อุปกรณ์ดามสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งจากโรคหลอดเลือดสมอง

Main Article Content

พนินทร กองเกตุใหญ่
ธนิน นุตรทัต
ศิรประภา ลิ้มประเสริฐ
สุพิชชา สายสิทธิ์

บทคัดย่อ

อุปกรณ์ดาม (Splint) เป็นกายอุปกรณ์เสริมที่ทำมาจากวัสดุชนิดพิเศษสามารถอ่อนตัวได้เมื่ออยู่ในน้ำร้อนและกลับมาแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้อุปกรณ์ดามสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ตามต้องการ  อุปกรณ์ดามได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยประคองส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวหรือให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นซึ่งโดยส่วนใหญ่บริเวณแขนและมือจะมีลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มงอที่มากกว่าปกติ (Flexor synergy) ความผิดปกติเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุของการเกิดข้อติดแข็งและกล้ามเนื้อหดรั้งโดยเฉพาะที่ข้อมือและนิ้วมือตามมา อุปกรณ์ดามจึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยลดภาวะดังกล่าวโดยมีรูปแบบที่หลากหลายในการนำมาใช้งาน การใส่อุปกรณ์ดามนั้นควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการใส่และควรมีระยะเวลาการใส่ที่เหมาะสมจึงจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งได้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

1. Francisco GE, McGuire JR. Postroke Spasticiry management. Stroke. 2012; 43(11):313–6.
2. Lance JW. Symposium synopsis. In : Feldman RG, Young RR, Koella WP, eds. Spasticity : Disordered motor control. Chicago: Year Books Medical Publishers; 1988: 485–94.
3. Mayer NH. Clinicophysiologic concepts of spasticity and motor dysfunction in adult with an upper motor neuron lesion. In: Simpson DM, Mayer NH. Eds. Spasticity: etiology, evaluation, management and the role of botulinum toxin. WE MOVE 2002: 1–10.
4. Basaran A, Emre U, Karadavut KI et al. Hand Splinting for Poststroke Spastic : A Randomized Control Trial. Stroke Rehabil 2012; 19(4): 329–37.
5. วิสุทธินี เทือกทอง, วิษณุ กัมทรทิพย์ และคณะ. ผลการลดเกร็งของแขนและมือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากการเหยียดยืดเอ็นและกล้ามเนื้อแบบนิวโรฟิสิโอโลจิก เปรียบเทียบกับการเหยียดยืดแบบออร์โธปิดิกส์ : รายงานการวิจัยเบื้องต้น. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2558; 25(1): 22-9.
6. Mc Pherson LM, Dewald J. Differences between flexion and extension synergy–driven coupling at the elbow, wrist and finger of individuals with chronic hemiparetic stroke. Clinical Neuro Phusiology. 2019; 130: 454–68.
7. Watkins CL, Leathley MJ et al. Prevalence of spasticity poststroke. Clin Rehabil 2002 ; 16: 515–22.
8. อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง(Spasticity). กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
9. Hsu JD, Michael JW, Fisk JR. Upper limb orthoses for the stroke and brain-injured patient. In: Mariani C, Keenan MA. AAOS Atlas of Orthoses and assistive devices. 4thed. Mosby. P191-201.
10. Cifu DX, Kaelin DL, Kowalske KJ, Lew HL, Miller MA, Ragnarsson KT et al. Braddom’s physical medicine & rehabilitation. 5thed. Canada: Elsevier; 2016.
11. กิ่งแก้ว ปาจรีย์. การฟื้นฟูระบบประสาททันยุค 2561. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561.
12. วิไลวรรณ มณีจักร. การทำอุปกรณ์ดามปลายแขนและมือด้วยเทอร์โมพลาสติก. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาอุปกรณ์ดามและอุปกรณ์เสริม 513328. 2558: ภาวิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
13. Adrienne C, Manigandan C. Inpatient occupational therapist hand – splint practice for clients with stroke: A cross – sectional survey from Ireland. J Nerurosci Rural Pract. 2011; 2(2): 141–49.
14. Naomi O'Reilly, Vidya Acharya, Kim Jackson, Scott Buxton and Evan Thomas. Neurology Treatment Techniques [Internet]. [cited 2020 April 7]. Available from: https://www.physio-pedia.com/Neurology_Treatment_Techniques
15. Reeves S, Lambeth K. The role of Physical and Occupational Therapy in the Evaluation and Management of Spasticity [Internet]. 2017 [cited 2020 Mar 16]. Available from: https://musculoskeletalkey.com/the-role-of-physical-and-occupational-therapy-in-the-evaluation-and-management-of-spasticity/
16. Sung Ho Janf, Woo Hyuk Jang. Difference in cortical activation during use of volar and dorsal hand splints : a functional magnetic resonance imaging study. Neural Regen Res.2016 Aug; 11(8): 1274–77.
17. Jong – Bae Choi, Jong – Eun Yang et al. The Effect of Different Types of Resting Hand Splint on Spasticity and Hand function among Patients with Stoke. J Ecophysiol Occup Hlth. 2016; 16(1&2): 42–51.
18. Slowman LS. The Athlete. In: Jacobs MA. Splinting the hand and Upper extremity. 2003: 425–32.