ผลลัพธ์ของภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคติดเชื้อโควิด 19 ในโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ดวิษ จิระวิจิตรกุล

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: โรคติดเชื้อโควิด 19 มีความเกี่ยวข้องกับมีการบาดเจ็บที่ไตเฉียบพลัน โดยอุบัติการณ์ของภาวะไตวายเฉียบพลันจากการติดเชื้อโควิด 19 มีเพิ่มขึ้น และส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ผลลัพธ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ของภาวะไตวายเฉียบพลัน


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective study) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ฐานข้อมูล HOSxP ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรับการรักษาด้วยโรคติดเชื้อโควิด 19 และมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ย้อนหลัง 2 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565) ประชากร คือ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลัน


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจำนวน 60 ราย มีอายุเฉลี่ย 67.2±13.6 ปี ผลลัพธ์ของภาวะไตวายเฉียบพลัน (renal outcome) ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน พบว่ามี 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ฟื้นหาย จำนวน 34 ราย ร้อยละ 56.7 และผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากไตวาย จำนวน 26 ราย ร้อยละ 43.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของภาวะไตวายเฉียบพลัน (renal outcome) ได้แก่ AKI stage 2 (AOR=6.22; 95%CI 0.72-54.11) AKI stage 3 (AOR=33.27; 95%CI 4.12-268.74) BUN >20 mg/dl (AOR=7.08; 95%CI 1.39-36.07)


สรุป: ควรเฝ้าระวังการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจากการติดเชื้อโควิด 19 ที่อยู่ใน ระยะที่ 2 และ 3 และผู้ที่มีค่า BUN สูงในครั้งแรกที่วินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลัน


Thaiclinicaltrials.org number, TCTR20241208001

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. WHO coronavirus (COVID-19) dashboard [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://data.who.int/dashboards/covid19/cases

Su H, Yang M, Wan C, Yi LX, Tang F, Zhu HY, et al. Renal histopathological analysis of 26 postmortem findings of patients with COVID-19 in China. Kidney Int 2020;98:219-27.

Chan L, Chaudhary K, Saha A, Chauhan K, Vaid A, Baweja M, et al. Acute kidney injury in hospitalized patients with COVID-19 [Internet]. medRxiv [Preprint]. 2020 [cited 2023 Jan 10]: 23 p. Available from: https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.05.04.20090944v1.full.pdf

Guan WJ, Ni ZY, Hu Y, Liang WH, Ou CQ, He JX, et al. Clinical characteristics of coronavirus disease 2019 in China. N Engl J Med 2020;382:1708-20.

Abelson R, Fink S, Kulish N, Thomas K. An overlooked, possibly fatal coronavirus crisis: a dire need for kidney dialysis [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 11]. Available from: https://www.nytimes.com/2020/04/18/health/kidney-dialysis-coronavirus.html

Sangsa N. Treatment outcome of acute kidney injury in patients with COVID-19 infection. Health Science Journal of Thailand 2023;5(2):31-40.

Kidney Disease Improving Global Outcomes. Acute kidney injury (AKI) [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 5]. Available from: https://kdigo.org/wp-content/uploads/2023/10/KDIGO-AKI-Guideline_Scope-of-Work_25Oct2023_Final.pdf

Heung M, Steffick DE, Zivin K, Gillespie BW, Banerjee T, Hsu CY, et al. Acute kidney injury recovery pattern and subsequent risk of CKD: an analysis of veterans health administration data. Am J Kidney Dis 2016;67:742-52.

Cheng Y, Luo R, Wang K, Zhang M, Wang Z, Dong L, et al. Kidney disease is associated with in-hospital death of patients with COVID-19. Kidney Int 2020;97:829-38.

Biswas M, Rahaman S, Biswas TK, Haque Z, Ibrahim B. Association of sex, age, and comorbidities with mortality in COVID-19 patients: a systematic review and meta-analysis. Intervirology 2021;64:36-47.