การศึกษาวิเคราะห์รสยาสมุนไพรในคัมภีร์ และตำราทางการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

สิริกานต์ ภูโปร่ง
ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธรรม
กชกร โสมชาติ
ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา
รศ.ดร.นพ.ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และเปรียบเทียบรสยาสมุนไพรในคัมภีร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภาพรวม เกี่ยวกับรสยาว่ามีทั้งหมดกี่รส แต่ละรสมีสรรพคุณเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละคัมภีร์
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย์การศึกษาวิจัยจากเอกสารปฐมภูมิ 7 แหล่ง ได้แก่ 1. คัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณ แลมหาพิกัด 2. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ 3. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ 4. คัมภีร์วรโยคสาร 5. ตำราอายุรเวทศึกษา 6. ตำราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป 7. ตำราเภสัชกรรมไทย โดยมีขั้นตอนการวิจัย คือ 1. วิเคราะห์รสยาสมุนไพรในคัมภีร์ 2. นำข้อมูลรสยามาเปรียบเทียบกัน 3. สรุปผล 4. อภิปรายผล




ผลการศึกษา: พบรสยารสเดียวจากทุกแหล่งข้อมูล โดยพบยารสเดียว 4 รสในคัมภีร์ธาตุวิภังค์พบยารสเดียว 6 รสในคัมภีร์วรโยคสาร และตำราอายุรเวทศึกษา พบยารสเดียว 7 รส ในคัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณ แลมหาพิกัด พบยารสเดียว 8 รส คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ พบยา รสเดียว 9 รส ในตำราเภสัชกรรมไทย และพบยารสเดียว 10 รส ตำราเวชศึกษา พบรสยาที่เป็นรสผสม จำนวนมากที่สุด จำนวน 18 รส พบ รสยาที่เป็นรสผสม 3 รส จำนวน 7 รส และพบรสยารสผสม 4 รส จำนวน 4 รส รสยาผสมส่วนใหญ่พบในคัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณ แลมหาพิกัด ยารสจืดพบเพียงแหล่งเดียว คือ ในตำราเวชศึกษาเท่านั้น




สรุป: ยาสมุนไพรมีทั้งยารสเดียว และรสผสม ในแต่ละคัมภีร์พบจำนวนที่แตกต่างกันออกไป ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถนําไป ต่อยอดในแง่การเรียนการสอนด้านเภสัชกรรมแผนไทย รวมไปถึงการทำเวชปฏิบัติของแพทย์แผนไทย การประยุกต์ใช้ในการปรุงยา และ ผลิตยาจากสมุนไพร


Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์, 2552.

ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัมและคณะ. การศึกษาวิเคราะห์สมุนไพร ในคัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณ แลมหาพิกัด. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2559 (1448-1458). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, วันที่ 21 ธันวาคม 2559.

หอสมุดแห่งชาติ. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1, 2, 3. กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 คัมภีร์วรโยคสาร. พระนคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ, 2505.

พิศณุประสาตรเวช, พระยา. เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม 1, 2, 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย, ร.ศ. 127.

ขุนนิทเทสสุขกิจ [นิทเทส (ถมรัตน์) พุ่มชูศรี]. อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พร้อมจักรการพิมพ์, 2516.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท (ชีวกโกมารภัจจ์). ตำราเภสัชกรรมไทย.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นตริ้ง เซ็นเตอร์, 2548.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์, 2550.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.

ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม. การศึกษาวิเคราะห์สมุนไพร ในคัมภีร์สรรพลักษณะ สรรพคุณ แลมหาพิกัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. 2560.