ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในกลุ่มวัยช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุ และสามกลุ่มอายุ

ผู้แต่ง

  • จินดารัตน์ สมใจนึก สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จอม สุวรรณโณ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

สุขภาพวัยรุ่น, ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดและความผิดปกติทางเมแทบอลิก, ภาวะน้ำหนักเกิน, ภาวะอ้วน

บทคัดย่อ

              งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดเก็บข้อมูลครั้งเดียวภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในวัยรุ่นตอนปลาย และความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอายุกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในประชากรกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 2,462 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่พักอยู่หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย 350 คน คิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากร สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและชายเท่ากับ 3:1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความแปรปรวนทางเดียวและสถิติโลจิสติก

               ผลการวิจัยพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 28.9 มีภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนตามเกณฑ์ของเอเชีย อัตราของน้ำหนักเกิน อ้วนระดับ 1 และอ้วนระดับ 2 อยู่ที่ร้อยละ 12.9, 12.9 และ 3.1 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์โลจิสติกโมเดลปัจจัยเดี่ยว พบว่า อายุไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วนทั้งจากการเปรียบเทียบในห้ากลุ่มและสามกลุ่มอายุ การวิเคราะห์กลุ่มย่อยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอายุและค่าดัชนีโครงสร้างร่างกายกับดัชนีมวลกายตามเกณฑ์ไทย 7 ระดับ พบผลเช่นเดียวกันยืนยันว่าอายุไม่สัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน

               การศึกษาเสนอแนะให้ควรมีการคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดและโรคร่วมชนิดอื่นในกลุ่มที่มีภาวะอ้วนเกินในวัยรุ่น รวมทั้งควรมีการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีสมรรถนะในการควบคุมปัจจัยกำหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน และตระหนักถึงการเกิดโรคอื่นๆ ที่พบร่วมกับโรคอ้วนต่อไป

References

1. Grundy SM, Cleeman JI, Daniels SR, Donato KA, Eckel RH, Franklin BA, Gordon DJ, Krauss RM, Savage PJ, Smith SC, et al. Diagnosis and management of the metabolic syndrome: an American Heart Association/National Heart, Lung, and Blood Institute Scientific Statement. Circulation. 2005; 112(17): 2735-52.

2. Huang PL. A comprehensive definition for metabolic syndrome. Dis Model Mech. 2009; 2(5-6): 231-7.

3. Kelly T, Yang W, Chen C-S, Reynolds K, He J. Global burden of obesity in 2005 and projections to 2030. Int J Obes. 2008; 32(9): 1431-7.

4. Lavie CJ, Milani RV, Ventura HO. Obesity and cardiovascular disease: risk factors, paradox, and impact of weight loss. J Am Coll Cardiol. 2009; 53(21): 1925-32.

5. World Health Organization (WHO). World Health Organization obesity and overweight. Geneva: World Health Organization; 2018. [Cited 2019 December 17]. Available from: http://www.who.int/ mediacentre/factsheets/ fs311/en/.

6. Juonala M, Viikari JSA, Laitinen T, Marniemi J, Helenius H, Rönnemaa T, et al. Interrelations between brachial endothelial function and carotid intima-media thickness in young adults: The cardiovascular risk in young finns study. Circulation 2004; 110(18): 2918-23.

7. Zheng Y, Manson JE, Yuan C, Liang MH, Grodstein F, Stampfer MJ, et al. Associations of weight gain from early to middle adulthood with major health outcomes later in life. JAMA. 2017; 318(3): 255-69.

8. Yamborisut U, Mo-suwan L. Prevalence of childhood and adolescent obesity in Thailand: a review. J Med Assoc Thai. 2014; 97(1): 44-51.

9. Aekplakorn W, Puckcharern H, Thaikla K, Satheannoppakao W. Thai national health examination survey: NHES V. Nonthaburi: Health System Research Institute, Thailand; 2016. (In Thai)

10. Aekplakorn W, Porapakkham Y, Thaneepanichsakul S, Puckcharern H, Satheannoppakao W, Thaikla K. Thai national health examination survey: NHES IV. Nonthaburi: Health System Research Institute, Thailand; 2009. (In Thai)

11. Aekplakorn W, Hogan MC, Chongsuvivatwong V, Tatsanavivat P, Chariyalertsak S, Boonthum A, et al. Obesity. 2007; 15(12): 3113-21.

12. Banwell C, Lim L, Seubsman SA, Bain C, Dixon J, Sleigh A. Body mass index and health-related behaviours in a national cohort of 87 134 Thai open university students. J Epidemiol Community Health. 2009; 63(5): 366-72.

13. Peltzer K, Pengpid S, Samuels TA, Özcan NK, Mantilla M, Rahamefy OH, et al. Prevalence of overweight/obesity and its associated factors among university students from 22 countries. Int J Environ Res Public Health. 2014; 11(7): 7425-41.

14. Neuman B. The Neuman Systems model. (3rd ed.). Norwalk, CT: Appleton & Lange; 1995.

15. Redinger RN. The pathophysiology of obesity and its clinical manifestations. Gastroenterol Hepatol. 2007; 3(11): 856-63.

16. Yamane T. Statistics: an introductory analysis. NY: New York Harper and Row; 1973.

17. Barba C, Cavalli-Sforza T, Cutter J, Darnton-Hill I, Deurenberg P, Deurenberg-Yap M, et al., For WHO expert consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet. 2004; 363(9403): 157-63.

18. Thailand Expert Committee on obesity evaluation and treatment. Expert Committee on Obesity Evacuation and Treatment. Nonthaburi: Institute of Medical Research and Technology Assessment, Ministry of Public Health Thailand; 2010. (In Thai)

19. Pongchaiyakul C, Nguyen TV, Kosulwat V, Rojroongwasinkul N, Charoenkiatkul S, Pongchaiyakul C, et al. Defining obesity by body mass index in the Thai population: an epidemiologic study. Asia Pac J Clin Nutr. 2006; 15(3): 293-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-09

How to Cite

1.
สมใจนึก จ, สุวรรณโณ จ. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในกลุ่มวัยช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นตอนปลายสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น: การเปรียบเทียบความชุกในห้ากลุ่มอายุ และสามกลุ่มอายุ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [อินเทอร์เน็ต]. 9 สิงหาคม 2020 [อ้างถึง 13 เมษายน 2025];31(1):142-59. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/243986