Robotic-Assisted Surgery
Keywords:
Robotic-assisted surgeryAbstract
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการผ่าตัดทำให้ประสิทธิภาพการผ่าตัดทางเลือก โดยวิธีการบาดเจ็บเล็กน้อยได้รับความนิยมอย่างสูง การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้รับการพัฒนาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดด้านความสามารถของมนุษย์ การพัฒนาของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเริ่มมาจากระบบอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ช่วยในการทำงานในที่เสี่ยงภัย เช่น บริเวณที่มีกัมมันตภาพรังสี ใต้มหาสมุทร หรือแม้กระทั่งในอวกาศ
สำหรับทางการแพทย์บางครั้งศัลยแพทย์ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ทุกที่ ทำให้มีการคิดค้น และริเริ่มการผ่าตัดทางไกลโดยใช้ศัลยแพทย์ควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ปัจจุบันหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้นำระบบ da Vinci และระบบควบคุมการเคลื่อนไหว AESOP และ ZEUS มาใช้ทำให้การผ่าตัดด้วยกล้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดยังมีข้อเสียอยู่บ้าง ได้แก่ หุ่นยนต์มีราคาแพง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาราคาสูงและศัลยแพทย์ที่ใช้ต้องได้รับการฝึกฝนและอบรมจนเชี่ยวชาญถึงสามารถใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดได้
ในปีนี้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกำลังนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่น da Vinci SI ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นล่าสุดจากประเทศสหรัฐอเมริกา มาช่วยในการผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ โดยที่ตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดทั้งระบบ ประกอบด้วย 1) ตัวหุ่นยนต์ ซึ่งมี 4 แขน แขนที่ 1 ช่วยในการถือกล้อง แขนที่ 2 และ 3 ช่วยในการตัด ผูก ตลอดจนเย็บเนื้อเยื่อ และแขนที่ 4 ช่วยในการดึงรั้งเนื้อเยื่อเสริมการผ่าตัด 2)ส่วนกล้องของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นนี้เป็นกล้องแฝดเพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์เห็นภาพเหมือนจริงสามมิติ (Dual light source and dual 3-chip cameras) 3) คอนโซลควบคุมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Master console) ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้สั่งซื้อคอนโซลเพิ่มขึ้น 1 ชุดจากที่มาพร้อมกับชุดหุ่นยนต์ รวมเป็น 2 คอนโซล โดยที่คอนโซลหนึ่งใช้สำหรับผ่าตัดจริงสำหรับผู้ป่วย ส่วนอีกคอนโซลหนึ่งใช้สำหรับการเรียนรู้และฝึกหัดของแพทย์
References
Lanfranco AR, Castellanos AE, Desai JP, Meyers WC. Robotic surgery: a current perspective. Ann Surg. 2004;239(1):14-21. doi:10.1097/01.sla.0000103020.19595.7d.