ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, นักเรียนมัธยม, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์บทคัดย่อ
การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกับประชาชนได้ทุกช่วงวัย การทราบสถานการณ์จะสามารถป้องกันพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักเรียนทั้งหมด 236 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ 95% ช่วงความเชื่อมั่นของร้อยละ และสถิติถดถอยพหุลอจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนอายุเฉลี่ย 16.1 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.0) และร้อยละ 39.8 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 49.6 (95% CI: 43.0-56.1) มีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.0 (95% CI: 43.4-56.6) และมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 94.1 (95% CI: 90.3-96.7) และผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุลอจิสติก พบว่า เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ แล้วพบว่า เพศและความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ 0.019 ตามลำดับ)
การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการให้ความรู้ การปลูกฝังทัศนคติที่ดี และการส่งเสริมการมีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมยังมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนมัธยม และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพให้นักเรียนการปฏิบัติที่เหมาะสมในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย
References
Phumart P, Phodha T, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwattananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand: a preliminary study. Journal of Health Systems Research. 2012 Sep;6(3):352–60. (in Thai).
Prakaimuntrakul W. Prevalence of and factors associated with self medication amongs population of Ubonrattana Districts, Khon Kaen Province. [Independent Study Report for the Master of Pharmacy in Pharmacy Management]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2010. (in Thai).
Sommart J, Auiwattanakul P. Factors associated with antibiotic use among senior high school students in Khon Kaen. International Journal of Plant Sciences. 2016; 12(1): 25-33. (in Thai).
Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotics: Preliminary results. Journal of Health Systems Research. 2012 Sep;6(3):361–73. (in Thai).
Kaladee A. Factors related to polypharmacy consumption behavior among people in Tambon Naphai, Muang District, Chaiyaphum: multivariable analysis. Thai Food and Drug Journal. 2014;21(2): 50–8. (in Thai).
Gebeyehu E, Bantie L, Azage M. Inappropriate use of antibiotics and its associated factors among urban and rural communities of Bahir Dar city administration, Northwest Ethiopia. PLoS ONE. 2015;10(9): e0138179.
Awad AI, Aboud EA. Knowledge, attitude and practice towards antibiotic use among the public in Kuwait. PLoS ONE. 2015;10(2): e0117910.
Rachatanavin R. Prevalence of overt manifestation of steroid abuse without medical indication. [s.n.]; 2007. (in Thai).
System Development Group, Public and Consumer Affairs Division. Dietary supplements. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2007. (in Thai).
Singharannusorn C, Arunmuang A. Dietary supple-ment product consumption of secondary school students under supervision region 2 of Ministry of Public Health. Thai Food and Drug Journal. 2013;20(1):38–47. (in Thai).
Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. 4 decades of Food and Drug Administration. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2010. (in Thai).
Singharannusorn C. Knowleadge and Behavior on health product consumption of the secondary level student of Chinatpittayakom school, Chainat province. Thai Food and Drug Journal. 2012;19(1):25–34. (in Thai).
Tongsukdee S, Worapani T. The study of knowledge, attitude and behavior about health product consumption and selection of OR YOR Noi students in Aor Yor Noi School, Sukhothai Province. Thai Food and Drug Journal. 2017;24(3):28–37. (in Thai).
DiClemente RJ, Salazar LF, Crosby RA. Health behavior theory for public health: principles, foundations, and applications. Second Edition. Burlington, Massachusetts: Jones & Bartlett Learning; 2019. p.322.
Bloom BS. Ed. Handbook on formative and summative of student learning. New York: McGraw-Hili. Inc.;1971.
Hosmer DW, Lemeshow, S. Applied logistic regression. 2nd ed. New York: John Wiley &Sons; 2000.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก