การศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหกับโทรศัพท์มือถือเทียบกับการใช้อุปกรณ์ ตรวจหูทั่วไป

Main Article Content

อัจจิมา ฮุ่ยสกุล
ทศพร วิศุภกาญจน์
ปวิน นำธวัช

Abstract

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจหูใหม่ๆ ให้สามารถบันทึกภาพได้


วัตถุประสงค์: 1. เพื่อประดิษฐ์และพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับมือถือรุ่นใดก็ได้และ สามารถส่งต่อข้อมูลภาพและวิดีโอให้แก่แพทย์ท่านอื่นได้ 2. เพื่อศึกษาคุณภาพของภาพที่ใช้เพื่อการส่งต่อทางมือถือของอุปกรณ์ต่อกับกล้องมือถือสำ หรับบันทึกภาพในหู เปรียบเทียบกับอุปกรณ์ตรวจหูทั่วไป


วิธีการศึกษา: มีระยะวิจัย คือ (1) พัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือ (2) ตรวจหูเปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือกับการใช้อุปกรณ์ตรวจหูทั่วไป, (3) ประเมินคุณภาพของภาพและการวินิจฉัยโรค


ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัย 15 คน หู 30 ข้างพบว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือคุณภาพของภาพ ด้อยกว่าอุปกรณ์ตรวจหูทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) แต่อุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์ มือถือขยายภาพและส่งต่อข้อมูลให้แพทย์ท่านอื่นได้ดีกว่าอุปกรณ์ส่องหูทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ด้านคุณภาพโดยรวม ความพึงพอใจในด้านความสามารถในการวินิจฉัยโรคทางหูชั้นนอกและชั้นกลางและความสะดวก ในการใช้งาน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้ (p-value 0.074,0.206,0.527)


สรุป: อุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือประสิทธิภาพน้อยกว่าอุปกรณ์ตรวจหูทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผู้ใช้มีความพึงพอใจในการใช้มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหูกับโทรศัพท์มือถือในด้านความสามารถส่งต่อข้อมูลให้ แพทย์ท่านอื่นได้มากกว่าอุปกรณ์ตรวจหูทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่าอุปกรณ์ตรวจหูทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิต

Article Details

How to Cite
ฮุ่ยสกุล อ., วิศุภกาญจน์ ท. ., & นำธวัช ป. . (2020). การศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องหกับโทรศัพท์มือถือเทียบกับการใช้อุปกรณ์ ตรวจหูทั่วไป. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery, 20(1), 37–45. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rcotJ/article/view/245056
Section
Reseach Articles

References

1. Sahyouni R, Moshtaghi O, Rajaii R, Tran DK, Bustillo D, Huang M, et al. Evaluation of an iPhone Otoscope in a Neurotrauma Clinic and as an Adjunct to Neurosurgical Education. Insights in neurosurgery. 2016;1(1).
2. Mandavia R, Lapa T, Smith M, Bhutta MF.A cross-sectional evaluation of the validity of a smartphone otoscopy device in screening for ear disease in Nepal. Clinical otolaryngology : official journal of ENT-UK ;official journal of Netherlands Society for Oto-Rhino-Laryngology & Cervico-Facial Surgery. 2018;43(1):31-8.
3. Davies J, Djelic L, Campisi P, Forte V, Chiodo A. Otoscopy simulation training in a classroom setting: a novel approach to teaching otoscopy to medical students. The Laryngoscope. 2014;124(11):2594-7.
4. Bae JK, Vavilin A, You JS, Kim H, Ryu SY,Jang JH, et al. Smartphone-Based Endoscope System for Advanced Point-of-Care Diagnostics: Feasibility Study. Journal of Medical Internet Research mHealth and uHealth. 2017;5(7):e99.
5. Mandavia R, Lapa T, Smith M, Bhutta MF.A cross-sectional evaluation of the validity of a smartphone otoscopy device in screening for ear disease in Nepal. Clinical otolaryngology : official journal of ENT-UK ;official journal of Netherlands Society for Oto-Rhino-Laryngology & Cervico-Facial Surgery. 2018;43(1):31-8.