การใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา

Main Article Content

ธีรพงศ์ โตเจริญโชค
พิเชษฐ์ เลิศปันณะพงษ์

บทคัดย่อ

เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดชนิดหนึ่งที่มีมานานกว่าครึ่งศตวรรษ และเคยถูกใช้อย่างแพร่หลายในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกจากหัวใจโดยเฉพาะที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยจะช่วยเพิ่มความดันกำซาบไปยังกล้ามเนื้อหัวใจขณะหัวใจคลายตัว ช่วยลดแรงต้านขณะบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย และเพิ่มปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที โดยทำงานประสานกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายและการเปิดปิดของลิ้นหัวใจเอออร์ติก บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการทำงานของเครื่อง เทคโนโลยีล่าสุดที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมากทั้งที่ตัวบอลลูน ซอฟต์แวร์และส่วนควบคุมภายนอก รวมถึงบทบาทข้อบ่งชี้ในปัจจุบัน ข้อห้ามใช้ รายละเอียดทางเทคนิคของการใส่และการตั้งค่าเครื่อง การดูแลผู้ป่วยในระหว่างใช้เครื่อง แนวทางการหย่าและการถอดเครื่องอย่างปลอดภัย เพื่อพยุงระบบไหลเวียนเลือดก่อนและระหว่างทำหัตถการ ช่วยในการหย่าเครื่องปอดและหัวใจเทียมและช่วยฟื้นตัวในระยะผ่าตัดหัวใจ ข้อเปรียบเทียบและบทบาทที่ใช้ร่วมกับเครื่องแลกเปลี่ยนออกซิเจนนอกร่างกาย ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องและวิธีป้องกันภาวะดังกล่าว เพื่อให้ทีมแพทย์และพยาบาลสามารถใช้เครื่องดังกล่าวได้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยเสี่ยงสูงกลุ่มนี้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

1. Murli Krishna KZ. Principles of intra-aortic balloon pump counterpulsation. Continuing Education in Anaesthesia, Critical Care & Pain. 2009;9(1):24-9.
2. van Nunen LX, Noc M, Kapur NK, Patel MR, Perera D, Pijls NH. Usefulness of Intra-aortic Balloon Pump Counterpulsation. Am J Cardiol. 2016;117(3):469-76.
3. Thiele H, Zeymer U, Neumann FJ, Ferenc M, Olbrich HG, Hausleiter J, et al. Intra-aortic balloon counterpulsation in acute myocardial infarction complicated by cardiogenic shock (IABP-SHOCK II): final 12 month results of a randomised, open-label trial. Lancet. 2013;382(9905):1638-45.
4. De Silva K, Lumley M, Kailey B, Alastruey J, Guilcher A, Asrress KN, et al. Coronary and microvascular physiology during intra-aortic balloon counterpulsation. JACC Cardiovasc Interv. 2014;7(6):631-40.
5. Schampaert S, van Nunen LX, Pijls NH, Rutten MC, van Tuijl S, van de Vosse FN, et al. Intra-Aortic Balloon Pump Support in the Isolated Beating Porcine Heart in Nonischemic and Ischemic Pump Failure. Artif Organs. 2015;39(11):931-8.
6. Werdan K, Gielen S, Ebelt H, Hochman JS. Mechanical circulatory support in cardiogenic shock. Eur Heart J. 2014;35(3):156-67.
7. de Waha S, Desch S, Eitel I, Fuernau G, Lurz P, Sandri M, et al. Intra-aortic balloon counterpulsation - basic principles and clinical evidence. Vascul Pharmacol. 2014;60(2):52-6.
8. White JM, Ruygrok PN. Intra-aortic balloon counterpulsation in contemporary practice - where are we? Heart Lung Circ. 2015;24(4):335-41.
9. Theologou T, Bashir M, Rengarajan A, Khan O, Spyt T, Richens D, et al. Preoperative intra aortic balloon pumps in patients undergoing coronary artery bypass grafting. Cochrane Database Syst Rev. 2011(1):CD004472.
10. Arafa OE, Pedersen TH, Svennevig JL, Fosse E, Geiran OR. Intraaortic balloon pump in open heart operations: 10-year follow-up with risk analysis. Ann Thorac Surg. 1998;65(3):741-7.
11. Kim JT, Lee JR, Kim JK, Yoon SZ, Jeon Y, Bahk JH, et al. The carina as a useful radiographic landmark for positioning the intraaortic balloon pump. Anesth Analg. 2007;105(3):735-8.
12. Rodigas PC, Finnegan JO. Technique for removal of percutaneously placed intraaortic balloons. Ann Thorac Surg. 1985;40(1):80-1.
13. Erdogan HB, Goksedef D, Erentug V, Polat A, Bozbuga N, Mansuroglu D, et al. In which patients should sheathless IABP be used? An analysis of vascular complications in 1211 cases. J Card Surg. 2006;21(4):342-6.