อาการปวดท้องเรื้อรังที่มีสาเหตุนอกโรคระบบทางเดินอาหาร: รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

ลิขสิทธิ์ แสงลู่ทอง
สมชาย อินทรศิริพงษ์

บทคัดย่อ

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีอาการโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรังโดยส่วนใหญ่พบลักษณะอาการปกติ ทำให้สาเหตุของโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรังที่เป็นอาการส่วนน้อยอาจถูกละเลยและให้การวินิจฉัยเป็นกลุ่มอาการโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล (Nonulcer dyspepsia) เช่นเดียวกับที่พบในผู้ป่วยรายนี้ ผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุ 64 ปี มีอาการของโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรังและอ่อนเพลียเป็นเวลาหลายปี ตรวจร่างกายครั้งล่าสุดไม่พบความผิดปกติ แม้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเตือนของมะเร็ง แต่ได้รับการตรวจช่องท้องอย่างละเอียดหลายครั้งจากหลายโรงพยาบาล ได้แก่ การตรวจด้วยเครื่องสะท้อนคลื่นเสียงความถี่สูง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การสวนแป้งพร้อมลมทางทวารหนักเพื่อเอกซเรย์ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ซึ่งไม่พบความผิดปกติที่สำคัญจากการตรวจดังกล่าว ผลการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นล่าสุดพบเพียงอาการกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลันเพียงเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรังและอ่อนเพลียมาเป็นเวลานานหลายปี จึงต้องตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่แม้จะพบได้น้อยในโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรัง ในที่สุดพบว่า ผู้ป่วยมีปริมาณคอร์ติซอลในเลือดน้อยกว่า 0.8 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอิเล็กโทรไลต์อยู่ในระดับปกติ ส่วนค่าฮอร์โมนต่อมไธรอยด์ผิดปกติเพียงเล็กน้อย จึงให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะความพร่องฮอร์โมนของต่อมหมวกไตร่วมกับภาวะฮอร์โมนไธรอยด์สูงแบบไม่มีอาการ ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ด้วยยาโรคกระเพาะอาหาร ได้แก่ Pantoprazole, Sucralfate, Simethicone, และ Ondansetron รวมทั้งได้รับยา Hydrocortisone ขนาด 300 มิลลิกรัม หยดเข้าทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่องตลอดวัน ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดีมากภายใน 2 วัน จึงกลับบ้านได้ และได้รับยา Prednisolone รับประทานวันละ 15 มิลลิกรัม ร่วมกับยาโรคกระเพาะหลายขนาน ทั้งนี้ ภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมหมวกไตเป็นภาวะที่พบได้น้อยและผู้ป่วยมักไม่มีอาการและอาการแสดงที่จำเพาะ จึงมักถูกมองข้ามได้ง่ายเนื่องจากสาเหตุที่พบได้ยากของอาการของโรคทางเดินอาหารส่วนต้นเรื้อรัง และในรายงานนี้จะวิจารณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมหมวกไตกับอาการโรคทางเดินอาหารส่วนต้นด้วย


 

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Talley NJ, Ford AC. Functional dyspepsia. N Engl J Med. 2015;373(19):1853-1863. doi:10.1056/NEJMra1501505.

Ford AC, Marwaha A, Sood R, Moayyedi P. Global prevalence of, and risk factors for, uninvestigated dyspepsia: a meta-analysis. Gut. 2015;64(7):1049-1057. doi:10.1136/gutjnl-2014-307843.

Spiller RC. ABC of the upper gastrointestinal tract: Anorexia, nausea, vomiting, and pain. BMJ. 2001;323(7325):1354-1357. doi:10.1136/bmj.323.7325.1354.

Majeroni BA, Patel P. Autoimmune polyglandular syndrome, type II. Am Fam Physician. 2007;75(5):667-670.

Erichsen MM, Løvås K, Skinningsrud B, et al. Clinical, immunological, and genetic features of autoimmune primary adrenal insufficiency: observations from a Norwegian registry. J Clin Endocrinol Metab. 2009;94(12):4882-4890. doi:10.1210/jc.2009-1368.

Schubert TT, Schubert AB, Ma CK. Symptoms, gastritis, and Helicobacter pylori in patients referred for endoscopy. Gastrointest Endosc. 1992;38(3):357-360. doi:10.1016/s0016-5107(92)70432-5.

Chen YC, Lin YH, Chen SH, et al. Epidemiology of adrenal insufficiency: a nationwide study of hospitalizations in Taiwan from 1996 to 2008. J Chin Med Assoc. 2013;76(3):140-145. doi:10.1016/j.jcma.2012.11.001.

Olafsson AS, Sigurjonsdottir HA. Increasing prevalence of Addison disease: results from a nationwide study. Endocr Pract. 2016;22(1):30-35. doi:10.4158/EP15754.OR.

Charmandari E, Nicolaides NC, Chrousos GP. Adrenal insufficiency. Lancet. 2014;383(9935):2152-2167. doi:10.1016/S0140-6736(13)61684-0.

Soule S. Addison’s disease in Africa--a teaching hospital experience. Clin Endocrinol (Oxf). 1999;50(1):115-120. doi:10.1046/j.1365-2265.1999.00625.x.

Tobin MV, Aldridge SA, Morris AI, Belchetz PE, Gilmore IT. Gastrointestinal manifestations of Addison’s disease. Am J Gastroenterol. 1989;84(10):1302-1305.

Ciobanu L, Dumitrascu DL. Gastrointestinal motility disorders in endocrine disorders. Pol Arch Med Wewn. 2011;121(4):129-136.

Yakabi K, Kawashima J, Kato S. Ghrelin and gastric acid secretion. World J Gastroenterol. 2008;14(41):6334-6338. doi:10.3748/wjg.14.6334.