การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย

Main Article Content

วิมล แซ่ก๊วย
ศุภวิช เหลืองภัทรวงศ์
สุกรี เส็มหมาด

บทคัดย่อ

ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ เป็นองค์ประกอบของระบบขับถ่ายปัสสาวะซึ่งใช้ในการขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่ายกาย ควบคุมความดันเลือดและปริมาณเลือดในร่างกาย ควบคุมอิเล็กโทรไลต์และเมแทบอไลต์ รวมทั้งควบคุมความเป็นกรดเบสของเลือด หากเกิดความผิดปกติในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย (Videourodynamic Study; VUDS) เป็นวิธีการตรวจมาตรฐานในการประเมินการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะร่วมกับการถ่ายรังสีทัศน์ (Fluoroscopy) ซึ่งทำให้ทราบถึงกายวิภาคของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะไปพร้อมกับระบบการทำงาน ทำให้แพทย์สามารถประเมินหาสาเหตุของปัญหา วินิจฉัยความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น บทความนี้มุ่งเน้นให้พยาบาลในฐานะผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ขั้นตอนการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ชนิดมีการถ่ายภาพรังสีร่วมด้วย (Videourodynamic Study; VUDS) สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตั้งแต่ระยะก่อนเข้ารับการตรวจ ระยะตรวจ จนกระทั่งระยะหลังการตรวจ เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วย และญาติ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการตรวจ การรักษาที่มีประสิทธิผล กอปรกับสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจได้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

วลีรัตน์ เศวตสุทธิพันธ์. กลไกการทำงานของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในภาวะปกติ. ใน: วสันต์ เศรษฐวงศ์, วชิร คชการ. ตำรากระเพาะปัสสาวะพิการจากระบบประสาท 1. กรุงเทพฯ: ไอเดีย อินสแตท พริ้นทิ่ง, 2560:3-19.

คัทรียา รัตนวิมล. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร [อินเทอร์เน็ต]. 2552;3(2):1-12. เข้าถึงได้จาก http://www.nurse.nu.ac.th/Journal/data/Vol.3%20No.2/001.pdf

Fonte N. Urological Care of the Spinal Cord Injured Patient. JWOCN. 2008;35(3):323-31.

Stav K, Siegel YI, Beberashaili I, Sella HZ, Zisman A. Provision of Information Leaflet before Urodynamic Study Reduces the Pre-Examination Anxiety Level. Neurourol Urodyn. 2016;35(7):805-8.

Permpech R, Butsripoom B. The Role of Perioperative Nurse: Health Education for Pre and Postoperative Visiting. Rama Nurse J. [Internet]. [cited 2019 Jul 31]; 22(1):9-20.

มุทิตา จองวรรณศิริ, วิทย์ วิเศษสินธุ์. การพยาบาลผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากการบาดเจ็บไขสันหลังที่รับการตรวจยูโรพลศาสตร์. Rama Nurse J [อินเทอร์เน็ต]. 2562;25(3):270-1. เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/D_100604.pdf.

จักรกฤษณ์ จันทร์อู่. การประเมินผู้ป่วยและการสืบค้นเพิ่มเติม. ใน: วสันต์ เศรษฐวงศ์, วชิร คชการ. ตำรากระเพาะปัสสาวะพิการจากระบบประสาท. 1. กรุงเทพฯ: ไอเดีย อินสแตท พริ้นทิ่ง, 2560:33-54.

Winters JC, Dmochowski RR, Goldman HB, Herndon CD, Kobashi KC, Kraus SR, et al. Urodynamic Studies in Adults: AUA/SUFU Guideline. J Urol. 2012;188(6 Suppl):2464-2472.

ฉันท์หทัย นันท์หทัย, ศศิวิมล ศรีสุขโข. Bladder Test, Make It Simple for General Gynecologist. [Internet]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1410:bladder-test-make-it-simple-for-general-gynecologist&catid=45&Itemid=561.

Jonathan S. Berek, MD, MMS. Lower Urinary Tract Disorders. Shawn A. Menifee, Ingrid Niggard. Berek & Novak’s Gynecology. 15th ed. Stanford, California: Editorial Assistant & Design. Deborah L. Berek, MA; 2012.p.874–84.

ชินภัทร์ จิระวรพงศ์, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร, เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ. การปฏิบัติตามแนวทางการให้ยาปฏิชีวะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะก่อนการถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะขณะขับถ่าย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. [อินเทอร์เน็ต]. 2552;19(1):1-7. เข้าถึงได้จาก http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/05/L-274.pdf.

Dunnick NR, Sandler CM, Newhouse JH, Textbook of Uroradiology, 3rd ed, New York: McGraw-Hill; 2001.p.330-3.

Miki DG, Tambyah PA. Engineering Out the Risk of Infection with Urinary Catheters. Emerging Infectious Diseases. 2001;7:342-7.

Rushton HG, Urinary Tract Infections in Children: Epidemiology, Evaluation, and Management. Pediatr Clin North Am 1997; 44: 1139-69.

Danforth TL, Ginsberg DA. Neurogenic Lower Urinary Tract Dysfunction: How, When, And with Which Patients Do We Use Urodynamics? Urol Clin North Am. 2014; 41:445-52.

Xavier B, Ornella L, Van B, Lysanne C, Jacques C. Prospective Evaluation of Anxiety, Pain, and Embarrassment Associated with Cystoscopy and Urodynamic Testing in Clinical Practice. Can Urol Assoc J. 2017;11(3-4):104-10.

Rahardjo HE, Tirtayasa PM, Afriansyah A, Parikesit D, Akbar MI. The Effectiveness of a Three-Day Course Antibiotic Post-Urodynamic Study in Preventing Lower Urinary Tract Infection. Acta Med Indones. 2016;48(2):84-90.