โปรแกรมบำบัดภาวะซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่นไทยในโรงเรียน: การวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ชีวีวัฒน์ สถาบันราชานุกูล
  • ศศิศ ศุขเจริญ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • นิติบดี ศุขเจริญ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

โปรแกรมบำบัดภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นไทย, โรงเรียน, การวิเคราะห์อภิมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมบำบัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทยในโรงเรียน และเปรียบเทียบคุณลักษณะงานวิจัยที่มีค่าต่อขนาดอิทธิพล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยประเภทเชิงทดลองหรือกึ่งทดลองเกี่ยวกับโปรแกรมบำบัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทยในโรงเรียนทำการสืบค้นจาก 2 ฐานข้อมูล ได้แก่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และและฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLIS) ประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยแบบประเมิน ROBINS-I โดยรวมมีค่าอคติอยู่ในระดับต่ำ และมีค่าเพียงพอต่อการคำนวณขนาดอิทธิพล คงเหลือกลุ่มตัวอย่าง 13 เรื่อง 13 ค่าขนาดอิทธิพล เป็นงานวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2544-2563 พบจำนวนตัวอย่างวัยรุ่น 584 คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลโดยโปรแกรม Meta-Essentials

ผลการศึกษา พบว่า การกระจายตัวของการใช้โปรแกรมบำบัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทยในโรงเรียน มีค่าขนาดอิทธิพลในระดับสูง มีค่าอยู่ในช่วง -0.63 ถึง -4.93 และมีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยเท่ากับ -1.57 โดยมีช่วง 95% ความเชื่อมั่น คือ -2.22 ถึง -0.92 โปรแกรมบำบัดสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้แตกต่างกัน ซึ่งโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต โปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ และโปรแกรมความสอดคล้องในการมองโลก เป็นโปรแกรมบำบัดที่มีค่าขนาดอิทธิพลสูงสุด 3 อันดับแรก ดังนั้นควรปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมบำบัดที่มีค่าขนาดอิทธิพลสูงในรูปแบบบูรณาการ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการลดภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในโรงเรียนได้

References

ขวัญจิต มหากิตติคุณ. (2548). ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตัวเองทางบวกต่อภาวะซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่น พยาบาลมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทิมา อังคพณิชกิจ และอธิชาติ โรจนะหัสดิน. (2564). สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 15(1), 61-86.

จิราพร เณรธรณี. (2566). เมื่อซึมเศร้ากลายเป็นโรคแห่งยุคสมัย ครูควรรับมืออย่างไร. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/634.

จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. (2557). กลุ่มบำบัดกับพยาบาลจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(1), 1-15.

ฉัตรฤดี กิจวิมลตระกูล. (2545). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวภวนิยมร่วมกับการฝึกหะฐะโยคะต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉันทนา แรงสิงห์. (2556). ผลของโปรแกรมกลุ่มให้คำปรึกษาตามแนวคิดพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม ต่อระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(2), 29-41.

ชนัญชิดา ขุนศักดา. (2548). ผลของการใช้โปรแกรมความสอดคล้องในการมองโลกที่มีต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดชลบุรี. การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชมภูนุช ครองขจรสุข, เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2563). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออก ระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 146-158.

ถิรนันท์ ผิวผา, นุชนาถ บรรทุมพร และสารรัตน์ วุฒิอาภา. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 89-98.

ใบเรียม เงางาม และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการกับอารมณ์ต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้นที่มีปัญหาพฤติกรรม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(2), 116-127.

ผกาสรณ์ สอนไว. (2548). ผลของโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างพลังต่อการเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเด็กวัยรุ่น. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

พวงเพชร เกสรสมุทร. (2552). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ลดความคิดทางลบ เพื่อป้องกันอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลลนา ประทุม. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้น. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

วินัดดา ปิยะศิลป์, พนม เกตุมาน และมธุรดา สุวรรณไพธิ์. (2561). แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ ภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน: จะช่วยอย่างไร? สุขภาพคนไทย 2563, น. 53-57. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก https://www.thaihealthreport.com/th/situation_ten.php?id=4&y=2563&bm=1.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2561). คู่มือปฏิบัติ การดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ:บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). ร้อยละของเด็กวัยรุ่น อายุ 13-24 ปี. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จากhttps://catalog.nso.go.th/dataset/os_04_00013.

