สิ่งกระตุ้นเครียดของผู้ป่วยโรคการปรับตัวผิดปกติที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราช และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความไวต่อสิ่งกระตุ้นเครียดและพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย

Main Article Content

ทิชากร ทองกลีบ
ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ
นที วีรวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความไวต่อสิ่งกระตุ้นเครียดประเภทต่าง ๆ และพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการวินิจฉัยโรคการปรับตัวผิดปกติ
วิธีการศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราชที่ได้รับการวินิจฉัยโรคการปรับตัวผิดปกติ เก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทางการแพทย์ สิ่งกระตุ้นเครียด และพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายของผู้ป่วยย้อนหลังจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, independent t-test และ binary logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 370 ราย มีสิ่งกระตุ้นเครียดเป็นปัญหาด้านสุขภาพ 272 ราย (ร้อยละ 73.5) ปัญหากับคนใกล้ชิด 80 ราย (ร้อยละ 21.6) พยายามฆ่าตัวตาย 74 ราย (ร้อยละ 20.0) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความไวต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าปัญหากับคนใกล้ชิดคือ อายุที่เพิ่มขึ้น (10 ปี) [OR 1.8 (95%CI 1.4-2.3)] และโรคประจำตัวทางกายรุนแรงปานกลางถึงมาก [OR 6.5 (95%CI 2.3-18.3)] ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความไวต่อปัญหากับคนใกล้ชิดมากกว่าปัญหาสุขภาพคือ สถานภาพสมรส [OR 3.5 (95%CI 1.7-7.4)] ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายคืออายุที่น้อยลง (10 ปี) [OR 1.5 (95%CI 1.1-2.0)] และการมีสิ่งกระตุ้นเครียดเป็นปัญหากับคนใกล้ชิด [OR 25.8 (95%CI 11.8-56.4)]
สรุป: ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหากับคนใกล้ชิดเป็นสิ่งกระตุ้นเครียดหลักของผู้ป่วยในที่มีโรคการปรับตัวผิดปกติ การมีอายุมากและโรคประจำตัวมากสัมพันธ์กับความไวต่อปัญหาสุขภาพ การมีอายุน้อยและสถานภาพสมรสสมรสสัมพันธ์กับความไวต่อปัญหากับคนใกล้ชิดและการมีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย การคัดกรองโรคการปรับตัวผิดปกติในกลุ่มเสี่ยงและส่งเสริมสุขภาพกายกับสถาบันครอบครัวให้แข็งแรง อาจช่วยป้องกันโรคการปรับตัวผิดปกติและการฆ่าตัวตายได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sadock BJ, Sadock VA, and Ruiz P. Kaplan & Sadock’s synopsis of psychiatry: behavioral sciences/clinical psychiatry. 11th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015.

Gur S, Hermesh H, Laufer N, Gogol M, Gross-Isseroff R. Adjustment disorder: a review of diagnostic pitfalls. Isr Med Assoc J 2005;7(11):726-31.

Fernandez A, Mendive JM, Salvador-Carulla L, Rubio-Valera M, Luciano JV, Pinto-Meza A, et al. Adjustment disorders in primary care: prevalence, recognition and use of services. Br J Psychiatry 2012;201:137-42.

Gradus JL, Antonsen S, Svensson E, Lash TL, Resick PA, Hansen JG. Trauma, comorbidity, and mortality following diagnoses of severe stress and adjustment disorders: a nationwide cohort study. Am J Epidemiol 2015;182(5):451-8.

Casey P, Jabbar F, O’Leary E, Doherty AM. Suicidal behaviours in adjustment disorder and depressive episode. J Affect Disord 2015;174:441-6.

Strain J, Smith GC, Hammer JS, McKenzie DP, Blumenfield M, Muskin P, et al. Adjustment disorder: a multisite study of its utilization and interventions in the consultation-liaison psychiatry setting. Gen Hosp Psychiatry 1998;20(3):139-49.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 4th ed. text revision. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2000.

Gilman SE, Trinh NH, Smoller JW, Fava M, Murphy JM, Breslau J. Psychosocial stressors and the prognosis of major depression: a test of axis IV. Psychol Med 2013;43(2):303-16.

Maercker A, Forstmeier S, Pielmaier L, Spangenberg L, Brahler E, Glaesmer H. Adjustment disorders: prevalence in a representative nationwide survey in Germany. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 2012;47(11):1745-52.

ศักรินทร์ แก้วเฮ้า, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, พิมพ์นิดา กุลสุนทราลัย, อำไพ โพธิ์คำ, สุนิศา เจือหนองแวง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฏาคม 18];65(3):[หน้า 301-14]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/239893

ลลิดา จันทรักษ์. การศึกษาผู้ป่วยในที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราชรับปรึกษาและได้รับการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าปี 2548. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.

Popkin MK, Callies AL, Colón EA, Stiebel V. Adjustment disorders in medically ill inpatients referred for consultation in a university hospital. Psychosomatics 1990;31(4):410-4.

Mitrev I. A study of deliberate self-poisoning in patients with adjustment disorders. Folia Med (Plovdiv) 1996;38(3-4):11-6.

นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฏาคม 19];57(4):[หน้า 439-46]. เข้าถึงได้จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/57-4/06-Nittaya.pdf

ขวัญสุดา บุญทศ, ขนิษฐา นันทบุตร. ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฏาคม 18];62(3):[หน้า 257-70]. เข้าถึงได้จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/62-3/07_Kwansuda.pdf

Juurlink DN, Herrmann N, Szalai JP, Kopp A, Redelmeier DA. Medical illness and the risk of suicide in the elderly. Arch Intern Med 2004;164(11):1179-84.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, อิงคฏา โคตนารา, รัชฎาพร ธรรมน้อย, อรพิน ยอดกลาง, บุษบา อนุศักดิ์. ประสบการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย: ความแตกต่างทางเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฏาคม 18];58(3):[หน้า 245-56]. เข้าถึงได้จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/58-3/03-Somporn.pdf

Jonas S, Khalifeh H, Bebbington PE, McManus S, Brugha T, Meltzer H, et al. Gender differences in intimate partner violence and psychiatric disorders in England: results from the 2007 adult psychiatric morbidity survey. Epidemiol Psychiatr Sci 2014;23(2):189-99.

Fegan J, Doherty AM. Adjustment disorder and suicidal behaviours presenting in the general medical setting: a systematic review. Int J Environ Res Public Health 2019;16(16):2967.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

หวาน ศรีเรือนทอง, ธรณินทร์ กองสุข, วชิระ เพ็งจันทร์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, รุ้งมณี ยิ่งยืน และคณะ. ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายของคนไทย: การสำรวจระดับชาติ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กรกฏาคม 18];56(4):[หน้า 413-24]. เข้าถึงได้จาก http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-4/08-Wan.pdf