การศึกษาประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ในหลอดทดลอง (In vitro) โดยวิธีการใช้ความร้อนแบบพาสเจอไรเซชัน

Main Article Content

นนทกร สกุลวิทยาสุข
ณัฐกานต์ ถาแก้ว
สายใจ สมิทธิการ
สุสัณห์ อาศนะเสน
มนูญ ลีเชวงวงศ์
ผลิน กมลวัทน์
สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย
อังคณา ฉายประเสริฐ
ประภาภรณ์ ศรีโลหะสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ในหลอดทดลอง (In vitro) โดยวิธีการใช้ความร้อนแบบพาสเจอไรเซชัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ใช้ในสภาวะที่ขาดแคลนหน้ากาก N95 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสซาร์โควีทู ที่ก่อโรคโควิด-19 (COVID-19) ให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกรณีจำเป็นต้องนำหน้ากาก N95 กลับมาใช้ซ้ำหลังการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีพาสเจอไรเซชัน


วิธีการศึกษา: ทดสอบประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ M. tuberculosis H37Rv ที่ความเข้มข้น 1-3x107, 1-3x106 และ 1-3x105 เซลล์/มิลลิลิตร ด้วยอุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 30 นาที ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง Löwenstein–Jensen, Ogawa media และชนิดเหลว Mycobacterium Growth Indicator Tube (MGIT) โดยทำการทดสอบ 2 ซ้ำในแต่ละความเข้มข้นของเชื้อ และตรวจติดตามทุกสัปดาห์จนครบ 8 สัปดาห์


ผลการศึกษา: การใช้วิธีพาสเจอไรเซชันโดยกการบ่มที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 30 นาที มีผลทำให้เชื้อ M. tuberculosis H37Rv ตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม


สรุป: การศึกษาพบว่าวิธีพาสเจอไรเซชันสามารถทำลายเชื้อ M. tuberculosis H37Rv ได้ร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่า ในสภาวะที่ขาดแคลนหน้ากาก N95 และต้องการนำหน้ากากที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำโดยผ่านการทำลายเชื้อด้วยวิธีพาสเจอไรเซชัน สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งผลการทดลองนี้จะใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาการฆ่าเชื้อ M. tuberculosis ในหน้ากาก N95 ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization [Internet]. Switzerland: World Health Organization; c2020 [cited 2020 Jul 31] Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200228-sitrep-39-covid-19.pdf?sfvrsn=5bbf3e7d_4

World Health Organization [Internet]. Switzerland: World Health Organization; c2020 [cited 2020 Jul 31] Available from: https://www.who.int/news-room/detail/03-03-2020-shortage-of-personal-protective-equipment-endangering-health-workers-worldwide

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค Guidelines for Prevention and Control of tuberculosis transmission. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2559.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 National Tuberculosis control Programme Guidelines, Thailand, 2018. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2561.

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์. วัณโรค (Tuberculosis) รู้เร็ว….รักษาหาย…ไม่แพร่กระจาย [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.saintlouis.or.th/article/show/TuberculosisTB_23-2-2017-8:32

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. หวั่น รพ.ขาดแคลนหน้ากากอนามัย กระทบงาน IC-โรคติดต่อทางเดินหายใจอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2020/03/18619

Yi Xiang MB, Qifa Song MSc b, Wenzhen Gu MSc. Decontamination of surgical face masks and N95 respirators by dry heat pasteurization for one hour at 70°C. Am J Infect Control 2020; 48: 880-2.

Fennelly KP, Jones-Lopez EC, Ayakaka I, Kim S, Menyha H, Kirenga B, et al. Variability of infectious aerosols produced during coughing by patients with pulmonary tuberculosis. Am J Respir Crit Care Med 2012; 186(5): 450-7.

Lei Liao, Wang Xiao, Mervin Zhao, Xuanze Yu, Haotian Wang, Qiqi Wang, Steven Chu, and Yi Cui. Can N95 respirators be reused after disinfection? How many times?. ACS Nano 2020; 14(5): 6348-56.

Harrington R Jr., Karlson AG. Destruction of various kinds of Mycobacteria in milk by pasteurization. Appl Microbiol 1965; 13(3): 494-5.