บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการแก้ไขการเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ( Febrile neutropenia )

Main Article Content

จันทิมา แจ่มจำรัส
ดาริกา จันทร์โพธิ์

บทคัดย่อ

การเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (febrile neutropenia) เป็นภาวะฉุกเฉินทางโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ภาวะแทรกซ้อนนี้ส่งผลทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด การช็อคจากการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง วงรอบของการรักษานานมากขึ้น การลดขนาดยาเคมีบำบัดลงทำให้การรักษาได้ผลไม่เต็มที่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น พยาบาลจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีความเข้าใจความหมายของการเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (febrile neutropenia) ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดภาวะ febrile neutropenia การคัดกรองประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ febrile neutropenia ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดทุกราย โดยในการคัดกรองใช้แบบประเมินที่เรียกว่า แบบประเมิน MASCC Risk Index for Febrile neutropenia  และแบบประเมินระดับของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำควบคู่กันไปเป็นระยะ รวมทั้งปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะ febrile neutropenia ตลอดจนแนวทางการพยาบาลในการป้องกันและจัดการดูแลแก้ไขผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (neutropenia) ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดทุกราย และพยาบาลต้องมีความรู้ในเรื่องขนาดยา การบริหารยา ผลข้างเคียงของยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว (G-CSF) เพื่อใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะ febrile neutropenia ส่งผลทำให้การรักษาพยาบาลดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันท่วงที ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วย เพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

สุวรรณี สิริเลิศตระกูล, สุวลักษณ์ วงศ์จรรโลงศิล, ประไพ อริยประยูร, แม้นมนา จิระจรัส. การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินทวีกิจพริ้นติ้ง; 2555.

เพ็ญศรี รักษ์วงค์, กรแก้ว สุขวานิชย์เจริญ, จริยา เรียนวาที. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่ใช้การจัดการ ความรู้เป็นฐานในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำหลังได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;2: 26-37.

พิจิตรา เล็กดำรงกุล. การประเมินความเสี่ยงและการจัดการการเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำในผู้ป่วยมะเร็งได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารสภาการพยาบาล 2558;1: 5-12.

Naurois JD, Novitzky I, Gill MJ, Marti FM, Cullen MH, Roila F. Management of febrile neutropenia: ESMO clinical

practice guidelines. Annals of Oncology 2010;21: 252-6.

Chan A, Chen C, Chiang J, Tan S, Ng R. Incidence of febrile neutropenia among early-stage breast cancer patients receiving anthracycline-based chemotherapy. Supportive care in cancer 2012;20: 1525-32.

Lyman GH. Management of chemotherapy-induced neutropenia with colony-stimulating factor. Eur oncol 2008;1: 13-7.

ชัชวาล จตุปาริสุทธิ์, ศิริลักษณ์ อนันต์ณัฐศิริ. Febrile neutropenia. [อินเตอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 2564 ม.ค. 20] เข้าถึงได้จาก https://www.scribd.com/doc/Febrile-Neutropenia

Klastersky J, Paesmans M, Rubenstein EB, Boyer M, Elting L, Ronald F, et al. The multinational association for supportive care in cancer risk index: A multinational scoring system for identifying low-risk febrile neutropenic cancer patients. J Clin Oncol 2000;18: 3038-51

Marrs JA. Care of patients with neutropenia. Clinical Journal of Oncology Nursing 2006;10: 164-6.

กาญจนา จันทร์สูง. บทความฟื้นวิชา Management of febrile neutropenia. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2548;3: 185-91.

Bennett CL, Djulbegovic B, Norris LB, Armitage JO. Colony-stimuting factors for febrile neutropenia during cancer therapy. N Engl J Med 2013;368: 1131-9.

Lekdamrongkul P, Pongthavornkamol K, Chewapoonpon C, Siritanaratkul N. Factors associated with febrile neutropenia in acute leukemia patients receiving chemotherapy. J Nurs Sci 2009;27: 58-68.