ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเสริมแรงด้วยการสื่อสารผ่าน แอพพลิเคชันไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ต่อความเครียด และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ บัวพึ่ง มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ศากุล ช่างไม้ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ทิพา ต่อสกุลแก้ว สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

รูปแบบการเสริมแรง, ความเครียดของญาติผู้ดูแล, ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแล, ผู้ป่วยผ่าตัดสมอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเสริมแรงด้วยการสื่อสารผ่านแอพพลิเคชันไลน์ในสถานการณ์โควิด-19  ต่อความเครียดและความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมอง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสมุทรสงคราม เลือกแบบสะดวกจำนวน 15 ราย เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการเสริมแรง พัฒนาขึ้นโดยสมาคมพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตแห่งสหรัฐอเมริกา ผ่านแอพพลิเคชันไลน์ โดยใช้บัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง 3) แบบวัดความรู้สึกเครียดของญาติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่      การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการทดสอบที และสถิติทีคู่

ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้รูปแบบการเสริมแรงด้วยการสื่อสารผ่านแอพพลิเคชันไลน์ คะแนนเฉลี่ยความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .0.5) และคะแนนความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลมากกว่าร้อยละ 85 ตามเกณฑ์บ่งชี้ตามมาตรฐานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

การวิจัยนี้ควรมีการส่งเสริมการใช้รูปแบบการเสริมแรงด้วยการสื่อสารผ่านแอพพลิเคชันไลน์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคระบบประสาทและสมองทุกกลุ่ม และในช่วงระยะเวลาของการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่หากเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

 

References

Aiadsuy N. Stress and coping among family caregivers of the patients with brain tumor awaiting for cranial surgery. Ramathibodi Nursing Journal. 2013; 19(3): 349-64. (in Thai).

Suanpam N, Terathongkum S, Sakunhongsophon S. Factors predicting stress on family caregivers of stroke survivors in selected community. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal. 2019; 11(2): 133-48. (in Thai).

Chantarasin A. Social support of caregiving patients with stroke: a case study of Nakhonnayok hospital. [Minor Thesis of Bachelor of Social Work Program in Social Work]. Bangkok: Thammasat University; 2017. (in Thai).

Luvira V. Health care for caregivers of patients with terminal illness. Srinagarind Medical Journal. 2013; 28(2): 266-270. (in Thai).

Sutter-Leve R, Passint E, Ness D, Rindflesch A. The caregiver experience after stroke in a COVID-19 environment: a qualitative study in inpatient rehabilitation. J Neurol Phys Ther. 2021; 4: 14-20.

Thongchai C. Apply the synergy model for caring critically ill patients. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice. 2015; 2(1): 5-18. (in Thai).

Weerasathian I. Acute stroke patient’ characteristics and nurse competencies in caring for acute stroke patients based on synergy model. [Master Thesis of Nursing Science]. Nakhon Pathom: Christian University of Thailand; 2012. (in Thai).

Sobaski T, Abraham SP. Nurse competencies and optimization of patient outcomes: The synergy model. Int. j. sci. res. methodol. 2018; 10(1): 164-71.

Khalifehzadeh A, KarimyarJahromi M, Yazdannik A. The impact of synergy model on nurses’ performance and the satisfaction of patients with acute coronary syndrome. Iran. J. Nurs. Midwifery Res. 2012; 17(1): 16-20.

Oliveira SC, Costa DG, Cintra AM, Freitas MP, Jordao CN, Barros JF, et al. Telenursing in COVID-19 times and maternal health: whatsApp@ as a support tool [document on the Internet]. The Institute; 2021 [cited 2021 Mar 8]. Available from: http://www.dx.doi.org/10.37689/actaape/2021AO02893

Petrelli F, Cangelosi G, Scuri S, Pantanetti P, Lavorgna F, Faldetta F, et al. Diabetes and technology: A pilot study on the management of patients with insulin pumps during the COVID-19 pandemic [document on the Internet]. The Institute; 2020 [cited 2020 Sep 28]. Available from: https://doi.org/ 10.1016/j.diabres.2020.108481

Karboon V. The factors of LINE official account that effect to healthcare professional information exposure perception. [Master Independent Study of Management Science]. Bangkok: Mahidol University; 2017. (In Thai).

Chanchaipattana T. Expectation and satisfaction on “LINE Application” [Master Thesis of Faculty of Journalism and Mass Communication Science]. Bangkok: Thammasat University; 2013. (In Thai).

Changmai S. Supportive care needs of family caregiver. Christian University of Thailand Journal. 2016; 22(3): 424-35. (in Thai).

Jirawatkul A. Statistics for health science research. Bangkok: Wittayapat company; 2015.

Noonsab K, Baosoung C, Sansiriphun N. Stress fatigue and postpartum functional status among mothers with cesarean section. Nursing Journal. 2019; 46(1): 31-41. (In Thai).

Samosornsuk W, Kunkum D, Kanjanalak N. A study of expectation and satisfaction of patients Thammasat Heart Center service at Thammasat University Hospital. (Unit Budget Analysis and Planning Unit Research Institute). Bangkok: Thammasat University; 2013. (in Thai).

Andrews E, Berghofer K, Long J, Prescott A, Caboral SM. Satisfaction with the use of telehealth during COVID-19: An integrative review [document on the Internet]. The Institute; 2020 [cited 2020 Aug 12]. Available from: http://www.doi.org/10.1016/j.ijnsa.2020. 100008

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-22

How to Cite

1.
บัวพึ่ง พ, ช่างไม้ ศ, ต่อสกุลแก้ว ท. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเสริมแรงด้วยการสื่อสารผ่าน แอพพลิเคชันไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ต่อความเครียด และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [อินเทอร์เน็ต]. 22 มกราคม 2024 [อ้างถึง 13 เมษายน 2025];34(2):70-83. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/260017