ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน : กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Main Article Content

อรอุษา กามลคร
วัลลีย์ ศรีประภาภรณ์
อุษณีย์ ผ่องใส
สุทธิพล อุดมพันธุรัก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาโดยรวมและรายด้าน และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องความต้องการในการพัฒนาบุคลากรในภาพรวมกับปัจจัยด้านพื้นฐาน


วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยได้ให้แบบสอบถามกับผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 385 ชุด และได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมา จำนวน 344 ชุด  โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน – เดือน ตุลาคม 2560 ได้แบ่ง แบบสอบถามออกเป็น  2  ตอน  คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลของสายสนับสนุน


ผลการศึกษา : ข้อมูลโดยทั่วไปเป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 26 – 35 ปี  การศึกษาระดับปริญญาตรี  ประเภทการจ้างส่วนมากเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย  ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในภาพรวมและรายด้านมีคะแนนอยู่ระหว่าง 2.93 ถึง 3.24โดยความหมายของความต้องการในการพัฒนาอยู่ในระดับมากทั้งหมดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องความต้องการในการพัฒนาบุคลากรในภาพรวมกับปัจจัยด้านพื้นฐานได้แก่ ปัจจัยด้านอายุพบว่ามีผลต่อความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนมี 3 ด้านคือ ในการพัฒนาด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานในหน้าที่  ในการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ ปัจจัยด้านเพศชายมีผลต่อความต้องการในการพัฒนาด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานในหน้าที่มากกว่าเพศหญิง  ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษามีผลต่อความต้องการในการพัฒนาทั้งภาพรวมและทุกด้าน     ปัจจัยด้านประเภทการจ้างพบว่ามีผลต่อความต้องการในการพัฒนาภาพรวม  ความต้องการในการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ  และความต้องการในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


สรุป :  ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร อายุน้อยมีความต้องการพัฒนากว่าอายุมาก  เพศชายมีความต้องการพัฒนามากกว่าเพศหญิง  ส่วนการศึกษาบุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความต้องการพัฒนามากกว่า บุคลากรที่มี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี


คำสำคัญ : การพัฒนา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อนิวัช แก้วจันทร์. การจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์.สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.2552 หน้า 153.
2. ฟรานเชสโก,แอนด์ มาเรีย ; และโกลด์ , แมรี่ อัลเลน. การบริหารองค์กรภายใต้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม.แปลโดย วันชัย วิจิรวณิช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2549 หน้า 17-20.
3. Alderfer GP. An empirical test of a new theory of human needs. Organizational Behavior and Human Performance 1969;4:142-75.
4. Abraham H. Maslow, Robert D. Frager, James Fadiman, eds. Motivation and Personality. 3rd ed. New York: Harper & Row Publishers, 1997.
5. ขนิษฐา มุตตาหารัช. การศึกษาความต้องการการพัฒนาบุคลากรของข้าราชการ สาย ข.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคใต้. 2538 หน้า 19-25.
6. สุนิษา กลึงพงษ์. ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรวิโรฒ. 2561 หน้า 84.