การพัฒนาแบบประเมินต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับคนไทย รูปแบบคอมพิวเตอร์

Main Article Content

ชนิตา แดงอุดม
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์
ธีรศักดิ์ สาตรา

Abstract

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายใน ปัจจุบัน การประเมินต้นทุนทางจิตวิทยารูปแบบเก่าเป็นแบบเขียนตอบ (paper pencil) การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประเมินต้นทุน ทางจิตวิทยาจะช่วยให้การประเมินต้นทุนทาง จิตวิทยามีความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินต้นทุนทาง จิตวิทยาสำหรับคนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์โดย ศึกษาค่าความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และระดับความพึงพอใจ ในการใช้แบบประเมินต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับ คนไทยรูปแบบคอมพิวเตอร์

วัสดุและวิธีการ: การศึกษานำร่องโดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินต้นทุน ทางจิตวิทยารูปแบบคอมพิวเตอร์และรูปแบบ เขียนตอบ (paper pencil) และแบบสอบถามความ พึงพอใจในการใช้งานแบบประเมินต้นทุนทาง จิตวิทยารูปแบบคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา: แบบประเมินต้นทุนทางจิตวิทยา รูปแบบคอมพิวเตอร์ มีค่าความสอดคล้องภายใน รวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.952 ในขณะเดียวกัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแบบประเมินต้นทุน ทางจิตวิทยาสำหรับคนไทย รูปแบบคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.986) กับแบบประเมินต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับ คนไทยรูปแบบเขียนตอบ (paper pencil) ในส่วน ของความพึงพอใจต่อการใช้งานแบบประเมิน ต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับคนไทยรูปแบบ คอมพิวเตอร์พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

สรุป: แบบประเมินต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับคน ไทย รูปแบบคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพเพียง พอที่จะเป็นทางเลือกหนึ่งของเครื่องมือในการ ประเมินต้นทุนทางจิตวิทยาสำหรับคนไทยต่อไป

The Development of Thai-Psychological Capital Inventory Computerized Version

Abstract

Background: Since the technology has been advanced dramatically, computers play an important role and have been used widely nowadays. The traditional Thai-psychological capital inventory is the paper pencil version. The introduction of computer technology to assess psychological capital will be faster and more convenient.

Objective: To develop the computerized version of Thai-psychological capital inventory by studying the internal consistency, correla­tional validity and the satisfaction of the users with the computerized version of Thai-psycho­logical capital inventory.

Material and Methods: This research was a pilot study. The sample was chosen by using cluster random sampling from students (grade 9-12). The research materials were a computerized version and the paper-pencil version of Thai-psychological capital inventory, and the satisfaction questionnaire after using the computerized version of Thai-Psychologi­cal capital inventory. The data were statisti­cally analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson's correlation coefficient.

Results: The computerized version of Thai-psychological capital inventory had internal consistency and reliability of 0.952, while the computerized version of Thai-psychological capital inventory had a high positive correlation (r = 0.986), compared with the traditional version. The level of satisfaction in using the computerized version of Thai-psychological capital inventory showed that satisfaction levels were very satisfied.

Conclusions: The Thai-psychological capital inventory computerized version was effective and powerful enough to be an alternative tool instead of the traditional version in order to assess the psychological capital for Thais. 


Article Details

Section
Original Article