การศึกษาเบื้องต้นของผลการบอกอายุปอด (เพื่อสร้างแรงจูงใจ) ต่อการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วย COPD

Main Article Content

สมฤทัย ยืนยง
วลัยภรณ์ วงศ์ศรีสกุลแก้ว
อิทธิวัฒน์ โตเจริญนิรัติศัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อทราบผลเบื้องต้นของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ ที่ใช้การบอกอายุของปอด เป็นแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วย COPD
วิธีการ: ประชากรที่ศึกษา เป็นผู้ป่วย COPD ที่เข้ารับบริการใน  COPD Clinic โรงพยาบาลศิริราช ได้รับการวินิจฉัย มากกว่า 1 ปี มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และ ยังสูบบุหรี่ การศึกษานี้เป็นแบบ นำร่อง (Pilot Study)  ใช้กลุ่มตัวอย่าง 25 คน ไม่มีการแบ่งกลุ่มประชากร ใช้เวลาเก็บข้อมูล  18  เดือน ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน จะถูกให้ข้อมูลเรื่องอายุปอดของตัวเองเทียบกับคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่ และจะถูกแนะนำให้เลิกบุหรี่ ร่วมกับใช้โปรแกรมการเลิกบุหรี่ ติดตามผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ ที่ 3 เดือน 6 เดือน และ 1ปี
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 25 คน หลังรับทราบอายุปอดของตนเอง มีระดับความพร้อมในการเลิกบุหรี่อยู่ในระยะลังเลใจในการเลิก ร้อยละ 72 ส่วนร้อยละ 20 มีความพร้อมในการเลิกบุหรี่ และ ร้อยละ 8 ไม่พร้อมเลิก  สาเหตุจูงใจที่อยากเลิกบุหรี่ในครั้งนี้ คือทราบอายุปอดคิดเป็นร้อยละ 52  โดยผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ที่ 3 และ 6 เดือน คือร้อยละ 16 และที่ 1 ปีเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 25   (รวม 24 คน ขาดการติดต่อ 1 คน)   ส่วนความร่วมมือในการเลิกบุหรี่ พบว่ากลุ่มที่ให้ความร่วมมือในการเลิกบุหรี่ดีจะไม่สูบบุหรี่ โดยสาเหตุจูงใจที่ทำให้เลิกบุหรี่สำเร็จ  พบว่า ร้อยละ 50  มีสาเหตุจูงใจมาจากทราบว่าอายุปอดเสื่อม
สรุป
: การบอกอายุปอดจาก spirometry ร่วมกับใช้โปรแกรมการเลิกบุหรี่แก่ผู้ป่วย COPD สามารถช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการตัดสินใจเลิกบุหรี่ได้ และทำให้ผู้ป่วยบางส่วนเลิกได้สำเร็จ แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาเพียงเบื้องต้น จึงควรมีการศึกษาเรื่องนี้ต่อไปในอนาคตในกลุ่มผู้ป่วยที่มากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