การศึกษาผลของกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกที่มีแผนการรักษาหลัก โรงพยาบาลศิริราช

Main Article Content

ทิพวรรณ เกิดสุริวงศ์
บัญจรัตน์ จันทร์ฟัก
พรชัย โอเจริญรัตน์
ไพบูลย์ สุรีย์พงษ์
พีรศักดิ์ ฉอตระการกิจ
ฐานิต หิรัญคุปต์
กนกพร ธรรมปาละ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกที่มีแผนการรักษาหลัก เพื่อหาสาเหตุที่ไม่ไปรับการรักษา และประเมินความเครียดของผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารับการตรวจ


วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มศีรษะและลำคอ อายุ 18 - 75 ปี ที่หน่วยตรวจทูเมอร์คลินิกซึ่งมีแผนการรักษาหลัก จำนวน 120 ราย เทียบกับกลุ่มควบคุม คือ ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มดังกล่าวจากฐานข้อมูลสถิติทูเมอร์คลินิก ปี 2557 จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลและติดตามผู้ป่วย แบบประเมินความเครียด และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก (Rosenberg Self-Esteem Scale) สถิติที่ใช้ คือ t-test, Chi-square test และ McNemar’s test


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาไปรับการรักษาตามแผนการรักษา 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.8 และไม่ไปรับการรักษา 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.2 ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมไปรับการรักษาตามแผน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 และไม่ไปรับการรักษา 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า จำนวนผู้ป่วยไปรับการรักษาตามแผนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ไปรับการรักษาส่วนใหญ่กลัวการรักษา ร้อยละ 46 รองลงมา ได้แก่ สภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไปใช้บริการแพทย์ทางเลือก มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และไม่มีผู้ดูแลระหว่างเข้ารับการรักษา ร้อยละ 20, 20, 7 และ 7 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความเครียดก่อนและหลังเข้ารับการตรวจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังเข้ารับการตรวจในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาไม่แตกต่างกัน


สรุป: กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการรักษาและการติดตามเพื่อให้กำลังใจ มีผลทำให้จำนวนผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาตามแผนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ดีการจัดทำให้มีระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการติดตามเยี่ยมเป็นระยะเพื่อทราบและช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนที่วางไว้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ศรีธรรม ธนะภูมิ. ภาวะจิตสังคมของการเจ็บป่วย (Psychosocial aspect of illness) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/05302015-1735

ชิษณุ พันธุ์เจริญ. การสื่อสารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง. ใน: ชิษณุ พันธุ์เจริญ, จรุงจิตร์ งามไพบูลย์, บรรณาธิการ. คู่มือทักษะการสื่อสารสำหรับพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2552. หน้า 50-4. [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/communication-book-for-pharmacist

J Weis. Support groups for cancer patients [Internet]. Supportive Care in Cancer 2003; 11: 763-8. [cited 2016 Apr 28]. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs00520-003-0536-7#page-1

รัชนีกร ใจสืบคำ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการเดินออกกำลังกายต่ออาการเหนื่อยล้า การนอนไม่หลับและความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. ใน: ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ, บรรณาธิการ. วารสารโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. ปีที่ 29 ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์; 2552. หน้า 152-61. [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/journal/File_Download/pp2.pdf

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 384-5.

Fleiss, J. L., Levin, B., Paik, M. C. (2003). Statistical methods for rates and proportions (3rd ed.). John Wile&Sons, 76.

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. (2014). n4studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program – The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด (ST-5) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/qtest5/

ฐปนีย์ ตั้งจิตภักดีสกุล. แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซ็นเบิร์ก. ใน: สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, ผู้นิพนธ์. คู่มือการวัดทางจิตวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2545. หน้า 484-5.

ประคอง กรรณสูต. แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cumentalhealth.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539909325