ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

Main Article Content

ตรีพร กำลังเกื้อ
ชนินันท์ โฆษิตกุลจร
กนกพร สุขโต

บทคัดย่อ

บทนำ: กิจกรรมการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ (Ward rounds) เป็นกิจกรรมสำคัญในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มุ่งเน้นการฝึกทักษะการดูแลรักษาผู้ป่วยให้กับนักศึกษาแพทย์ผ่านการถ่ายทอดโดยอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน แต่ปัจจุบันการศึกษาวิจัยที่แสดงถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตยังมีค่อนข้างน้อย


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ รวมทั้งศึกษาปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์


วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มในเดือนมกราคม - เมษายน พ.ศ. 2558 จากนั้นถอดการบันทึกเสียงและใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Thematic content analysis


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาแพทย์ จำนวน 31 คน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการเรียนการสอนวอร์ดราวน์มีความสำคัญและจำเป็น แต่ปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาแพทย์ จากความคิดเห็นทั้งหมดของนักศึกษาแพทย์สามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนวอร์ดราวน์ออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยจากอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้าน (ผู้นำราวน์) 2) ปัจจัยจากตัวนักศึกษาแพทย์เอง และ 3) ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนวอร์ดราวน์จากมุมมองนักศึกษาแพทย์


สรุป: นักศึกษาแพทย์มีความคิดเห็นว่าวอร์ดราวน์เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความสำคัญ และเข้าใจว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้จากกิจกรรมนี้ ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์จึงควรจัดการวอร์ดราวน์ให้เกิดการดูแลรักษาคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับก่อให้เกิดประโยชน์จากการเรียนรู้สูงสุดแก่นักศึกษาแพทย์


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Gonzalo JD, Masters PA, Simons RJ, Chuang CH. Attending rounds and bedside case presentations: medical student and medicine resident experiences and attitudes. Teach Learn Med. 2009;21(2):105-110. doi:10.1080/10401330902791156.

Mel-B KA. What is happening to bedside clinical teaching? Med Educ. 2002;36(12):1185-1188.

Seo M, Tamura K, Morioka E, Shijo H. Impact of medical round on patients’ and residents’ perceptions at a university hospital in Japan. Med Educ. 2000;34(5):409-411.

Nair BR, Coughlan JL, Hensley MJ. Impediments to bed-side teaching. Med Educ. 1998;32(2):159-162.

Williams KN, Ramani S, Fraser B, Orlander JD. Improving bedside teaching: findings from a focus group study of learners. Acad Med. 2008;83(3):257-264. doi:10.1097/ACM.0b013e3181637f3e.

Nikendei C, Kraus B, Schrauth M, Briem S, Junger J. Ward rounds: how prepared are future doctors? Med Teach. 2008;30(1):88-91. doi:10.1080/01421590701753468.

Laskaratos FM, Wallace D, Gkotsi D, Burns A, Epstein O. The educational value of ward rounds for junior trainees. Med Educ Online. 2015;20(1):27559. doi:10.3402/meo.v20.27559.

Swenne CL, Skytt B. The ward round--patient experiences and barriers to participation. Scand J Caring Sci. 2014;28(2):297-304. doi:10.1111/scs.12059.

Norgaard K, Ringsted C, Dolmans D. Validation of a checklist to assess ward round performance in internal medicine. Med Educ. 2004;38(7):700-707.

Stickrath C, Aagaard E, Anderson M. MiPLAN: a learner-centered model for bedside teaching in today's academic medical centers. Acad Med. 2013;88(3):322-327. doi:10.1097/ACM.0b013e318280d8f7.

Nikendei C, Huhn D, Pittius Get, et al. Students’ perceptions on an interprofessional ward round training- a qualitative pilot study. GMS J Med Educ. 2016;33(2):1-15. doi:10.3205/zma0010.

Steinert Y. Student perceptions of effective small group teaching. Med Educ. 2004;38(3):286-293.

Saleh AM, Shabila NP, Dabbagh AA, Al-Tawil NG, Al-Hadithi TS. A qualitative assessment of faculty perspectives of small group teaching experience in Iraq. BMC Med Educ. 2015;15:19. doi:10.1186/s12909-015-0304-7.

Webb NM. The teacher's role in promoting collaborative dialogue in the classroom. Br J Educ Psychol. 2009;79(Pt 1):1-28. doi:10.1348/000709908X380772.