ผลของการใช้แนวทางควบคุมกำกับดูแลยาปฏิชีวนะ Meropenem, Piperacillin/Tazobactam และ Vancomycin ภายในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

Main Article Content

สุวรรณภรณ์ เยาว์พฤกษ์ชัย
พรพจน์ ย่านสากล
ธนาธิษณ์ เสนานุช
ปอแก้ว เพ็ชร์คำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางควบคุมกำกับดูแลยาปฏิชีวนะ Meropenem, Piperacillin/Tazobactam, Vancomycin ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วิธีการ: การศึกษาเชิงกึ่งทดลองในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้รับยาปฏิชีวนะ Meropenem, Piperacillin/Tazobactam, Vancomycin อย่างน้อย 1 ชนิด ไม่น้อยกว่า 3 วัน กำหนดให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เป็นกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวทางควบคุมตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและกำหนดค่านัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผลการกำหนดแนวทางควบคุมด้านกระบวนการ พบอัตราการใช้ยา (DDD/100 patients day) Meropenem และ Piperacaillin/Tazobactam ลดลงร้อยละ 25.41 และ 16.53% ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการใช้ Vancomycin เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.36 ปริมาณการใช้ยาทั้ง 3 ชนิดเฉลี่ยต่อผู้ป่วยลดลงร้อยละ 24.50 ความเหมาะสมของการใช้ยา Meropenem, Piperacaillin/Tazobactam และ Vancomycin เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.28, 3.24 และ 5.00 ตามลำดับ ด้านคลินิกพบว่าการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 4.2 และ 6.3 ตามลำดับ ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าค่าใช้จ่ายตลอดการรักษา ค่ายาปฏิชีวนะและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลง
สรุป: ผลการใช้แนวทางการควบคุมกำกับดูแลยาปฏิชีวนะโดยรวมทั้งด้านกระบวนการ คลินิกและเศรษฐศาสตร์ลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