Editor's Note

Authors

  • Chusak Okascharoen Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand

Abstract

     ผม ผศ. ดร. นพ. ชูศักดิ์  โอกาศเจริญ  ได้รับหน้าที่บรรณาธิการรามาธิบดีเวชสารตั้งแต่ฉบับนี้เป็นต้นไป โดยผมและทีมบรรณาธิการตั้งเป้าหมายว่าจะนำรามาธิบดีเวชสารไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและลักษณะของผู้อ่านที่เปลี่ยนไป

    ในฉบับนี้ผมขอแนะนำโครงการที่น่าสนใจชื่อ Choosing Wisely

โครงการนี้ เริ่มตั้งแต่ปี 2012 โดย American Board of Internal Medicine (ABIM) ซึ่งสงเสริมการสนทนาแลกเปลี่ยน (dialogue) ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาและการตรวจต่างๆ ที่ถูกพิจารณาว่าเกินจำเป็น (over-use) เพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาที่เกินจำเป็นและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ(1) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสมาคม/ กลุ่มแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆในอเมริกาถึง 70 กว่าสาขา

    ทำไมต้องมีโครงการ Choosing Wisely?

เพราะแพทย์และผู้ป่วยไม่ได้สนทนาแลกเปลี่ยน “อย่างเปิดอก” ถึงข้อมูลของการตรวจต่างๆ ด้วยเหตุผลของเวลาที่จำกัด แพทย์และผู้ป่วยมีข้อมูลที่จำกัด อิทธิพลจากค่านิยมและความเชื่อส่วนบุคคล และจากการขาดวัฒนธรรมของการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

     - ข้อจำกัดของเวลา เป็นปัญหามาตลอดในการบริการสุขภาพ โครงการนี้สนับสนุนให้แพทย์ให้เวลาในการสื่อสารและผู้ป่วยรู้จักที่จะเรียกร้องขอเวลาที่เหมาะสม

     - แพทย์มีข้อจำกัดในเรื่องข้อมูล

   ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผู้เกี่ยวข้องของทุกภาคส่วนได้มีการรณรงค์ให้แพทย์ใช้ Evidence-based practice มาตลอด แต่ความพยายามดังกล่าวไม่ได้ผลนัก(2) ด้วยเหตุผลที่การติดตามเพิ่มพูนข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องยากขึ้นทุกๆ ที จากปริมาณข้อมูลที่มากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็วจนยากที่แพทย์จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ขณะที่ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้นจากเทคโนโลยีในปัจจุบันที่คนไทยมากกว่า 60% สามารถเข้าถึง internet และรับรู้เรื่องสุขภาพผิดๆ ถูกๆ จากการ Share ใน social media การสนทนาแลกเปลี่ยนจะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยตระหนักและยอมรับในข้อกำกัด และร่วมกันตัดสินใจด้วยข้อจำกัดที่มีอยู่

    - ในวารสาร New England Journal of Medicine ปลายเดือนมีนาคม 2559(3) David Casarett ได้บรรยายอย่างน่าสนใจถึงหลักจิตวิทยาในการเลือกการตรวจ/ รักษาของแพทย์ เพราะแพทย์ก็อยู่ในฐานะที่เป็น “คน” ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดเช่นคนทั่วไป คนทั่วไปมักเลือกหลักฐานหรือข้อมูลที่สนับสนุนสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าถูกต้อง (confirmation bias) แล้วมักมองแต่ข้อดีแล้วละเลยข้อเสีย หรือมองแต่ตัวย่างที่สำเร็จโดยไม่มองตัวอย่างที่ล้มเหลว ซึ่งแม้ว่าไปแล้วเป็นเรื่องจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน แต่แพทย์ส่วนใหญ่มักไม่ตระหนักในเรื่องนี้ หากท่านผู้อ่านสนใจในเรื่องนี้เพิ่มเติม Joseph T. Hallinan นักเขียนรางวัลพูลลิตเซอร์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Why We Make Mistake(4) ซึ่งบรรยายหลักจิตวิทยาที่ว่าจากตัวอย่างทางการแพทย์ไว้อย่างน่าสนใจ

   - ในส่วนของวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ระดับของการศึกษาและเศรษฐานะของผู้ป่วยมีผลอย่างมาก ผู้ป่วยหรือญาติที่มีการศึกษาสูงจะต้องการมีส่วนร่วมรับรู้และตัดสินใจ ขณะที่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนก็เรียกร้องสิ่งเหล่านี้มากกว่า

   ในเว็บไซต์ของ Choosing Wisely มีตัวอย่าง บทสัมภาษณ์มากมายถึงประสบการณ์การใช้การสื่อสารแลกเปลี่ยนในการลดและแก้ปัญหาการรักษาและการตรวจที่เกินจำเป็น

   ผลแนะนำโครงการนี้ ด้วยคำถามว่า ทำไมถึงต้องรณรงค์เรื่องการสื่อสารแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้อ่านหลายท่านอาจมองว่าเป็นมาตรฐานของเวชปฏิบัติอยู่แล้ว แต่หากมองด้วยตัวเลขง่ายๆ ว่าปกติแพทย์ในอเมริกาใช้เวลา 15 - 30 นาทีต่อผู้ป่วยหนึ่งราย แต่ประเทศไทยแพทย์ใช้เวลา 3 - 5 นาทีต่อผู้ป่วยหนึ่งราย ท่านผู้อ่านคิดว่าโอกาสที่แพทย์และผู้ป่วยจะมีโอกาสสื่อสารแลกเปลี่ยนมีมากน้อยเท่าไร ดังนี้ ผมจึงเห็นว่าการรณรงค์โรงการลักษณะนี้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วย น่าจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

References

https://www.choosingwisely.org

Greehale T Evidence based medicine: a movement in crisis? BMJ 2014;348:g3725. doi:10.1136/bmj.g3725.

Casarett D. The Science of Choosing Wisely--Overcoming the Therapeutic Illusion. N Engl J Med 2016;374:1203-5. doi:10.1056/NEJMp1516803.

Joseph T. Hallinan. Why We Make Mistakes: How We Look Without Seeing, Forget Things in Seconds, and Are All Pretty Sure We Are Way Above Average. 2009 Broadway Books. New York.

Downloads

Published

2016-03-25

How to Cite

1.
Okascharoen C. Editor’s Note. Rama Med J [Internet]. 2016 Mar. 25 [cited 2024 Dec. 22];39(1). Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/177139

Issue

Section

Editor's Note