การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: การเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพมีความจำเป็น
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาปัญหา พัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ ในอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นค้นหาปัญหา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ญาติหรือผู้ดูแล 36 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ขั้นพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และขั้นการประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือเป็นชุดเดียวกับขั้นค้นหาปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test
ผลการศึกษา: 1) ขั้นค้นหาปัญหา พบว่า กลุ่มญาติหรือผู้ดูแลมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก มีค่าเฉลี่ยประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระดับปานกลาง ข้อเสนอเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพที่จะนำมาใช้ต้องง่าย ส่วนกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่า พยาบาล Care Manager (CM) เป็นศูนย์กลางการประสานการดูแลผู้ป่วย และเป็นผู้ประเมินปัญหาเบื้องต้นก่อนส่งให้แพทย์ตัดสินใจ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพในการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยยังไม่เป็นระบบ มีค่าเฉลี่ยประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ขั้นพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ หรือ Bed-bound Digitalhealth Access Model หรือ BDA Model ซึ่งมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับดี 3) ขั้นประเมินผลรูปแบบ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยที่เป็นระบบ ทั้งญาติหรือผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีค่าเฉลี่ยประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระดับสูงโดยหลังการดำเนินงานตามรูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
สรุป: BDA Model สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ญาติและผู้ดูแลให้มีการเรียนรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ เพื่อเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยที่ดีและเป็นรูปธรรม ซึ่งตอบสนองต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ควรกำหนดเป็นนโยบาย และประยุกต์ใช้เพื่อขยายผลในวงกว้างต่อไป
Thaiclinicaltrials.org number, TCTR20241231005
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
The Secretariat of the Cabinet. Policy Statement of the Council of Ministers: delivered by Prime Minister Srettha Thavisin to the National Assembly [Internet]. 2023 [cited 2024 Dec 3]. Available from: https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2023/09/Policy_66.pdf
Hfocus. One ID card across Ministry of Public Health Affiliation: Piloted 4 provinces [Internet]. 2023 [cited 2024 May 4]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2023/10/28743
Taweesak W. The development of referral for patients with chronic non-communicable diseases using the health network with TELEHEALTH model, Phiboonmangsahan district, Ubon Ratchathani province. Academic Journal of Community Public Health 2023;9(1):148-59.
Booncherd C. Follow-up for disabled, bedridden, cancer patients and primary pharmaceutical care by using the LINE application in Kut Chum district, Yasothon province. Journal of Health Science 2018;27:920-6.
Maneelert C. Development of application for bed-bound older adults care promotion via augmented reality technology. Journal of Applied Information Technology 2021;7(2):84-95.
Inthiya P. The health care guidelines for the home bound elderly by village health volunteers at Ban Wang Din Li subdistrict Li district, Lamphun province [Thesis]. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University; 2022.
Samantarat T. Development of a home visit model using 3 Tor (ต) control for bed-bound older adults. Journal of Nursing, Siam University 2018;19(36):35-48.
Stringer ET. Action research. 4th ed. California: SAGE; 2014.
Promdit B. Health behavior modification model for diabetes and hypertension risk group: a study in Chanthaburi province. The Office of Disease Prevention and Control 10th Journal 2024;22(1):62-77.
Denjareansopon A. Facters affecting information technology acceptance for work at office of the permanent secretary for ministry of science and technology [Dissertation]. Chonburi: Burapha University; 2017.
Hfocus. MOPH advance to digital era: 30 Baht anywhere and reduce waiting time in hospital 30-40% [Internet]. 2024 [cited 2024 Nov 28]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2024/09/31765
Jeakpoo O, Moolsart S, Piaseu N. Development of an intermediate care model for stroke patients in urban areas. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2023;40:201-10.
Punsawad B, Cherdchoo S, Jungate A, Punnakitikashem P, Tungkaprasert P, Laosirihongthong T. Innovative telecare system for the elderly. Thai Journal of Nursing Council 2011;26 (special issue):5-16.
Hfocus. National Health Security Office Board: 30 baht anywhere phase 4 of 31 provinces for solve the referral system [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 3]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2024/12/32392
Pattanathong J. Development of telemedicine service model, Prachuap Khiri Khan province. Journal of Health Science of Thailand 2024;33:452-76.