การพัฒนาความสามารถทางคลินิก ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในภาวะ ฉุกเฉินทางสูติกรรมโดยการเรียน การสอนผ่านสถานการณ์จำลอง

Main Article Content

อนันตพร นมรักษ์
ธัชจารีย์ พันธ์ชาลี
วุฒินันท์ อัจฉริยะโพธา
วิทยา ถิฐาพันธ์
พีรพงศ์ อินทศร
ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทำการเปรียบเทียบระดับความมั่นใจและความสามารถทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในการดูแล
สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม ก่อนและหลังการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง (simulation-based Practical
Management in Obstetrics Emergencies (PMOE) training) รวมทั้งเพื่อประเมินทักษะในการทำหัตถการ หรือการตัดสินใจ
ในการรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม
วิธีการศึกษา: หน่วยการศึกษา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ทำการวิจัยแบบตัด
ขวาง (cross-sectional study) เพื่อทำการเปรียบเทียบระดับความมั่นใจและความสามารถทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์
ชั้นปีที่ 6 จำนวน 308 คน ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม ซึ่งได้แก่ การคลอดติดไหล่ การคลอด
ทารกท่าก้น การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ ภาวะสายสะดือ
ย้อย และการแปลผลกราฟการหดตัวของมดลูกและการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ (Electronic fetal monitoring)
ก่อนและหลังการเรียนการสอนผ่านสถานะการจำลอง
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าระดับความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมหลังฝึกอบรมสูง
กว่าก่อนฝึกอบกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกหัวข้อ (p-value < 0.001)
สรุป: การเรียนการสอนและการฝึกอบรมผ่านสถานการณ์จำลอง (PMOE) นั้น ทำให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 มีความมั่นใจใน
การดูแลรักษาภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรมและการแปลผล electronic fetal monitoring มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