. (2020). Development of Perioperative Nursing Practice Guidelines for Modified Radical Mastectomy. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 23(2), 59-69.(in Thai).

Rosswurm, M.A. and Larrabee, J.H. (1999). A model for change to evidence –based practice. Journal of Nursing Scholarship, 31 (4); 317-322. Retrieved July 4,2019, from http://www.joannabriggs.edu.au/documents/JBI .pdf

Siegel R, Ma J, Zou Z, Jemal. (2014) Cancer Statistic, US National Library of Medicine National Institutes of Health, Jan-Feb; 64 (1):9 -29.

Vitug, A.F., Newman, L.A. (2007). Complication In Breast Surgery. Surgical clinics of North America, 87(2), 431-451.

World Health Organization. (2019). Breast Cancer: Diagnosis–Screening. [Internet].[cited2019/12/23]. Available, from https://www. who.int/cancer/prevention/diagnosis–screening/breast–cancer/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30