ประสบการณ์การวิจัยเปรียบผลของโปรแกรมสุขภาพต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงวัยของประเทศไทยและญี่ปุ่น
Keywords:
ผลของโปรแกรมสุขภาพ, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงวัยของประเทศไทย, ญี่ปุ่นAbstract
การสร้างเสริมสมรรรถภาพทางกายที่ดีควรสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคม การออกกำลังกายเป็นการทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูงและมีการประสานงานกันของระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบอาหารและการขับถ่าย มีภูมิต้านทานดี นอกจากนี้ทำให้รูปร่างทรวดทรงดี การทรงตัวดี บุคลิกภาพดี และมีสุขภาพจิตดี การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาสมรรถภาพทางกายที่หมายถึงความสามารถของบุคคลในการใช้ระบบต่างๆ ของร่างกายประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโปรแกรมกิจกรรมจัดให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุอาจไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการเพิ่มศักยภาพทางด้านร่างกายในแง่ของการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในระยะเวลาอันสั้น แต่ในด้านความยั่งยืนของโปรแกรมพบว่า ประสบผลสำเร็จได้รับความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโปรแกรมให้ความสนุกสนานสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกผู้สูงอายุ แต่ในแง่การเข้าสู่ข้อมูลสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมจากคอมพิวเตอร์พบว่าไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุไทยยังน้อย การใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศโดยวิธิสำหรับผู้สูงอายุไทยยังไม่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2014 By the authors. Licensee RMJ, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.