ผลระยะสั้นของการรักษาผู้ป่วย โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ ก่อนและหลังได้รับ ยาฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ด้วยสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
Main Article Content
Abstract
บทนำ
โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการรักษานั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็มีวิธีการรักษาโดยการทานยา และฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ โดยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้
(Immunotherapy) เป็นการรักษาโรคเยื่อบุจมูกอักเสบ เพียงวิธีเดียว ที่ให้ผลการรักษาไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สนใจรักษาด้วยวิธีการนี้ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่ตัดสินใจรักษามักมีคำ ถามเกิดขึ้นเสมอว่าหลังการรักษาโดยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ นานเท่าไหร่อาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้จึงจะดีขึ้น นอกจากนั้น งานวิจัยฉบับนี้ยังศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างระดับ ของ Total IgE ในกระแสเลือดก่อนการรักษาด้วยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ และหลังการรักษา 6 เดือน
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลระยะสั้น (อาการคัดแน่นจมูก, อาการน้ำ มูกไหล, อาการคันจมูก, อาการจาม, อาการทางตา เช่น อาการคันหรือเคืองตา หลังสัมผัสสารกระตุ้นภูมิแพ้) และระดับ Total IgE ในกระแสเลือดของผู้ป่วย Allergic rhinitis ก่อนและหลังได้รับการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบ 6 เดือน
รูปแบบและวิธีการศึกษา
Descriptive Study แบบ Prospective crossectional Study ชายหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป รวม 15 คน ที่มารักษาโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบด้วยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ที่ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้นั้นใช้เทคนิคในการเตรียมสารก่อภูมิแพ้
ที่เรียกว่า Skin end-point titration (SET) ดำ เนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2555 - 7 มกราคม 2556 ศึกษาผลระยะสั้นโดยการกรอกแบบสอบถาม (VAS SCORE) ก่อนการรักษาและทุกเดือนจนครบหกเดือน และตรวจวัดระดับ Total IgE ในกระแสเลือดของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาครบ 6 เดือน โดยใช้ Analytic descriptive study ระดับผลการตรวจเลือด Total IgE, VAS SCORE นำ เสนอโดยใช้ค่ามัธยฐาน (Median) และพิสัยควอไทร์
(Interquartile Range) และ ทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติโดย ใช้ Wilcoxon Signed Ranks test โดยถือว่ามี
นัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ P-value ≤ 0.05
ผลการศึกษา
ค่ามัธยฐาน (Medial) Total IgE ก่อนการรักษา เท่ากับ 151.00 kU/L, ค่าพิสัยควอไทร์ (Interquartile Range) เท่ากับ 128.78 ส่วนค่า ค่ามัธยฐาน (Medial) Total IgE หลังการรักษาครบหกเดือนมีค่า เท่ากับ 143.5 kU/L,ค่าพิสัยควอไทร์ (Interquartile Range) เท่ากับ 168.50 ซึ่งค่าที่ลดลงถือว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน VAS SCORE นั้นเมื่อแยกดูแต่ละอาการพบข้อมูลดังนี้
1 อาการคัดจมูก VAS SCORE มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบสองเดือน P = 0.018
2 อาการน้ำ มูกไหล VAS SCORE มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบสองเดือน P=0.017
3 อาการคันจมูก VAS SCORE มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบหนึ่งเดือน P = 0.010
4 อาการจาม VAS SCORE มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบสองเดือน P = 0.004
5 อาการทางตา VAS SCORE มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบหนึ่งเดือน P = 0.034
สรุปผลการศึกษา
อาการคันจมูก, อาการทางตา. และอาการรวม ดีขึ้นหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบหนึ่งเดือน และ อาการคัดแน่นจมูก, อาการน้ำ มูกไหล, อาการจาม ดีขึ้นหลังฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ครบสองเดือน ส่วนระดับ Total IgE ในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัย พบว่ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสิ้นสุดการรักษาเดือนที่หก
Article Details
ต้นฉบับที่ส่งมาพิจารณายังวารสารหู คอ จมูก และใบหน้า จะต้องไม่อยู่ในการพิจารณาของวารสารอื่น ในขณะเดียวกันต้นฉบับที่จะส่งมาจะผ่านการอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หากมีการวิจารณ์หรือแก้ไขจะส่งกลับไปให้ผู้เขียนตรวจสอบแก้ไขอีกครั้ง ต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาให้ลงตีพิมพ์ถือเป็นสมบัติของวารสารหู คอ จมูกและใบหน้า ไม่อาจนำไปลงตีพิมพ์ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตารางแผนภูมิ รูปภาพ หรือข้อความเกิน 100 คำที่คัดลอกมาจากบทความของผู้อื่น จะต้องมีใบยินยอมจากผู้เขียนหรือผู้ทรงลิขสิทธิ์นั้นๆ และใหร้ะบุกำกับไว้ในเนื้อเรื่องด้วย
References
2. Pfaar O, Bachert C, Bufe A, Buhl R, Ebner C, Eng P, et al. A. (2014). Guideline on allergen-specific immunotherapy in IgE-mediated allergic diseases: S2k Guideline of the German Society for Allergology and Clinical Immunology (DGAKI). Allergo j intern 2014; 23(8): 282-319.
