การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบสอบถาม Tinnitus Handicap Inventory กับการตรวจวัดความดังของเสียงในหูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียงดังรบกวนในหู

Main Article Content

นิลเนตร มหัทธนารักษ์
จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ
ศิวะพร เกียรติธนะบำรุง
ทศพร วิศุภกาญจน์

Abstract

บทคัดย่อ


ความเป็นมา: ภาวะเสียงดังรบกวนในหู (Tinnitus) คือ เสียงที่เกิดขึ้นโดยปราศจากแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอก เป็นภาวะที่พบได้บ่อย อุบัติการณ์พบประมาณร้อยละ 10-30 ทั่วโลก และมีประชากรจำ นวนร้อยละ 10-15 ได้รับ ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตจากภาวะเสียงดังรบกวนในหู เช่น อาการนอนไม่หลับ หงุดหงิด รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรค วิตกกังวล และคิดฆ่าตัวตาย ปัจจุบันมีแบบสอบถามที่เป็นมาตรฐานสำ หรับประเมินความรุนแรง ของผลกระทบที่ผู้ป่วย ได้รับจากเสียงดังรบกวนในหู Tinnitusคือ Handicap Inventory (THI) และการวัดระดับความดัง ของเสียงในหู Tinnitus (Loudness Matching) เพื่อประเมินชนิด, ความดัง, และความถี่ของเสียงในหูที่ผู้ป่วยได้ยิน หากแต่ยังมิทราบความสัมพันธ์ของเครื่องมือการตรวจวัดทั้งสองอย่างทั้งนี้เพื่อการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเน้นถึงการให้ข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ผู้ป่วย และเพื่อให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกระบวนการ รักษาความสัมพันธ์ของเครื่องมือการตรวจ ทั้งสองอย่างจึงอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำ ให้การรักษานั้นประสบผลสำเร็จได้


วัตถุประสงค์ในการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการประเมินความรุนแรงของเสียงดังในหูด้วยแบบสอบถาม Tinnitus Handicap Inventory ฉบับภาษาไทย กับการวัดระดับความดังของเสียงในหู (Tinnitus Loudness Matching)


วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบProspective study ที่จัดทำ ในผู้ป่วยที่มารับการตรวจที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นจำ นวน 68 คน ทำการตอบแบบสอบถาม THI ฉบับภาษาไทย และเข้ารับการตรวจวัดระดับเสียงในหูโดยนักแก้ไขความผิดปกติของ การสื่อความหมาย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS, เวอร์ชั่น 23.0


ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าจากการตอบแบบสอบถาม THI ในจำ นวนผู้ป่วยทั้งหมด 68 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับ ผลกระทบจากเสียงดังในหูในระดับน้อย 32 คน (ร้อยละ 47.1), ระดับปานกลาง 13 คน (ร้อยละ 19.1), ระดับ รุนแรง 5 คน (ร้อยละ 7.4), ระดับรุนแรงมาก 3 คน (ร้อยละ 4.4), และไม่ได้รับผลกระทบ 15 คน (ร้อยละ 22.1) โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยทั้งหมดได้รับผลกระทบในระดับต่ำ Median [(IQR) = 28 (18-41.5)] และค่าเฉลี่ยระดับความดัง ของเสียงในหู [Median (IQR)] เท่ากับ 7 (2.25-14.75) dBHL โดยจากการศึกษาไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่าง ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ผู้ป่วยได้รับจากเสียงในหูกับความดังของเสียงรบกวนในหู


บทสรุป: จากการศึกษาไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ผู้ป่วยได้รับจากเสียง ในหูที่วัดได้จากการตอบแบบสอบถามมาตรฐาน Tinnitus Handicap Inventory (THI) กับความดังของเสียงรบกวน ในหูที่วัดได้จากการตรวจ Tinnitus Loudness Matching

Article Details

How to Cite
มหัทธนารักษ์ น. ., เจรียงประเสริฐ จ. ., เกียรติธนะบำรุง ศ. ., & วิศุภกาญจน์ ท. . (2020). การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างแบบสอบถาม Tinnitus Handicap Inventory กับการตรวจวัดความดังของเสียงในหูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียงดังรบกวนในหู. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery, 20(1), 59–69. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rcotJ/article/view/245058
Section
Reseach Articles

