ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

เยาวเรศ แตงโสภา
ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ชนิกา อังสนันท์สุข
ศิวดล วงค์ศักดิ์

บทคัดย่อ

บทนำ: แพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ความสมดุลระหว่างชีวิตและการปฏิบัติงานอาจส่งผลถึงประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2565


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 54 ข้อ มี 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม (เพศ สถานภาพสมรส และระดับรายได้) ระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 4 ด้าน (การทำงาน สังคม ชีวิตส่วนตัว และเศรษฐกิจ) และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 2 ด้าน (ผลสัมฤทธิ์ และพฤติกรรมการปฏิบัติงาน) วิเคราะห์ค่าร้อยละคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ความแตกต่างของสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้านด้วย Analysis of variance และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตและการทำงานกับคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม และความสัมพันธ์ของสมดุลชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้วย Multiple regression analysis


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างแพทย์ประจำบ้านต่อยอด 10 คน และแพทย์ประจำบ้าน 36 คน เป็นเพศชาย 39 คน (ร้อยละ 84.80) สถานภาพโสด 36 คน (ร้อยละ 80.00) มีรายได้ 20,001 ถึง 30,000 บาท จำนวน 33 คน (ร้อยละ 71.80) เพศหญิงมีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและด้านเศรษฐกิจสูงกว่าเพศชาย แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านชีวิตส่วนตัวสูงกว่าแพทย์ประจำบ้านอย่างมีนัยสำคัญ (32.80 และ 38.60 คะแนน, P = .03) ผู้มีรายได้ 30,001 ถึง 40,000 บาท มีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและด้านชีวิตส่วนตัวสูงที่สุด ผู้สมรสมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานสูงกว่าผู้ที่โสด ระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานแปรผกผันกับระดับรายได้ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านผลสัมฤทธิ์แปรผกผันกับระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ


สรุป: การวิเคราะห์ผลการศึกษานี้เพื่อหาสาเหตุและแนวโน้มของประสิทธิผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา สามารถใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการฝึกอบรมที่ช่วยเสริมสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดี นำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุดในการปฏิบัติงานได้


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Theppawan P. Strategic Human Resource Management: Concepts and Strategies for Competitive Advantage. SE-Education Public Co, Ltd; 2011.

Tatiyapron N, Puwittayatorn T, Suksri NH. The relationships between the work life balance and the work performance efficiency of staffs in Suratthani Hospital. Phuket Rajabhat University Academic Journal. 2016;12(1):21-43.

Fiedler F. A Theory of Leadership Effectiveness. Mc Graw-Hill; 1976.

Hyman J, Summers J. Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Pers Rev. 2004;33(4):418-429. doi:10.1108/00483480410539498

Sargent MC, Sotile W, Sotile MO, Rubash H, Barrack RL. Quality of life during orthopaedic training and academic practice. Part 1: orthopaedic surgery residents and faculty. J Bone Joint Surg Am. 2009;91(10):2395-2405. doi:10.2106/JBJS.H.00665

Ames SE, Cowan JB, Kenter K, Emery S, Halsey D. Burnout in orthopaedic surgeons: a challenge for leaders, learners, and colleagues: AOA critical issues. J Bone Joint Surg Am. 2017;99(14):e78. doi:10.2106/JBJS.16.01215

Oskrochi Y, Maruthappu M, Henriksson M, Davies AH, Shalhoub J. Beyond the body: a systematic review of the nonphysical effects of a surgical career. Surgery. 2016;159(2):650-664. doi:10.1016/j.surg.2015.08.017

L Ho SW, K Kwek EB. Levels of burnout and its association with resilience and coping mechanisms among orthopaedic surgery residents: a single institution experience from Singapore. Singapore Med J. 2022;63(7):381-387. doi:10.11622/smedj.2021010

Somkhuan P. The Work Life Balance and Performance Effectiveness General Staff Division Officer in Immigration Bureau. Dissertation. Krirk University; 2014.

Somerson JS, Patton A, Ahmed AA, Ramey S, Holliday EB. Burnout among United States orthopaedic surgery residents. J Surg Educ. 2020;77(4):961-968. doi:10.1016/j.jsurg.2020.02.019

Carr PL, Friedman RH, Moskowitz MA, Kazis LE. Comparing the status of women and men in academic medicine. Ann Intern Med. 1993;119(9):908-913. doi:10.7326/0003-4819-119-9-199311010-00008

Li Y, Cao L, Mo C, Tan D, Mai T, Zhang Z. Prevalence of burnout in medical students in China: a meta-analysis of observational studies. Medicine (Baltimore). 2021;100(26):e26329. doi:10.1097/MD.0000000000026329