ความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช

Authors

  • Pichai Ittasakul Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Keywords:

ภาวะน้ำหนักเกิน, โรคอ้วน, ผู้ป่วยจิตเวช

Abstract

ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากทำให้อัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตายในประชากรสูงขึ้น และยังพบว่าความชุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ป่วยจิตเวชนั้น พบภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้บ่อย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าประชากรทั่วไป ปัญหาเหล่านี้นำไปสู่ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมที่เรียกว่า metabolic syndrome ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น

กลไกในการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับหลายกลไก เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการกินของผู้ป่วย และปริมาณการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ โรคที่ผู้ป่วยเป็น ได้แก่ โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้วและยาที่ผู้ป่วยได้รับ เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้ซึมเศร้า และยาควบคุมอารมณ์

การรักษาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวชนั้น มีวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเลือกใช้ยารักษาโรคที่มีผลต่อน้ำหนักตัวน้อย การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการให้ยาเพิ่มสำหรับช่วยลดน้ำหนัก เช่น topiramate, metformin  อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการให้การรักษา และป้องกันตั้งแต่ระยะแรกๆ ดังนั้นในการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชแพทย์ผู้ดูแลควรตระหนักถึงความเสี่ยงต่างๆ เฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนไว้เสมอ ควรประเมินส่วนสูง น้ำหนัก และรอบเอวของผู้ป่วย และบันทึกไว้เป็นระยะๆ เพื่อติดตามผล ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่ายาที่ได้รับมีโอกาสทำให้นำหนักเพิ่มขึ้นและเกิดโรคอ้วนได้ ควรเน้นให้ผู้ป่วยสังเกตน้ำหนักของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และให้คำปรึกษาเรื่องอาหาร และการทำกิจกรรมต่างๆ ในผู้ป่วยทุกรายที่มีน้ำหนักตัวมาก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาที่อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิด metabolic syndrome ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดตามมาได้

References

Dickerson FB, Brown CH, Kreyenbuhl JA, Fang L, Goldberg RW, Wohlheiter K, et al. Obesity among individuals with serious mental illness. Acta Psychiatr Scand. 2006;113(4):306-13. doi:10.1111/j.1600-0447.2005.00637.x

Coodin S. Body mass index in persons with schizophrenia. Can J Psychiatry. 2001;46(6):549-55. doi:10.1177/070674370104600610.

Fiedorowicz JG, Palagummi NM, Forman-Hoffman VL, Miller DD, Haynes WG. Elevated prevalence of obesity, metabolic syndrome, and cardiovascular risk factors in bipolar disorder. Ann Clin Psychiatry. 2008;20(3):131-7. doi:10.1080/10401230802177722.

Correll CU, Frederickson AM, Kane JM, Manu P. Equally increased risk for metabolic syndrome in patients with bipolar disorder and schizophrenia treated with second-generation antipsychotics. Bipolar Disord. 2008;10(7):788-97. doi:10.1111/j.1399-5618.2008.00625.x.

Newcomer JW. Metabolic syndrome and mental illness. Am J Manag Care. 2007;13(7 Suppl):S170-7.

Fagiolini A, Kupfer DJ, Houck PR, Novick DM, Frank E. Obesity as a correlate of outcome in patients with bipolar I disorder. Am J Psychiatry. 2003;160(1):112-7. doi:10.1176/appi.ajp.160.1.112.

Kolotkin RL, Corey-Lisle PK, Crosby RD, Swanson JM, Tuomari AV, L'italien GJ, et al. Impact of obesity on health-related quality of life in schizophrenia and bipolar disorder. Obesity (Silver Spring). 2008;16(4):749-54. doi:10.1038/oby.2007.133.

Kilbourne AM, Rofey DL, McCarthy JF, Post EP, Welsh D, Blow FC. Nutrition and exercise behavior among patients with bipolar disorder. Bipolar Disord. 2007;9(5):443-52. doi:10.1111/j.1399-5618.2007.00386.x.

Holt RI, Peveler RC. Obesity, serious mental illness and antipsychotic drugs. Diabetes Obes Metab. 2009;11(7):665-79. doi:10.1111/j.1463-1326.2009.01038.x.

Elman I, Borsook D, Lukas SE. Food intake and reward mechanisms in patients with schizophrenia: implications for metabolic disturbances and treatment with second-generation antipsychotic agents. Neuropsychopharmacology. 2006;31(10):2091-120. doi:10.1038/sj.npp.1301051.

Brown S, Birtwistle J, Roe L, Thompson C. The unhealthy lifestyle of people with schizophrenia. Psychol Med. 1999;29(3):697-701.

Berkowitz RI, Fabricatore AN. Obesity, psychiatric status, and psychiatric medications. Psychiatr Clin North Am. 2011;34(4):747-64. doi:10.1016/j.psc.2011.08.007.

Gurpegui M, Martínez-Ortega JM, Gutiérrez-Rojas L, Rivero J, Rojas C, Jurado D. Overweight and obesity in patients with bipolar disorder or schizophrenia compared with a non-psychiatric sample. Prog Neuropsychopharmacol Biol Psychiatry. 2012;37(1):169-75. doi:10.1016/j.pnpbp.2012.01.014.

Nihalani N, Schwartz TL, Siddiqui UA, Megna JL. Weight gain, obesity, and psychotropic prescribing. J Obes. 2011;2011:893629. doi:10.1155/2011/893629.

Virk S, Schwartz TL, Jindal S, Nihalani N, Jones N. Psychiatric medication induced obesity: an aetiologic review. Obes Rev. 2004;5(3):167-70. doi:10.1111/j.1467-789X.2004.00141.x.

Allison DB, Mentore JL, Heo M, Chandler LP, Cappelleri JC, Infante MC, et al. Antipsychotic-induced weight gain: a comprehensive research synthesis. Am J Psychiatry. 1999;156(11):1686-96. doi:10.1176/ajp.156.11.1686.

Newcomer JW. Second-generation (atypical) antipsychotics and metabolic effects: a comprehensive literature review. CNS Drugs. 2005;19 Suppl 1:1-93. doi:10.2165/00023210-200519001-00001.

Downloads

Published

2012-06-29

How to Cite

1.
Ittasakul P. ความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนในผู้ป่วยจิตเวช. Rama Med J [Internet]. 2012 Jun. 29 [cited 2024 Dec. 22];35(2):67-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/117883

Issue

Section

Editor's Note