หลักการผลิตสื่อความรู้ด้านสุขภาพให้ง่ายต่อการเข้าใจ

Main Article Content

ลีนวัฒน ฟักแก้ว
เจษฎา สุวรรณวารี
ยุวรัตน์ ม่วงเงิน
กัณฐิกา ถิ่นทิพย์
ศุภลักษณ์ มิรัตนไพร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพสื่อความรู้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราชให้มีทิศทางที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข เรื่องการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยศึกษาโดยวิธีการค้นคว้าข้อมูลวิชาการทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นสังเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงเป็นคำแนะนำพร้อมส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตสื่อทางการแพทย์และด้านการสื่อสารสาธารณสุขตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่า สื่อความรู้ที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพคือสื่อที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผู้นิพนธ์ได้แบ่งหลักการในการจัดทำสื่อความรู้ออกเป็น2ส่วน ได้แก่การสร้างเนื้อหาที่เข้าถึงผู้อ่าน และ การออกแบบให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ได้นำเครื่องมือประเมินคุณภาพสื่อความรู้มาใช้ประกอบการพัฒนาสื่อ เพื่อให้สามารถค้นหาแง่มุมที่ควรพัฒนาได้ตรงตามหลักการ นำไปสู่การได้สื่อความรู้ด้านสุขภาพที่สมบูรณ์ที่สุดทั้งนี้ภาคส่วนต่างๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำหลักการเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการผลิตสื่อความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . HLO Fact Sheet [อินเทอร์เน็ต]. 2017. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน2561]. เข้าถึงได้จาก: http://dohhl.anamai.moph.go.th/download/2561/HLO_fact%20sheet_oct2017.pdf

Nutbeam D: Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International [internet]. 2000. [cited 2018 Oct 20];15(3):[262]. Available from:https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์. บทบรรณาธิการ บทเรียนการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจากนานาชาติสู่แผนการพัฒนาของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ15 ต.ค. 2561];48(1):[หน้า 1-4]. เข้าถึงได้จาก https://www.ph.mahidol.ac.th/thjph/journal/48_1/00.pdf

McGuire WJ. Attitudes and attitude change. In Lindzey, G., Aronson, E. (Eds.), Handbook of social psychology (3rd ed., Vol. 2, pp. 233–346). New York, NY: Random House; 1985

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินตนเองในการเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพรศ. ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์[อินเทอร์เน็ต]. 2017. [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://dohhl.anamai.moph.go.th/download/2561/แบบประเมิน%20HLO%20สำหรับหน่วยงานด้านสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ.pdf

CDC. Simply put; a guide for creating easy-to-understand materials. 3rd ed. Atlanta, GA: Strategic and Proactive Communication Branch, Division of Communication Services, Office of the Associate Director for Communication, Centers for Disease Control and Prevention; 2010.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). CDC Clear Communication Index A Tool for Developing and Assessing CDC Public Communication Products User Guide. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention Office of the Associate Director for Communication; 2019.

CDC. [Internet]. CDC Clear Communication Index Score Sheet. 2014 [cited 16 December 2019]. Available from: https://www.cdc.gov/ccindex/pdf/full-index-score-sheet.pdf

Abrams M, Kurtz-Rossi S, Riffenburgh A, Savage B. Health Literacy Guidebook | UnityPoint Health [Internet]. Healthliterateorganization.org. 2014 [cited 8 July 2019]. Available from: http://www.HealthLiterateOrganization.org