การศึกษาเปรียบเทียบ ผลการผ่าตัดระบายหนองที่ต่อมน้ำลายพาโรติด ด้วยวิธีแผลยาวกับวิธีแผลสั้น ในโรงพยาบาลยโสธร

Main Article Content

ทรงศักดิ์ บัวเบิก

Abstract

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การผ่าตัดระบายหนองที่ต่อมน้ำลายพาโรติด ด้วยวิธีแผลยาว และแผลสั้น จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ในแง่ของระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลนับจากวันผ่าตัด, การต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ และการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial n.


วิธีการศึกษา: Retrospective Study ในผู้ป่วย 71 คนที่มาผ่าตัดระบายหนองต่อมน้ำลายพาโรติด ในโรงพยาบาล ยโสธร ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 2557 ถึง 31 มี.ค. 2562 โดยการสืบค้นจากทะเบียนผ่าตัดของห้องผ่าตัด และข้อมูลเวชระเบียน ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก


ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบายหนองที่ต่อมน้ำลายพาโรติด ที่โรงพยาบาลยโสธร ระหว่าง 9 มิ.ย. 2557 ถึง 31 มี.ค. 2562 ทั้งหมด 71 คน ได้รับการผ่าตัดระบายหนองแบบ แผลยาว 30 คน แผลสั้น 41 คน อายุตั้งแต่ 1-95 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 ไม่มีโรคประจำตัว เชื้อที่พบมากที่สุดคือ Streptococcus beta hemolytic ร้อยละ 22.5 ระยะนอนโรงพยาบาลนับจากวันผ่าตัด ในกลุ่มแผลยาวอยู่ระหว่าง 4-19 วัน เฉลี่ย 5.8 วัน กลุ่มแผลสั้นอยู่ระหว่าง 1-17 วัน เฉลี่ย 5.68 วัน, ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของระยะเวลา นอนโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่ม (p-value = 0.412) ในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดระบายหนองแบบแผลยาว พบว่าต้อง ได้รับการผ่าตัดซ้ำ 2 ราย (ผู้ป่วยรายหนึ่งผลเพาะเชื้อขึ้น Staphylococcus aureus และอีกรายขึ้น Burkholderia Pseudomallei ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงสูง) แต่ไม่พบภาวะบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial n. ส่วนกลุ่มที่ได้รับ การผ่าตัดระบายหนองแบบแผลสั้น พบว่าต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ 1 ราย (ผลเพาะเชื้อขึ้น Burkholderia Pseudomallei) และพบมีการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial n. 1 ราย (facial n. paralysis grade III) แต่เป็นหลังผ่าตัด 6 วัน ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัด และผลเพาะเชื้อขึ้น Burkholderia Pseudomallei) ไม่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ และการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial n. ของทั้งสองกลุ่ม (p-value = 0.479)


สรุป: การผ่าตัดระบายหนองที่ต่อมน้ำลายพาโรติด ด้วยวิธีแผลยาว และวิธีแผลสั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ของระยะเวลานอนโรงพยาบาล การต้องได้ผ่าตัดซ้ำ และการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท facial n. เพราะฉะนั้น การผ่าตัดระบายหนองแบบแผลสั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ต่อมน้ำลายพาโรติด

Article Details

How to Cite
บัวเบิก ท. (2020). การศึกษาเปรียบเทียบ ผลการผ่าตัดระบายหนองที่ต่อมน้ำลายพาโรติด ด้วยวิธีแผลยาวกับวิธีแผลสั้น ในโรงพยาบาลยโสธร. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery, 20(1), 46–56. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rcotJ/article/view/245057
Section
Reseach Articles

