เปรียบเทียบประสิทธิผลของยา Nalbuphine กับ Ondansetron เพื่อป้องกันอาการคันจากการใส่ยาแก้ปวดทางช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ วรรณศิริ
วินียา ศุขนิคม
ศิวัช วานิชวิริยกิจ
เสกสิทธิ์ วรรณประภา

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดมักได้รับการระงับความรู้สึกเฉพาะที่เข้าที่ช่องน้ำไขสันหลัง โดยให้ยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid ผสมกับยาชาเข้าทางช่องน้ำไขสันหลัง เนื่องจากระงับอาการปวดได้ดี รวมถึงเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อยกว่าวิธีดมยาสลบ แต่อย่างไรก็ตามยากลุ่ม Opioid มีผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคืออาการคัน ซึ่งมักไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านฮีสตามีน อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สบายตัวหลังระงับความรู้สึกได้


วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Nalbuphine กับ Ondansetron ในการป้องกันอาการคันหลังการผ่าตัดคลอด


วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมที่มีการปกปิดสองทาง (double-blinded randomized controlled trial) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด 94 ราย โดยการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่ทางช่องน้ำไขสันหลังด้วยการใส่ยามอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม ผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 47 ราย โดยได้รับ Nalbuphine 3 มิลลิกรัม หรือ Ondansetron 8 มิลลิกรัม หลังทารกคลอด โดยจะมีการประเมินอาการคัน โดยใช้ Pruritus score ประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ Nausea and vomiting score ประเมินความปวด โดยใช้ 10-point Visual Analogue Scale (VAS) และประเมินระดับการง่วงซึม โดยใช้ Sedation score ที่ห้องพักฟื้นและใน 6 และ 24 ชั่วโมงหลังระงับความรู้สึก และวิเคราะห์สถิติด้วย Descriptive statistics, Fisher’s exact test, Independent t-test หรือ Mann-Whitney U test และ Friedeman test


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยา Nalbuphine มีอาการคันน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Ondansetron ทั้งในระยะห้องพักฟื้นและหลังระงับความรู้สึก 24 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 10.6 กับ 31.9, p=0.01; ร้อยละ 0 กับ 8.5, p=0.04 ตามลำดับ) นอกจากนี้อุบัติการณ์เกิดคลื่นไส้อาเจียนที่ห้องพักฟื้นในกลุ่มที่ได้รับยา Nalbuphine มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Ondansetron อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 14.9 กับ 2.1, p=0.03) ส่วนผลการศึกษาอาการปวดและระดับความง่วงซึม พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม


สรุป: ยา Nalbuphine มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคันจากการใส่ยาแก้ปวดทางช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด ซึ่งผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งควรใช้ร่วมกับยา Ondansetron เพื่อลดการเกิดคลื่นไส้อาเจียน


Thaiclinicaltrials.org number, TCTR20241022009

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chaney MA. Side effects of intrathecal and epidural opioids. Can J Anaesth 1995;42:891-903.

Fuller JG, McMorland GH, Douglas MJ, Palmer L. Epidural morphine for analgesia after caesarean section: a report of 4880 patients. Can J Anaesth 1990;37:636-40.

Bujedo BM. Current update in the management of post-operative neuraxial opioid-induced pruritus. Journal of Clinical Research in Anesthesiology [Internet]. 2018 [cited 2024 Feb 3];1(1):1-10. Available from: https://asclepiusopen.com/journal-of-clinical-research-in-anesthesiology/volume-1-issue-1/1.pdf

Charuluxananan S, Kyokong O, Uerpairokit K, Singhapreecha S, Ruangrit T. Optimal dose of nalbuphine for treatment of intrathecal-morphine induced pruritus after caesarean section. Obstet Gynaecol Res 1999;25:209-13.

Bonnet MP, Marret E, Josserand J, Mercier FJ. Effect of prophylactic 5-HT3 receptor antagonists on pruritus induced by neuraxial opioids: a quantitative systematic review. Br J Anaesth 2008;101:311-9.

Borgeat A, Stirnemann HR. Ondansetron is effective to treat spinal or epidural morphine-induced pruritus. Anesthesiology 1999;90:432-6.

Mochizuki H, Tashiro M, Tagawa M, Kano M, Itoh M, Okamura N, et al. The effects of a sedative antihistamine, d chlorpheniramine, on visuomotor spatial discrimination and regional brain activity as measured by positron emission tomography (PET). Hum Psychopharmacol 2002;17:413-8.

Phakanrattana U, Sananslip V, Suksompong S, Toomtong P, editors. Anesthesiology textbook. 4th ed. Bangkok: Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2013.

Thepsoparn M, Ruangkree I. Nalbuphine: a collective review. Thai Journal of Anesthesiology 2022;48:59-66.

Kyriakides K, Hussain SK, Hobbs GJ. Management of opioid-induced pruritus: a role for 5-HT3 antagonists?. Br J Anaesth 1999;82:439-41.