Editor's Note

Main Article Content

Chusak Okascharoen

Abstract

วันที่ 15 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา Jeffrey Beall ซึ่งเป็นผู้จัดทำ Beall’s List ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวม Blacklist ของ Predatory Journals และ Publishers ได้มาบรรยายในงานประชุมเครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสารไทย ที่จัดโดย Thailand Citation Index (TCI)


ทำไมต้องรู้จัก Beall’s List?


คำตอบที่ตรงที่สุดคือ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ออกระเบียบว่า ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารหรือ publisher ที่อยู่ใน Beall’s List ไม่สามารถใช้สำหรับจบการศึกษาของนักศึกษา ป.โท ป. เอก และสำหรับอาจารย์ก็ไม่สามารถใช้ขอตำแหน่งวิชาการได้


เท้าความสักเล็กน้อย Jeffrey Beall เป็น Academic Librarian ที่ University of Colorado, Denver, USA เริ่มจากปี 2008 เขาพบว่ามีวารสารที่หาเงินกับนักวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวารสารเหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่มีกระบวนการ Peer Reviewers และไม่มีคุณภาพ เขาจึงริเริ่มรวบรวมรายชื่อวารสารและ publisher เหล่านี้ โดยจัดทำ Beall’s List ขึ้นที่ blog ของเขาตั้งแต่ปี 2012


ทำไม Predatory Journal/ Publisher ขึ้น?


1. เพราะการเกิดขึ้นของ internet ทำให้รูปแบบการใช้วารสารและการติดต่อสื่อสารเปลี่ยนไปจากอดีต สามารถอ่านวารสารผ่านทาง online สามารถตีพิมพ์ทาง online ได้สะดวก


2. การเกิด open-access journal ทำให้หมดยุคของ subscription ดังนั้น วารสารและสำนักพิมพ์ต้องเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากลูกค้าคือ ห้องสมุดหรือผู้อ่าน เปลี่ยนเป็นลูกค้าคือผู้นิพนธ์ เกิดการเก็บเงินกับผู้นิพนธ์ขึ้น


3. หน่วยงานหรือสถานศึกษาเกิดเกณฑ์ที่กำหนดว่าจะได้ปรับตำแหน่งหรือจบการศึกษาต้องมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสาร ทำให้นักวิจัยหรือนักศึกษาจำเป็นต้องตีพิมพ์ผลงานวิชาการขึ้น


เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิด Predatory Journal/ Publisher ซึ้งอาศัยความต้องการและปัจจัยเกื้อหนุนมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ


คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากไปตีพิมพ์ใน Predatory Journal/ Publisher ใน Beall’s List ทำอย่างไรดี?


Jeffrey Beall ได้ให้คำแนะนำว่าขั้นแรก คือขอ withdraw หรือ retract บทความ ซึ่งจะมีประเด็นมากหากได้เซ็นมอบลิขสิทธิ์ไปแล้ว ถัดมาก็ให้ชี้แจงกับวารสารที่ส่งไปใหม่อย่างตรงไปตรงมา ว่าได้เคยตีพิมพ์ใน Predatory Journal/ Publisher และขอส่งมาให้ทางวารสารพิจารณา หากทำเป็นเหมือนไม่เคยส่ง และถูกตรวจพบ (ซึ่งปัจจุบันตรวจได้ง่าย ด้วยโปรแกรมตรวจจับ plagiarism) ก็จะกลายเป็นปัญหาของการผิดจริยธรรม


ดังนั้น วิธีง่ายที่สุดคือการตรวจสอบกับ Beall’s List ก่อนส่งตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่เป็นที่ยอมรับในวงการของเรา


เคยมีนักศึกษา มาปรึกษาด้วยกรณีที่ว่าทางมหาวิทยาลัยไม่ให้จบเพราะตีพิมพ์ใน Predatory Journal/ Publisher คำแนะนำของผมคือ ให้เขียนงานวิจัยอีกชิ้นในแง่มุมใหม่จากข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งที่จริงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักวิจัย แต่มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะนำงานเดิมมาขอตีพิมพ์ใหม่ในวารสารอื่นๆ


ท่านผู้อ่านสามารถเข้าดู Beall’s List ใน Blog ของ Jeffrey Beall ได้ครับ

Article Details

How to Cite
1.
Okascharoen C. Editor’s Note. Rama Med J [Internet]. 2016 Dec. 23 [cited 2024 Mar. 29];39(4). Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/177168
Section
Editor's Note