References

1. ชูเกียรติ วงศ์นิจศีล. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อและมีฝีหนองของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลขอนแก่น.ขอนแก่นเวชสาร 2551;32:147-154.
2. สาธิต ก้านทอง. การศึกษาย้อนหลังอุบัติการณ์และผลการรักษาการติดเชื้อเป็นฝีหนองที่คอและช่องใบหน้าผู้ป่วย 491 รายที่โรงพยาบาลชัยภูมิ.ขอนแก่นเวชสาร 2551;32:153-164.
3. Neal M. Jackson, Jenna L. Mitchell, Rohan R. Walvekar. Inflamatory disorders of the salivary glands. In: Paul Flint, Bruce Haughey,Valerie Lund, editors. Cummings Otolaryn-gology Head and Neck Surgery. 6th ed.Philadelphia : Elsevier; 2015.P 1223-37.
4. Agustin J. Arrieta , Thomas V. McCaffrey. Inflammatory disorders of the salivary glands. In: Charles W. Cumming, Bruce Haughey, J. Regan Thomas, editors. Cummings Otolaryngology Head and Neck Surgery.4th ed. Philadelphia : Elsevier; 2005. P 1323-38.
5. Cohen MA,Docktor JW. Acute suppurative parotitis with spread to the deep neck spaces. Am J Emerg Med 1999;17:46-9.
6. Petersdorf RG, Forsyth BR, Bernanke D. Staphylococcal parotitis. N Engl J Med 1958 ; 259:1250-8.
7. Krippaehne WW, Hunt Tk, Dunphy JB. Acute suppurative parotitis : A study of 167 case. Ann Surg 1962;156:251-7.
8. Brook I. Acute bacterial suppurative parotitis : microbiology and management. J Craniofac Surg 2003;14(1):37-40.
9. Srirompotong S, Saeng-Sa-Ard S. Acute suppurative parotitis . J Med assoc Thai 2004 Jun ; 87(6): 694-6.
10. Rami E. Saade,Diana M. Bell, Ehab Y. Hanna. Benign Neoplasms of the salivary glands. In: Paul Flint, Bruce Haughey, Valerie Lund, editors. Cummings Otolaryngology Head and Neck Surgery. 6th ed. Philadelphia : Elsevier;2015. P 1238-57.
11. Blair VP, Pagett EC. Pyogenic infection of the parotid glands and ducts. Arch Surg 1923;7:1-36.
12. Boland J. The surgery of sepsis : parotid abscess. In : King M, Bewes P, Caims S, Nundy S, editors. Primary Surgery. 1st ed.Oxford : Oxford University Press ; 1990, P 435-6.
13. Louis T. Byars. Preservation of the facial nerve in operation for benign condition of the parotid area. Annal of surgery 1952;136(3):412-19.
14. R Ganesh, T leese. Parotid abscess in Singapore. Singapore Med J 2005;46(10):553-6.
15. Takahashi A, Martini MZ, Seo J, et al. Ultrasound guided needle aspiration of parotid abscess. Indian J Dent Res 2012;23(3):423-5.
16. Sean Scattergood, Stepen Moore, Andrew Prior, et al. Percutaneous drainage of parotid gland abscess under contrast-enhanced ultrasound guidance: A case report. Ultrasound2018;26(3).
17. So Young Choi, Ji Dae Kim, Wang Woon Cha, et al. Parotid abscess treated with percutaneous drainage. Korean J Otorhinolaryngol-Head Neck Surg 2016;59(9):655-60.
18. Magaram D, Gooding GA. Ultrasonic guided aspiration of parotid abscess. Arch Otolaryngol 1981;107(9):549
19. ศราวุฒิ สายศิลป์. เมลิออยโดซีสบริเวณใบหน้าและช่องปาก. สรรพสิทธิ์เวชสาร 2542;20:43-50.
20. Sakulrat Srirogana. Parotid abscess caused by Burkholderia pseudomallei in children :Report of 3 case from Kalasin hospital.Srinagarind Med J 2006; 21(1):51-8.
21. Dance DAB, Davis TM, Wattanagoon Y,Chaowagul W, Saipan P, et al. Acute suppurative parotitis cause by Pseudomonal pseudomallei in children. J infected Dis 1989;159:654-60.
22. Smith DR, Hartig GK. Complete facial paralysis as a result of parotid abscess.Otolaryngol Head Neck Surgery 1997;117:114-7.
23. ทรงศักดิ์ บัวเบิก. เมลิออยด์บริเวณศีรษะและลำคอ ในโรงพยาบาลยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2555;11:25-9.
24. ผกากรอง ลุมพิกานนท์, วัลลภ เหล่าไพบูลย์.การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจทางรังสีวิทยา. ใน: ผกากรอง ลุมพิกานนท์, บรรณาธิการ.โรคเมลิออยโดสิสในเด็ก, ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2543. หน้า 85-101.
25. Mehtab Alam ,Syed Abrar Hasan. Facial Palsy due to Parotid Abscess: An Unusual complication. Turk Arch Otorhinolaryngol2016;54(4):168-71