ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกในภาวะฉุกเฉินและการพยาบาล

Main Article Content

ปราณี ทองใส
วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอกในภาวะฉุกเฉิน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง อาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการเจ็บหน้าอก หรือปวดหลังทันทีทันใด อาการอื่นได้แก่ หมดสติ มีความผิดปกติทางระบบประสาทและสมองเช่น โรคหลอดเลือดสมอง และอัมพาต หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แขน ขาขาดเลือด หลังได้รับการวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิต การรักษาส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหลอดเลือด หรือการผ่าตัดเพื่อใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ แต่มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เสียชีวิตขณะรอผ่าตัด เนื่องจากต้องมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัดจึงมีความสำคัญมาก ตั้งแต่การประเมินอาการและการตรวจร่างกายตั้งแต่แรกรับ การพยาบาลหลังได้รับการวินิจฉัย เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค รวมทั้งการเฝ้าระวังและจัดการภาวะแทรกซ้อนจากการดำเนินของโรค เพื่อลดความพิการและการเสียชีวิต ก่อนได้รับการผ่าตัด

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

โอภาส ศรัทธาพุทธ. หลอดเลือดในช่องอกและการฉีกเซาะของผนังเอออร์ตา.ใน: โอภาส ศรัทธาพุทธ. สาระสำคัญทางศัลยศาสตร์หัวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . 2561: หน้า 311-32.

Suksan Kanoksin. Management of complication of aortic dissection. หน่วยศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น ครั้งที่ 14 [เข้าถึงเมื่อ ปี 2563 เดือน มกราคม วันที่ 15] Available from :http://thaists.org/news_files/news_file_495.pdf

Erbel R, Aboyan V, Boileau C, et.al. 2014 ESC Guidelines on the diagnosis and treatment of aortic diseases. European Heart Journal 2014; 35: 2873–2926.

Bushnell J, Brown J. Clinical Assessment for Acute Thoracic Aortic Dissection. Annals of Emergency medicine 2005; 41: 90-3.

Coady MA, Rizzo JA, Goldstein LJ, Elefteriades JA. Natural history, pathogenesis, and etiology of thoracic aneurysm and dissections. CARDIOLOGY CLINICS OF NORTH AMERICA 1999;17(4):615-35.

Fukui T. Management of acute aortic dissection and thoracic aortic rupture. Intensive Care 2018; 6(15):1-8.

Almeida GF, Vegni R, Japiassú AM, Kurtz P, Drumond LE, Freitas M, et al. Postoperative complications of surgically treated ascending aortic dissection. Rev Bras Ter Intensiva 2011; 23(3):304-311.

Matthew LW., et.al. Aortic Dissection as a Complication of Cardiac Surgery: Report From The Society of Thoracic Surgeons Database. Ann Thorac Surg 2010; 90:1812–7.

Bossone E, LaBounty MT, Eagle AK. Acute aortic syndromes: diagnosis and management, an update. European Heart Journal 2018; 39: 739–749.

Morris HJ, Mix D, Cameron JS. Acute Aortic Syndromes: Update in Current Medical Management. Curr Treat Options Cardio Med 2017; 19: 29.