บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการ ภาวะกล่องเสียงหดเกร็งในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยา Oxaliplatin

Main Article Content

จรินทร์ทิพย์ พุ่มศรี
จุฬาลักษณ์ ทิพย์เลอเลิศ
ชุติกาญจน์ พูลเพิ่ม

บทคัดย่อ

ภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยาอ๊อกซาลิพลาติน (Oxaliplatin) ผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวจะมีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ออก ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตหากไม่สามารถประเมิน และจัดการแก้ไขได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการ หรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาชนิดนี้จึงจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดภาวะกล่องเสียงหดเกร็งที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยา Oxaliplatin อีกทั้งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีทักษะในการสังเกต การประเมินอาการผิดปกติ จุดประสงค์เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยง เฝ้าระวังและลดความรุนแรงของภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง ผู้เขียนได้มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับภาวะกล่องเสียงหดเกร็งในผู้ป่วยที่ได้รับยา Oxaliplatin ทำให้พบว่าแนวทางการพยาบาล ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ การเตรียมผู้ป่วยก่อนการเริ่มให้ยาโดยให้คำแนะนำ ได้แก่ การงดดื่มน้ำเย็น น้ำแข็ง เพื่อลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะกล่องเสียงหดเกร็งเพิ่มขึ้น การแนะนำผู้ป่วยให้สังเกตอาการนำของการเกิดภาวะกล่องเสียงหดเกร็งและวิธีการปฏิบัติตนมื่อเกิดอาการ ร่วมกับการเฝ้าติดตามประเมินอาการและการจัดการตามแนวปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยมีภาวะกล่องเสียงหดเกร็ง ได้แก่ การประเมินอาการและสัญญาณชีพ การหยุดยา ให้ออกซิเจนและให้ยาแก้แพ้หรือ Hydrocortisone ซึ่งพบว่าช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความรุนแรงของภาวะกล่องเสียงหดเกร็งลดลง ซึ่งการปฏิบัติตามแนวการพยาบาลดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยา Oxaliplatin ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

Kolathu S, Lekshmi S, Pillai R, Pavithran K, Neethu CM. Oxaliplatin-Induced Laryngospasm - A Case Report. Natl J Physiol Pharm Pharmacol 2018;8(1):146-8.

George A, Anuradha M. Oxaliplatin Induced Laryngospasm: A Case Series. Int J Basic Clin Pharmacol 2020; 9:215-7.

Hussaini SZH, Aftab F, Siddiqi N, Ahmed SI, Rehman SA. Oxaliplatin Induced Severe Hypoxemia, Chills and Hypersensitivity Reaction. JDDT 2022;12(1):39-41.

จิราวดี จัตุทะศรี. กล่องเสียงบอบช้ำเมื่อหายจากโควิด-19 [Internet]. 2021 [Cited 2021 Dec 1]. Available from: https://www.bangkokhospital.com/content/laryngeal-trauma-after-recovering-from-covid-19

อริศรา เอี่ยมอรุณ. Airway Management [Internet]. 2021 [Cited 2021 Dec 1]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/anesth/undergrad/airway%2520management%2520

Kathryn Watson. Laryngospasm [Internet]. 2018 [Cited 2021 Dec 1]. Available from: https://www.healthline.com/health/laryngospasm

Healthythai Club. Oxaliplatin (ออกซาลิแพลทิน) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://healthythai.online/drug/oxaliplatin

Wikipedia. Oxaliplatin [Internet]. 2018[Cited 2021 Dec 1]. Available from: https://en.m.wikipedia.org/wiki/oxaliplatin

Mahmoud ITB, Said AB, Berguiga S, Houij R, Cherif I, Hamdi A, et al. Incidence and Risk Factors Associated with Development of Oxalipatin-Induced Acute Peripheral Neuropathy in Colorectal Cancer Patients. J Oncol Pharm Pract 2021:1-8. doi.org/10.1177/10781552211068138

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำ จากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;37:169-181.

ลัทธยา อัศวจารุวรรณ. Eloxatin (Oxaliplatin Fir Injection) [Internet]. 2005[Cited 2021 Dec 1]. Available from: https://www.tcithaijo.org/index.php/ppkjournal/article/download/70663/57378

Azad A, Joseph M, Biju MJ, Mathew MS. Anaphylatic Shock with Off-Label Use of Oxaliplatin In Ovarian Cancer: A Rare Case Report. Indian Journal of Pharmacy Practice 2021;14(4):317-19.

Hsu HT, Wu LM, Lin PC, Juan CH, Huang YY, Chou PL, Chen JL. Emotional Distress and Quality of Life During Folinic Acid, Fluorouracil, and Oxaliplatin in Colorectal Cancer Patients with and Without Chemotherapy Induced Peripheral Neuropathy. Medicine (Baltimore) 2020;99(6): E19029. doi: 10.1097/md.0000000000019029.

Bartlett DJ, Childs DS, Breitkopf CR, Grudem ME, Mitchell JL, Looker SA, et al. Chemotherapy Acute Infusion Reactions: A Qualitative Report of The Perspectives of Patients with Cancer. Am J Hosp Palliat Care. 2018;35(11):1384-89.

เพลินพิศ ธรรมนิภา. คู่มือการพยาบาลการบริหารยาเคมีบําบัดสําหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;2558

จันทิมา แจ่มจำรัส, เพชรดา มหาแสง, ดาริกา จันทร์โพธิ์. แนวทางการพยาบาลป้องกันและจัดการแก้ไขภาวะการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือดดำ (Extravasation). เวชบันทึกศิริราช 2562;12(3):174-79.

ฐิติมา วัชรเขื่อนขันธ์, จงจิต เสน่หา, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, กฤติยา กอไพศาล. ผลของการควบคุมอุณหภูมิบริเวณที่ให้ยาออกซาลิพลาตินต่ออาการปวดหลอดเลือดดำในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. วารสารสภาการพยาบาล 2564;36(3):104-17.

สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. บทบาทพยาบาลในการจัดการภาวะภูมิไวเกิน และปฏิกิริยาจากการให้ยาเคมีบําบัดทางหลอดเลือดดำ. วารสารโรคมะเร็ง 2561;38(1):29-41.

จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี, ปณิธาน ประดับพงษา, วัฒน์ มิตรธรรมศิริ, อธิก แสงอาสภวิริยะ. ข้อพิจารณาในการวินิจฉัย และวิธีการใช้ยา ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนนิซิลิน. เวชสารแพทย์ทหารบก 2559;69(3):137-46.

Quezada CEDL, Gonzalez RVV, Diaz SNG, Diaz LLC. Successful Oxaliplatin Desensitization Protocol in A Patient with Colorectal Metastatic Cancer. J Oncol Pharm Pract. 2021 Mar;27(2): 490-93. doi: 10.1177/1078155220939143.

ประไพศรี ปัญญาอิ่นแก้ว, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์. อาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด วิธีการจัดการและผลลัพธ์ของการจัดการตามการรับรู้ของผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562;11(1):117-28.