ผู้ป่วยติดเชื้อ Coronavirus disease 2019 ในห้องแยกความดันลบ: กรณีศึกษา

Main Article Content

สุพรรษา วรมาลี
อุ่นเรือน กลิ่นขจร
อำพวรรณ์ ยวนใจ

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID -19) ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปหลายประเทศทั่วโลก  ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก  ณวันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรค COVID-19  เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 3,000-4,000 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 200-300 ราย อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ ผู้สูบบุหรี่ และผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน  ซึ่งในประเทศไทยมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมควบคุมโรคประกาศให้โรคไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2563


บทความนี้เป็นรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรค COVID -19  ด้วยวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมจากสารคัดหลั่งภายในโพรงจมูกและคอ โดยวิธี Real Time Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) ยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการและได้รักษาด้วยยา รวมถึงเปรียบเทียบกับผู้ป่วยอีกรายที่ได้รับการดูแลรักษาโดยการให้อยู่ในห้องปรับความดันอากาศเป็นลบพร้อมกับตรวจหาสารพันธุกรรมจากสารคัดหลั่งภายในโพรงจมูกและคอเป็นระยะจนไม่พบเชื้อ

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

1. World Health Organization. COVID -19 situation in Thailand . www.who.int › Home › Emergencies.
2. Cheng ZJ et al. 2019 Novel Coronavirus: where we are and what we know. Infection. 2020 Feb 18. doi: 10.1007/s15010-020-01401-y. [Epub ahead of print] Review.
3 Ji W, Wang W, Zhao X, Zai J, Li X. Homologous recombination within the spike glycoprotein of the newly identified coronavirus may boost cross-species transmission from snake to human. J Med Virol 2020;92(4):433-40.
4. Department of Disease control [Internet]. [cited 2020 Mar 1]. Available from:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no57-290263.
5.คู่มือป้องกันโรคโควิด-19. (2020). คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลยูนนาน มหาวิทยาลัยการการแพทย์คุนหมิง สำนักพิมพ์การศึกษายูนนาน.
6. Wang C, Horby PW, Hayden FG, Gao GF. A novel coronavirus outbreak of global health concern. Lancet. 2020 Feb 15;395(10223):470-3.
7.World Health Organization. Coronavirus situation South-East Asia Thailand . www.who.int › Health-topics.
8.Centers for Disease Control and Prevention. Symptoms of Coronavirus 2019.http://www.cdc.gov>2019-ncov
9. Liang H1, Acharya G. Novel corona virus disease (COVID-19) in pregnancy: What clinical recommendations to follow? Acta Obstet Gynecol Scand. 2020 Mar 5. doi: 10.1111/aogs.13836.
10. การเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล Covid-19, March 5, 2020. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km10_120363.pdf (accessed March 18, 2020)
11.คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19.แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) . ฉบับปรับปรุง วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563.
12.Tingbo LIANG (2020).Handbook of COVID-19 Prevention and Treatment :Zhejiang University School of Medicine.
13.การปฏิบัติตัวระหว่างการกักกัน หรือคุมไว้สังเกตในที่พักอาศัย. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection01.pdf (accessed March 20, 2020)
14. WHO. Clinical management of severe acute respiratory infection (SARI) when COVID- 19 disease is suspected Interim guidance 13 March 2020.
15. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Interim Considerations for Infection Prevention and Control of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Inpatient Obstetric Healthcare Settings. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019- ncov/hcp/inpatient-obstetric-healthcare-guidance.html. (accessed March 19, 2020)