ความสัมพันธ์ของธาตุเจ้าเรือนกับอาการโดยรวมทางจมูกและคุณภาพชีวิตจาก การใช้ยาสารสกัดขิงในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

Main Article Content

รสรินทร์ แหยมประเสริฐ
ไวพจน์ จันทรวิเมลือง
ณิชมน มุขสมบัติ
อรุณพร อิฐรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

         ขิงเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยและมีการศึกษาวิจัยในห้องทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านการแพ้ และต้านการอักเสบที่ดีมาก จึงถูกนำ มาศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แต่ทั้งนี้ยังขาดการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของธาตุเจ้าเรือนซึ่งเป็นธาตุประจำตัวของบุคคลในขณะนั้นกับประสิทธิผลของยาสารสกัดขิง ในการรักษาผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยอาสาสมัครที่ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เพศชายและหญิง  จำนวน 36 คน ได้รับสารสกัดขิงขนาดครั้งละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินประสิทธิผลด้วย แบบประเมินอาการโดยรวมทางจมูกและแบบประเมินคุณภาพชีวิต ประเมินความปลอดภัยจากการซักประวัติและการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ แล้วจึงวิเคราะห์ผลโดยแบ่งตามกลุ่มธาตุเจ้าเรือนของอาสาสมัคร จากการศึกษาพบว่า ยาสารสกัดขิง สามารถลดอาการทางจมูกและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่อาสาสมัครที่มีธาตุเจ้าเรือนต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาสาสมัครที่มีธาตุเจ้าเรือนไฟมีอาการทางจมูกลดลงและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้มากที่สุด ในทางตรงข้ามอาสาสมัคร ที่มีธาตุเจ้าเรือนดินมีอาการทางจมูกลดลงและคุณภาพชีวิตดีขึ้นน้อยที่สุด แต่ทั้งนี้มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ายาสารสกัดขิงมีความปลอดภัย โดยอาสาสมัครในทุกๆ กลุ่มธาตุเจ้าเรือนมีค่าการทำงานของตับและไตอยู่ในเกณฑ์ปกติ          ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่ายาสารสกัดขิงสามารถลดอาการทางจมูก และช่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีธาตุเจ้าเรือนแบบต่างๆ ได้ดีและไม่มีความแตกต่างระหว่าง กลุ่มธาตุเจ้าเรือน

Article Details

How to Cite
แหยมประเสริฐ ร. ., จันทรวิเมลือง ไ. ., มุขสมบัติ ณ. ., & อิฐรัตน์ อ. . (2020). ความสัมพันธ์ของธาตุเจ้าเรือนกับอาการโดยรวมทางจมูกและคุณภาพชีวิตจาก การใช้ยาสารสกัดขิงในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery, 19(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rcotJ/article/view/245082
Section
Reseach Articles

References

1. Ruby Pawankar STH, G. Walter Canonica, Richard F. Lockey, Michael S. Blaiss. WAO White Book on Allergy 2013 Update2013.
2. Pawankar R, Canonica GW, Holgate ST, Lockey RF. White book on allergy 2011-2012 executive summary. World Allergy Organization. 2011.
3. Bunnag C, Jareoncharsri P, Tantilipikorn P, Vichyanond P, Pawankar R. Epidemiology and current status of allergic rhinitis and asthma in Thailand - ARIA Asia-Pacific Workshop report. Asian Pac J Allergy Immunol. 2009;27(1):79-86.
4. Kirtsreesakul V. The prevalence of rhinosinusitis in allergic rhinitis. Songkla Med J. 2006;24(4):6.
5. Vichyanond P. 20th World Allergy Congress Bangkok, Thailand2007.
6. Rachawat P, Pinsornsak P, Itharat A. The relation between major elements in the human body with using Benjakul remedy extract for treating primary osteoarthritis of knee. Thammasat Medical J.16(4):578-88.
7. Naphat Panichakarn. Allergies in Thai Traditional Medicine. Conference of the Faculty of Medicine. Thammasat University 2014 “Knowledge on The Run for Smart Physicians”
8. มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับอนุรักษ์เล่มที่1). กรุงเทพฯ:ศุภวนิชการพิมพ์, 2550
9. Chen BH, Wu PY, Chen KM, Fu TF, Wang HM, Chen CY. Antiallergic potential on RBL-2H3 cells of some phenolic constituents of Zingiber officinale (ginger). J. natural products. 2009;72(5):950-3.
10. Makchuchit S, Rattarom R, Itharat A. The anti-allergic and anti-inflammatory effects of Benjakul extract (a Thai traditional medicine), its constituent plants and its some pure constituents using in vitro experiments. Biomedicine & Pharmacotherapy. 2017 May 1; 89:1018-26.
11. Kawamoto Y, Ueno Y, Nakahashi E, Obayashi M, Sugihara K, Qiao S, Iida M, Kumasaka MY, Yajima I, Goto Y, Ohgami N. Prevention of allergic rhinitis by ginger and the molecular basis of immunosuppression by 6-gingerol through T cell inactivation. J nutritional biochemistry. 2016 Jan 1; 27:112-22.
12. Bousquet J, Khaltaev N, Cruz AA, et al. Allergic Rhinitis and its Impact on Asthma (ARIA) 2008 update (in collaboration with the World Health Organization, GA (2) LEN and AllerGen). Allergy 2008; 63(Suppl 86):8-160. Latest GALEN update on SIT
13. Juniper EF, Guyatt GH, Griffith LE, Ferrie PJ. Interpretation of rhinoconjunctivitis quality of life questionnaire data. J Allergy ClinImmunol.1996; 98: 843-845.
14. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. วงกลมวิเคราะห์ธาตุเจ้าเรือน. สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข; 2536
15. สุธา ทิพย์ มหา เจริญ สิริ. การ พัฒนาแบบประเมินเพื่อการวินิจฉัยธาตุเจ้าเรือนปกติลักษณะทางการแพทย์ แผนไทย. Siriraj Medical Bulletin.2560.;10(2):65-73.
16. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข, 2555.
17. ขุนนิทเทสสุขกิจ (นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี). อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท , 2516