3. Nivenka PJ, Tudor PT, Andrew W, Rajakulasingam K. Mechanisms of immunotherapy in allergic rhinitis. Biomed & Pharm 2007; 61(1): 29-33
4. Di Lorenzo G, Mansueto P, Pacor ML, Rizzo M, Castello F, Martinelli N. et al. Evaluation of serum s-IgE/total IgE ratio in predicting clinical response to allergen-specific immunotherapy. J Allergy Clin Immunol., 2009; 123(5): 1103-10.e4.
5. Togias A. Unique mechanistic features of allergic rhinitis. J Allergy Clin Immunol. 2000; 105 (6 Pt 2):S599-604.
6. Russo C, Al-Delaimy WK. A hospital based Retrospective Cohort Study of Allergen Immunotherapy as a Preventive Treatment for new onset Asthma. J Allergy Clin Immunol 2005; 115, 75-82
7. Kim JM, Lin SY, Suarez-Cuervo C, Chelladurai Y, Ramanathan M, Segal JB, Erekosima N. Allergen-specific immunotherapy for pediatric asthma and rhinoconjunctivitis: a systematic review. Pediatrics 2013; 131(6): 1155-67.
8. Satwani H, Rehman A, Ashraf S, Hassan A. Is serum total IgE levels a good predictor of allergies in children? J Pak Med Assoc. 2009; 59(10): 698-702.
9. Ludger K, Hendrik W, Torsten M, Dirk D, Angelika RK, Jörg S, Wolf M. The effect of short-term immunotherapy with molecular standardized grass and rye allergens on eosinophil cationic protein and tryptase in nasal secretions J Allergy Clin Immunol 1999; 103(1): 47–53
10. Cox L, Calderon MA, Subcutaneous specific immunotherapy for seasonal allergic rhinitis: a review of treatment practices in the US and Europe, Am J Rhinol Allergy 2010; 3: 220-5
11. Christopher WC, Christopher A. The Local study: Local reactions do not predict local reactions in allergen immunotherapy. J allergy Clin Immunol 2009; 124: 739 –44
12. Dirk KG. Risk management in allergen immunotherapy. J allergy clin immunol 1996; 98(6):330-34
13. Bousquet PJ, Combescure C, Klossek JM, Daurès JP, Bousquet J. Change in visual analog scale score in a pragmatic randomized cluster trial of allergic rhinitis. J Allergy Clin Immunol. 2009; 123(6):1349-54. doi: 10.1016/j.jaci.2009.02.033. Epub 2009 Apr 14.
DOI: 10.1016/j.jaci.2009.02.033
14. Codreanu F1, Moneret-Vautrin DA, Morisset M, Guénard L, Rancé F, Kanny G, Lemerdy P. The risk of systemic reactions to skin prick-tests using food allergens: CICBAA data and literature review. Eur Ann Allergy Clin Immunol. 2006; 38(2):52-4.