เครื่องมือประเมินสื่อความรู้ด้านสุขภาพ CDC Clear Communication Index

Main Article Content

ลีนวัฒน ฟักแก้ว
เจษฎา สุวรรณวารี
ยุวรัตน์ ม่วงเงิน
กัณฐิกา ถิ่นทิพย์
ศุภลักษณ์ มิรัตนไพร

บทคัดย่อ

            เครื่องมือประเมินสื่อความรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตสื่อสามารถใช้ทบทวนความครบถ้วนขององค์ประกอบการสื่อสาร ช่วยให้ผู้อ่านสามารถระบุสาระสำคัญได้ถูกต้อง รับรู้แนวทางที่สื่อชี้ชวนได้ตรงประเด็น ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับไม่ยากเกินไป และเอื้อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ความสำเร็จของการสื่อสาร  เครื่องมือประเมินสื่อที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้สุขภาพแนะนำมีหลายชนิด เช่น The Suitability Assessment of Materials (SAM)2  The Patient Education Materials Assessment Tool (PEMAT)3 และ the CDC Clear Communication Index4 เป็นต้น ทั้งนี้ผู้นิพนธ์เลือกใช้  CDC Clear Communication Index ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ สหรัฐฯ ได้พัฒนาขึ้นจากการสังเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสาร ที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าช่วยส่งเสริมความชัดเจนตรงประเด็นและเพิ่มความเข้าใจให้ผู้อ่าน มีการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางภายใต้แผนปฏิบัติการระดับชาติของสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน อย่างไรก็ตามผู้นิพนธ์ยังไม่พบงานเขียนที่แสดงถึงการนำ CDC Clear Communication Index  มาใช้ในประเทศไทย จึงได้ศึกษาเพื่อต้องการนำเครื่องมือดังกล่าวมาพัฒนาการทำงาน ดังนั้น บทความจะแสดงรายละเอียดของ CDC Clear Communication Index ฉบับภาษาไทย และได้นำเครื่องมือฉบับแปลไปทดลองใช้ในการทำงาน

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). CDC Clear Communication Index A Tool for Developing and Assessing CDC Public Communication Products User Guide. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention Office of the Associate Director for Communication; 2019.

Doak C, Doak L, and Root J. [Internet]. Suitability Assessment of Materials (SAM). 2008 [cited 21 March 2020]. Available from: http://aspiruslibrary.org/literacy/sam.pdf

Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). [Internet]. The Patient Education Materials Assessment Tool (PEMAT) and User’s Guide. 2014 [cited 10 November 2020]. Available from: https://www.ahrq.gov/sites/default/files/publications2/files/pemat_guide_0.pdf

CDC. [Internet]. CDC Clear Communication Index Score Sheet. 2014 [cited 16 December 2019]. Available from: https://www.cdc.gov/ccindex/pdf/full-index-score-sheet.pdf

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . HLO Fact Sheet [อินเทอร์เน็ต]. 2017. [เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://dohhl.anamai.moph.go.th/download/2561/HLO_fact%20sheet_oct2017.pdf

Harvard T.H. CHAN School of Public Health [Internet]. Boston: Health Literacy Studies; Assessing Materials; [cited 2020 July 10]. Available from: https://www.hsph.harvard.edu/healthliteracy/assessing-and-developing-materials/

Lauren McCormack. Best Practices in Risk Communication and Communicating Uncertainty:Applications to FDA-Regulated Products. FDA Risk Communication Advisory Committee.[Internet].2016[cited 2020 July 20];15.Available from : https://www.fda.gov/media/96182/download

Abrams M, Kurtz-Rossi S, Riffenburgh A, Savage B. Health Literacy Guidebook | UnityPoint Health [Internet]. Healthliterateorganization.org. 2014 [cited 8 July 2019]. Available from: http://www.HealthLiterateOrganization.org

Centers for Disease Control and Prevention (CDC)[Internet].USA: The CDC Clear Communication Index; [updated 2020 August 6; cited 2020 November 3].Available from: https://www.cdc.gov/ccindex/index.html

Cynthia Baur, Christine Prue. The CDC Clear Communication Index Is a New Evidence-Based Tool to Prepare and Review Health Information. Health Promotion Practice 2014; 15(5): 629-37.