การดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีความต่างทางวัฒนธรรม: บทบาทพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ เด็กยอง สถาบันพยาบาลศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วัชรินทร์ คำสา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, ความต่างทางวัฒนธรรม, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

ในประเทศไทยมีความหลากหลายของเชื้อชาติ หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุด คือ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงซึ่งอาศัยตามพื้นที่สูงหรือบนภูเขาของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางภาษา ความเชื่อ ภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตนเองจึงส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงแตกต่างจากคนไทยที่อาศัยบนพื้นที่ราบ พบว่า ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทพยาบาลในการดูแลทางด้านสุขภาพของกลุ่มชาติพันธ์ที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างเพื่อให้การพยาบาลที่เหมาะสม สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต ในเชิงพฤติกรรม ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการดื่มสุราและสูบบุหรี่ รวมไปถึงระบบบริการสุขภาพ ที่จะส่งผลต่อการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธ์ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สอดคล้องกับการพยาบาลต่างวัฒนธรรมของ “ซันไรส์โมเดล (Sunrise Model)” ของไลนินเจอร์ (Leininger, 2002) และใช้แนวคิดนี้กำหนดเป็นแนวทางให้พยาบาลตัดสินใจเลือกปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ได้แก่ 1) การคงไว้ซึ่งการดูแล 2) การปรับ/ต่อรองกับทีมสุขภาพในเรื่องการรักษา และ 3) การปรับเปลี่ยนการพยาบาลทั้งหมด เพื่อการจัดกระบวนการพยาบาลที่ช่วยให้ผู้รับบริการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของตนให้เข้ากับรูปแบบการดูแลสุขภาพตามทีมสุขภาพกำหนด

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือด 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php source=pformated/format1color.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d8 82b&id=1759fcc16f41cc2eaa2d6a8421892d65.

กลุ่มกิจการชาวเขา. (2559). ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. เชียงราย: พริ้นเชียงรายจำกัด.

ฐิตารัตน์ สารกองแดง และกลีบแก้ว จันทร์หงส์. (2563). บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 317-327.

ณงค์ณุช นทีพายัพทิศ. (2557). อัตลักษณ์ผ้าทอกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(1), 113-121.

ณัจฉรีญา จิตจักร. (2562). พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในชนเผ่าปกาเกอะญอ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. ลำปางเวชสาร, 40(1), 10-16.

ทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ. (2561). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารปัญญา, 25(1), 51-63.

ทัศนีย์ จินะธรรม, ภิรภัทร คุ้มเนตร และพิษณุรักษ์ กันทวี. (2561). การศึกษาความเชื่อ และพฤติกรรมด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 10(1), 179-192.

ธนพงศ์ ภูผาลี, ชิดชนก คูณสวสัดิ์, ธนิตา ภูราชพล และธารินี ศรีศักดิ์นอก. (2560). คำอธิบายถึงการมียาเหลือใช้และพฤติกรรมในการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(1), 5-12.

นพรัตน์ ธนะชัยขันธ์. (2543). ความก้าวหน้าในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดปี 2000 ณ พันตน โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่.

ปรารถนา ลังการ์พินธุ์. (2563). การดูแลสุขภาพแบบต่างวัฒนธรรมในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(2), 67-77.

ปิ่นทอง ผึ้งดอกไม้, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ และฉัตรกนก ทุมวิภาต. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 16-26.

อรวรรณ สัมภวมานะ, ลินดา คล้ายปักษี, พนิดา อาวุธ และโศรตรีย์ แพน้อย. (2560). การพัฒนาการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี. วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 157-167.

วัชรินทร์ คำสา, วรรณรัตน์ ลาวัง และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค หลอดเลือดหัวใจในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดตาก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 76-89.

ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ. (2566). ประวัติศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566 จาก https://hhdc.anamai.moph.go.th/th.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, อิงคฏา โคตนารา, รัชฎาพร ธรรมน้อย, อรพิน ยอดกลาง และบุษบา อนุศักดิ์. (2556). ประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย: ความแตกต่างทางเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(3), 245-256.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ความหลากหลายทางชาติพันธุ์.ปทุมธานี: เอ-พลัส พริ้น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (2566). สาเหตุการป่วย 10 อันดับแรก 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566 จาก https://tak.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=65fdb98bca9c344737fcb1fd4 b64e9e5.

Enas, A. (2019). Lipoprotein(a): An independent, genetic, and causal factor for cardiovascular disease and acute myocardial infarction. Indian Heart Journal, 71(3), 99-112.

Jingjing, G. & Onkam, I. (2021). Way of life of Hmong ethnic group: A case study of Ban Mae Sa Mai, Pongyang sub-district, Maerim district, Chiang Mai. Liberal Arts Review. 16(1), 27-44.

Leininger, M. (2002). Culture care theory: A major contribution to advance transcultural nursing knowledge and practices. Journal of Transcultural Nursing, 13(3), 189-192. https://doi.org/10.1177/10459602013003005

Lorga, T., Aung, M. N., Naunboonruang, P., Junlapeeya, P., & Payaprom, A. (2013). Knowledge of communicable and noncommunicable diseases among Karen ethnic high school students in rural Thasongyang, the far northwest of Thailand. International Journal of General Medicine, 6, 519-526. https://doi.org/10.2147/ijgm.s44902

Patel, J., et al. (2017). Ethnic Groups Living in The Us the Mediators of Atherosclerosis in South Asians Living in America (MASALA) Study and The Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis (MESA). Journal of the American College of Cardiology, 69(11S), 1555-1555.

World Health Organization. (2018). World Health Statistics 2018. Retrieved July 18, 2023 form https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/272596/9789241565585-eng.pdf?ua=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-09