ความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการได้รับไอโอดีน 131 หลังการผ่าตัดกับการกลับมาเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม
พนัส บิณศิรวานิช
ปวิน นำธวัช
ยชญ์ อนงค์พรยศกุล

Abstract

Abstract :


มะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยของมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ ซึ่งชนิดที่สามารถพบได้มากที่สุดคือมะเร็ง ไทรอยด์ชนิด Papillary โดยวิธีการรักษานั้นจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ร่วมกับการให้ Iodine-131 หลังการผ่าตัด ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยแต่ละราย ร่วมกับการให้ thyroid hormone suppression โดยการให้ Iodine-131 มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำลายเนื้อเยื่อไทรอยด์ที่เหลืออยู่ หรือเพื่อเป็น adjuvant therapy ในผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำหรือมีการกระจายของโรคไปที่ตำแหน่งอื่นในการวินิจฉัยครั้งแรก โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ Iodine-131 คือหลังจากการผ่าตัดภายใน 3-6 สัปดาห์ จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า นอกจากปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายที่มีผลต่อการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary แล้ว ยังสามารถพบปัจจัยเสี่ยงอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ระยะเวลาในการได้รับ Iodine-131 หลังการผ่าตัดซึ่งจากงานวิจัยที่ ผ่านมาพบว่าการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวยังค่อนข้างคลุมเครือ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นอีกการศึกษาหนึ่งที่ศึกษาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นและเพื่อใช้เป็น ข้อมูลประกอบในการรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary ในกลุ่มที่ได้ Iodine-131 หลังการผ่าตัดภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ และในกลุ่มที่ได้ภายหลัง 6 สัปดาห์ วิธีการวิจัย ทำการเก็บข้อมูล chart review แบบ retrospective cohort ที่วิเคราะห์จากเวชระเบียนผู้ป่วยและบันทึกการผ่าตัดที่ห้องผ่าตัด โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Papillary thyroid cancer (recurrent and non-recurrent) ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม2560 พบว่ามีเกณฑ์เข้าได้จำนวนทั้งหมด 230 คน จากนั้นทำการแบ่งผู้ป่วยเป็น 2กลุ่มนคือกลุ่มที่ได้รับ Iodine-131 ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ จำนวน 60 คน และใน กลุ่มที่ได้ภายหลัง 6 สัปดาห์ จำนวน170 คน แล้วนำมาคิดวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรค โดยการคำนวณทางสถิติ ผลการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary ที่ได้รับ iodine-131 ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด มีแนวโน้มที่จะพบการกลับมาเป็นซ้ำช้ากว่ากลุ่มที่ได้รับ iodine-131 ภายหลัง 6 สัปดาห์แต่ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยสองกลุ่มนี้ บทสรุป ระยะเวลาในการได้รับ Iodine-131 หลังการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ ต่อการกลับมาเป็นซ้ำของโรค อย่างไรก็ตามอาจต้องทำการศึกษาปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


 

Article Details

How to Cite
ผลศิริปฐม ศ., บิณศิรวานิช พ. ., นำธวัช ป. ., & อนงค์พรยศกุล ย. . (2020). ความสัมพันธ์ของระยะเวลาในการได้รับไอโอดีน 131 หลังการผ่าตัดกับการกลับมาเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิด Papillary. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery, 19(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rcotJ/article/view/245079
Section
Reseach Articles

References

1. Haugen BRM, et al, Wartofsky L. 2016 2015. American Thyroid Association management guidelines for adult patients with thyroid nodules and differentiated thyroid cancer.Thyroid 26:1–133.
2. Rosario PW, et al , Vaisman M 2013 Thyroid nodulesand differentiated thyroid cancer: update on the Brazilianconsensus. Arq Bras Endocrinol Metabol 57:240–264.
3. Cooper DS, et al, Tuttle RM 2009 RevisedAmerican Thyroid Association management guidelines for patients with thyroid nodules and differentiated thyroid cancer. Thyroid 19:1167–1214.
4. Higashi T, et al ,Konishi J 2011 Delayed initial radioactive iodine therapy resulted in poor survival in patients with metastatic differentiated thyroid carcinoma: a retrospective statistical analysis of 198 cases. J Nucl Med 52:683–689.
5. Edward B. et al, Society of Nuclear Medicine Procedure Guideline for Therapy of Thyroid Disease with Iodine-131 (Sodium Iodide)version 2.0, THYROID DISEASE WITH IODINE131.
6. Wei Zhang et al, Analysis of Risk Factors Contributing to Recurrence of Papillary Thyroid Carcinoma in Chinese Patients Who Underwent Total Thyroidectomy, Med Sci Monit, 2016; 22: 1274-1279.
7. Kai Guo et al, Risk factors influencing the recurrence of papillary thyroid carcinoma: a systematic review and meta-analysis, Int J Clin Exp Pathol 2014;7(9):5393-5403.
8. Yehree Kim et al, Risk Factors for Lateral Neck Recurrence of N0/N1a Papillary Thyroid Cancer, Ann Surg Oncol (2017) 24:3609–3616.
9. Chang Wook Lee et al, Risk Factors for Recurrence of Papillary Thyroid Carcinoma with Clinically Node-Positive Lateral Neck, Ann Surg Oncol (2015) 22:117–124.
10. Tom Edward Ngo Lo et al , Risk Factors for Recurrence in Filipinos with Well-Differentiated Thyroid Cancer, Endocrinol Metab 2015;30:543-550.
11. Kimberly M. Creach et al , Radioactive Iodine Therapy Decreases Recurrence in Thyroid Papillary Microcarcinoma, International Scholarly Research Network ISRN Endocrinology Volume 2012.
12. Higashi T, et al ,Konishi J. 2011. Delayed initial radioactive iodine therapy resulted in poor survival in patients with metastatic differentiated thyroid carcinoma: a retrospective statistical analysis of 198 cases. J Nucl Med 52:683–689.
13. Rafael Selbach Scheffel et al, Timing of Radioactive Iodine Administration Does Not Influence Outcomes in Patients with Differentiated Thyroid Carcinoma, THYROID Volume 26, Number 11, 2016.
14. Suman P. et al, Timing of Radioactive iodine therapy does not impact overall survival in high risk papillary thyroid carcinoma , endocr Pract.2016 Jul:22(7):822-31.