References

1. Heller AJ. Classification and epidemiologyof tinnitus. Otolaryngol Clin North Am.2003;36(2):239-48.
2. Hoare DJ, Kowalkowski VL, Kang S, Hall DA. Systematic review and meta-analyses of randomized controlled trials examining tinnitus management. Laryngoscope. 2011; 121(7):1555-64.
3. Tinnitus retraining therapy: implementing the neurophysiological model [press release]. Cambridge (England) : Cambridge University Press 2008.
4. Tunkel DE, Bauer CA, Sun GH, Rosenfeld RM, Chandrasekhar SS, Cunningham ER, Jr., et al. Clinical practice guideline: tinnitus. Otolaryngol Head Neck Surg. 2014;151(2 Suppl):S1-S40.
5. Adrian D, El Refaie A. The epidemiology of tinnitus. In: Tyler R, editor. The Handbook of Tinnitus: Singular; 2000. p. 1-23.
6. Axelsson A, Ringdahl A. Tinnitus—a study of its prevalence and characteristics. Br J Audiol. 1989;23(1):53-62.
7. Lewis JE, Stephens SD, McKenna L. Tinnitus and suicide. Clin Otolaryngol Allied Sci. 1994;19(1):50-4.
8. Arif M, Sadlier M, Rajenderkumar D, James J, Tahir T. A randomised controlled study of mindfulness meditation versus relaxation therapy in the management of tinnitus. J Laryngol Otol. 2017;131(6):501-7.
9. Gold JR, Bajo VM. Insult-induced adaptive plasticity of the auditory system. Front Neurosci. 2014;8:110.
10. Newman CW, Jacobson GP, Spitzer JB. Development of the Tinnitus Handicap Inventory. Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 1996;122(2):143-8.
11. Limviriyakul S, Supavanich W. The validity and reliability of tinnitus handicap inventory Thai version. J Med Assoc Thai. 2012;95(11):1433-40.
12. McCormack A, Edmondson-Jones M, Somerset S, Hall D. A systematic review of the reporting of tinnitus prevalence and severity. Hearing Research. 2016;70-9.
13. Hiller W, Goebel G. When Tinnitus Loudness and Annoyance Are Discrepant: Audiological Characteristics and Psychological Profile. Audiol Neurotol. 2007; 12: 391-400.
14. Mondelli MFCG, Rocha AB. Correlation Between the Audiologic Findings and Tinnitus Disorder. Intl Arch Otorhinoloaryngol, Sao Paolo-Brazil. 2011; 15(2): 172-80.
15. Hu J, Xu J, Streelman M, Xu H, Guthrie O. The Correlation of the Tinnitus Handicap Inventory with Depression and Anxiety in Veterans with Tinnitus. 2019.
16. Yenigun A, Dogan R, Aksoy F, Akyuz S, Dabak H. Assessment of Tinnitus with Tinnitus Severity Index, Tinnitus Handicap Inventory and Distortion Product Otoacoustic Emissions in patients with normal hearing and hearing loss .Kulak Burun Bogaz Ihtis Derg. 2014;24(1):11-6
17. Figueiredo RR, Azevedo AA, Oliveira PM. Correlation analysis of the visual-analogue scale and the Tinnitus Handicap Inventory in tinnitus patients. Braz J Otorhinolaryngol.2009; 75(1): 76-9.
18. Hertzano R, Talor B, Teplitzky BS, Eisenman DJ. Clinical Evaluation of Tinnitus. Neuroimag Cain N Am. 2016 ;197-205.
19. McCombe A, Baguley D, Coles R, McKenna L, McKinney C, Windle-Taylor P. Guidelines for the Grading of Tinnitus severity: the results of a working group commissioned by the Brittish Association of Otolaryngologists, Head and Neck Surgeons, 1999. Clin. Otolaryngol. 2001; 26: 388-393.
20. Meikle MB, Henry JA, Griest SE, Stewart BJ, Abrams HB, McArdle R, et al. The Tinnitus Functional Index:
21. Development of a New Clinical Measure for Chronic Intrusive Tinnitus. Ear Hear. 2012;33(2): 153-76.
22. Benton SL. Mental Health Status and Perceived Tinnitus Severity. The Hearing Journal. 2016; 69: 12: 16,18,19,40.
23. Divya AC, Charles JL. Tinnitus. Med Clin N Am. 2018; 102: 1081-93.
24. Figueiredo RR, Rates MA, Azevedo AA, Oliveira PM, Navarro PB. Correlation analysis of hearing thresholds, validated questionnaires and psychoacoustic measurements in tinnitus patients. Braz J Otorhinolaryngol. 2010;76(4):522-6.
25. Weaver J. First Evidence-Based Tinnitus Guideline Shines Light on Treatment. The Hearing Journal. 2014: 19-24.
26. Goyal D, Gupta N. Study of correlation of tinnitus and sensorineural hearing loss. Journal of Advanced Medical and Dental Sciences Research. 2015; 3(2): 11-5.
27. Prestes R, Gil D. Impact of Tinnitus on Quality of Life, Loudness and Pitch Match,and High-Frequency Audiometry. International Tinnitus Journal. 2019; 15(2): 134-8.
28. Gudwani S, Munjal SK, Panda NK, Verma RK. Correlation of Tinnitus Loudness and Onset Duration with Audiological Profile Indicating Validation in Progress. ISRN Otolaryngology. 2013