การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา : สถานการณ์ปัจจุบันปัญหาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พบมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นส่วนใหญ่พบในพื้นที่ระดับตำบล
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วัสดุและวิธีการ: ผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในการประเมินโครงการ 4 ด้านคือ ด้านบริบทโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในการเก็บข้อมูลครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี จำนวน 78 คน ได้รับการตอบกลับ 70 คน คิดเป็นร้อยละ 89.74 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลมี 3 ขั้นตอนคือ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้การหาค่าความถี่ (frequency) และนำเสนอเป็นค่าร้อยละ (percentage) 2. ข้อมูลการประเมินแบบ CIPP Model ใช้การหาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินแบบ CIPP Model กับผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.30 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 44.30 และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.00 ผลการวิเคราะห์การประเมินตามรูปแบบ CIPP Model ด้านบริบทโครงการ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x = 3.49, SD = 0.66) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.94, SD = 0.73) ด้านกระบวนการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.35, SD = 0.59) ด้านผลผลิตของการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.18, SD = 0.70)
สรุป: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเมื่อรับนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข ควรมีการวิเคราะห์บริบทขององค์กร ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงเครือข่ายนอกกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และวางเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
An Evaluation on Health Products Consumer Protection Project in Sub-district Health Promoting Hospital Pathum Thani Province.
Abstract
Background: At present, the problem on health products is more serious in sub-district area.
Objectives: This study aimed to evaluate the consumer protection on health products project in sub-district health promoting hospital.
Material and Method: We used CIPP model to evaluate context, input, process and product on health products consumer protection. The study population is all 78 director of sub-district health promoting hospitals in Pathum Thani province of those, 70 persons (89.74 percent) answered the questionnaires.The data analysis had 3 steps 1. General data of population by using frequency and present by percentage. 2. Data analysis by CIPP Model by using mean and standard deviation. 3. The relationship between CIPP Model and product on health products consumer protection by using Pearson correlation.
Results: The study found that the majority of participants were male (54.30 percent), ages ranged from 41 to 50 years (44.30 percent), and were bachelor degree (70.00 percent). An evaluation by CIPP Model found that context was in a high level (x = 3.49, SD = 0.66), input was in a moderate level (x = 2.94, SD = 0.73), process was in a moderate level (x = 3.35, SD = 0.59) and product was in a moderate level (x = 3.18, SD = 0.70)
Conclusions: The chief of provincial public health office receives policies from Ministry of Public Health, context of organization should be analyzed with district public health officers, sub-district health promoting hospital officer and networking in the community for shared goals and make strategies.