กายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน

Main Article Content

มะลิษา มีแสวง
รัตยา นามประเสริฐ

บทคัดย่อ

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Disorders) ความชุกของโรคพาร์กินสัน ในประเทศไทยคิดเป็น 242.57คน ต่อประชากร 100,000 คน ในปี ค.ศ.2008-2011 ซึ่งเป็นโรคที่มีความชุกเพิ่มขึ้นในประชากรที่สูงอายุ หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อาการของโรคคือการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น    การเคลื่อนไหวช้าและการไม่เคลื่อนไหว อาการสั่นขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การเสียสมดุลในการทรงตัว การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เดินลำบาก และอาการผิดปกติอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น การรู้คิดบกพร่อง ซึมเศร้า การนอนหลับที่ผิดปกติ อ่อนหล้าง่าย ระบบขับถ่ายผิดปกติ


​การออกกำลังกายและการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด เป็นการส่งเสริมการเดิน การทรงตัวและช่วยให้อาการอื่นๆ ของผู้ป่วยดีขึ้น จากงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ออกกำลังกายวันละ 2.5 ชั่วโมงในระยะเริ่มต้นของโรคพบว่าสามารถควบคุมอาการของโรคได้และมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงช้ากว่าผู้ป่วยที่เริ่มออกกำลังกายในภายหลัง การออกกำลังกายในผู้ป่วย            พาร์กินสัน แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1. การใช้แรงต้านในการออกกำลังกาย (resistance and flexibility training)                2. เพิ่มความทนทาน โดยที่ไม่มีการใช้แรงต้าน (endurance and aerobic training) 3.ส่งเสริมการทรงตัว (balance training) และยังมีหลักฐานทางงานวิจัยออกมาว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักและสม่ำเสมอ จะช่วยปรับปรุงและระงับอาการของโรคพาร์กินสันได้ ที่สำคัญการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสันต้องทำในขณะที่ยาออกฤทธิ์ดี

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์.โรคพาร์กินสันต์ (Parkinson’s disease).1.กรุงเทพ;โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์;2536
2. ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ, ศ.นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา, ศ.กิตติคุณ พญ.ท่านผู้หญิง ศรีจิตรา บุนนาค.โรคพาร์กินสันรักษาได้.3.กรุงเทพ;ศุนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย;2550
3. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือและโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน.1.เชียงใหม่;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2549
4. Lilian T.B. Gobbi, Maria D.T. Oliveira-Ferreira, M. Joana D. Caetano, Ellen Lirani-Silva,Fabio A. Barbieri, Florindo Stella, Sebastiao Gobbi. Exercise programs improve mobility and balance in people with Parkinson’s disease . Parkinsonism and Related Disorders 2009;15: 49-52.
5. Madeleine E.Hackney,Gammon M. Earhart. Tai Chi improves balance and mobility in people with Parkinson disease .Gait and Posture 2008;28:456-460.
6. C. Duchesne, O. Lungu, A. Nadeau, M.E. Robillard, A. Bore, F. Bobeuf, A.L. Lafontaine, F. Gheysen, L. Bherer, J. Doyon. Enhancing both motor and cognitive functioning in Parkinson ‘s disease : Aerobic exercise as a rehabilitative intervention. Brain and Cognition 2015;99:68-77.
7. Joanne Shanahan, Meg E Morris, Orfhlaith Ni Bhriain, Daniele Volpe, Amanda M Clifford. Dancing and Parkinson’s disease : updates on this creative approach to therapy. Journal of Parkinsonism and Restless Legs Syndrome 2017;7:43-53.
8. Alessandro Picelli, Camilla Melotti, Francesca Origano, Andreas Waldner, Raffaele Gimigliano, Nicola Smania. Does robotic gait training improve balance in Parkinson’s disease ? A randomized controlled trail. Parkinsonism and Related Disorders 2012;18:990-993.