สุรศักดิ์ เสาแก้ว. (2559). การอ่านและการแปลผลงานวิจัยการวิเคราะห์อภิมาน. เชียงรายเวชสาร, 8(1), 139-151.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). การนำเสนอผลต่างของการสอนด้วยขนาดอิทธิพล. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 22(6), 935-936.

อัมพร สร้อยบุญ. (2548). ผลของการเต้นแอโรบิกต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร- มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุบลวรรณา เรือนทองดี. (2544). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.) Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Cooper, H. (2016). Research synthesis and meta-analysis: A step-by-step approach. Fifth Edition. Sage: USA.

Cuijpers, P., Karyotaki, E., de Wit, L., & Ebert, D. D. (2020). The effects of fifteen evidence-supported therapies for adult depression: A meta-analytic review. Psychotherapy Research. 30(3), 279-293. https://doi.org/10.1080/10503307.2019.1649732

Hedges, L. V., & Olkin, I. (1985). Statistical methods for meta-analysis. San Diego, CA: Academic Press.

Hfocus. (2021). Assessment of the mental health of more than 180,000 Thai children and adolescents found that they were highly stressed and at risk of depression. more addicted to online games!!. Retrived August 5, 2023 from https://www.hfocus.org/content/2021/10/23307.

Higgins, J. P. T. & Green, S. (2011). Cochrane handbook for systematic reviews of interventions. Version 5.1.0. The Cochrane Collaboration.

Higgins, J. P. T. & Thompson, S. G. (2002). Quantifying heterogeneity in a meta-analysis. Statistics in Medicine, 21(11), 1539-58. https://doi.org/10.1002/sim.1186

Hu, M. X., et al. (2020). Exercise interventions for the prevention of depression: A systematic review of meta-analyses. BMC Public Health, 20(1), 1255. https://doi.org/10.1186/s12889-020-09323-y

Moher, D., Liberati, A., Tetzlaff, J., Altman, D. G., & PRISMA Group (2009). Preferred reporting items for systematic reviews and meta-analyses: The PRISMA statement. PLoS Medicine, 6(7), e1000097. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1000097

Perestelo-Pérez, L. (2013). Standards on how to develop and report systematic reviews in psychology and health. International Journal of Clinical and Health Psychology, 13(1), 49-57. https://doi.org/10.1016/S1697-2600(13)70007-3.

Satinsky, E. N., et al. (2021). Systematic review and meta-analysis of depression, anxiety, and suicidal ideation among Ph.D. students. Scientific Reports, 11(1), 14370. https://doi.org/10.1038/s41598-021-93687-7

Sobalvarro, J. V., et al. (2023). Effectiveness of laughter therapy on anxiety and depression in hospitalized patients: a systematic review and meta-analysis. Revista Brasileira De Farmacia Hospitalar E Servicos De Saude. 14(2), 906. https://doi.org/10.30968/rbfhss.2023.142.0906

Suurmond, R., Van Rhee, H., & Hak, T. (2017). Introduction, comparison and validation of Meta-Essentials: A free and simple tool for meta-analysis. Research Synthesis Methods, 8(4), 537-553. https://doi.org/10.1002/jrsm.1260

van Barneveld, E., et al. (2022). Depression, anxiety, and correlating factors in endometriosis: A systematic review and meta-analysis. Journal of Women's Health (2002), 31(2), 219-230. https://doi.org/10.1089/jwh.2021.0021

Vuthiarpa, S., Sethabouppha, H., Soivong, P. & Williams, R. (2012). Effectiveness of a School-Based Cognitive Behavioral Therapy Program for Thai Adolescents with Depressive Symptoms. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 16(3), 206-221. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5877

Wegner, M., Amatriain-Fernández, S., Kaulitzky, A., Murillo-Rodriguez, E., Machado, S., & Budde, H. (2020). Systematic review of meta-analyses: Exercise effects on depression in children and adolescents. Frontier in Psychiatry, 11, 81. https://doi.org/10.3389/fpsyt.2020.00081

World Health Organization. (2017). Depression let’s talk. Retrived August 5, 2023 from http://www.thaidepression.com/www/who_depress/km_depress.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05