การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากสารสกัดหญ้าหวานและการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วิไลลักษณ์ สุกใส
สถาพร สัตย์ซื่อ
ฉัตรดนัย อุประวรรณา
ทวินตา เทศไทย
ณัทชลิดา นฤภัทรธนกิจ
กัลยรัตน์ พรหมพลจร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือจากสารสกัดหญ้าหวานและการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
วิธีการศึกษา: การศึกษาในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาของผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือ ในปัจจุบัน ด้วยการสนทนากลุ่ม จากนั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ประเมินความคงตัว และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาผิวมือแห้งกร้านขาดความชุ่มชื้น ซึ่งเกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกรทำสวน เกษตรกรทำนา มีความต้องการใช้ครีมบำรุงมือจากสารสกัดธรรมชาติที่สามารถหาซื้อได้ง่าย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี พบว่า ลักษณะเนื้อครีมเนียนละเอียดดีมาก สีของครีมเป็นสีเขียวอ่อน มีกลิ่นเฉพาะของหญ้าหวาน เนื้อครีมไหลได้ดี ไม่มีการเจริญของจุลินทรีย์หรือเชื้อรา ไม่มีการเกิด Creaming, Cracking มีค่า pH อยู่ที่ 5-6 ซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังดี ส่วนการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์พบว่า อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.4) ซึ่งในด้านคุณลักษณะที่ดีที่สุด 3 ประการ ได้แก่ มีกลิ่นที่พึงประสงค์ ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีค่า x̅= 4.6, 4.5, 4.6 ตามลำดับ ส่วนความสะดวกต่อการใช้งานบ่อยครั้งมาเป็นอันดับสองด้วยคะแนน 4.4
สรุป: ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สารสกัดหญ้าหวานสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงมือได้ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของหญ้าหวานแก่เกษตรกรให้เกิดประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lilaphonphisit P. Cosmetics for skin. Bangkok: Odeon Store; 2nd ed. 2008. 255p. (in Thai)

Yanyasit O. Hand work and book writing. Rajanukul Journal. 2008;23(1):51-62. (in Thai)

Harper D, Young A, McNaught CE. The physiology of wound healing. Basic Science. 2014;32(9):445-50.

Zouboulis CC, Makrantonaki E. Clinical aspects and molecular diagnostics of skin aging. Clin Dermatol. 2011;29(1):3-14.

Dybka K, Walczak P. Collagen hydrolysates as a new diet supplement. Food Chemistry and Biotechnology. 2009; 73:83-92.

Phansawan B. Free radicals, antioxidants and antioxidant activity determination. Thai Journal of Science and Technology. 2013;21(3): 275-86. (in Thai)

Phakamus S, Chokrathok S, Woraratphoka J, Innok S. Development of yanang mixed herb tea products. Burapha Science Journal. 2018; 23(3):1682-95. (in Thai)

Deetae P, Parichanon P, Trakunleewatthana P, Chanseetis C, Lertsiri S. Antioxidant and anti-glycation properties of thai herbal teas in comparison with conventional teas. Food Chemistry. 2012; 133: 953-59.

Shukla S, Mehta A, Bajpai VK. Phytochemical screening and anthelmintic and antifungal activities of leaf extracts of Stevia rebaudiana. JBAPN. 2013; 3(1):56-63.

Kim SL, Yanga M, Lee OH, Kang SN. The antioxidant activity and the bioactive compound content of Stevia rebaudiana water extracts. LWT-Food Sci Technol. 2011; 44(5):1328-32.

Goyal SK, Samsher, Goyal RK. Stevia (Stevia rebaudiana) a bio-sweetener: a review. Int J Food Sci Nutr. 2010;61(1):1–10.

pharmacy.mahidol.ac.th [Internet]. Sweet-natural-healthy; c2013 [cited 2019 Jan 12]. Available from: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/107 (in Thai)

thainews.prd.go.th [Internet]. Stevia, sweet herbs full of value; c2018 [cited 2019 Jan 12]. Available from: http://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/WNEVN6108250010001 (in Thai)

Srisaard B. Preliminary research. Bangkok: Suweerivasarn; 7th ed. 2002. (in Thai)

thaiphc.net [Internet]. Report of public health volunteers by district [cited 2019 Jan 12]. Available from:

http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP000S8.php (in Thai)

Krasantisuk S, Runnarong h. The development of skin care sericin lotion (special project). Faculty of Pharmacy. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2006. (in Thai)

Likert R. New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc; 1961. 279 p.

Pasunon P. Validity of questionnaire for social science research. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University. 2015;18:375–96. (in Thai)

Khwunakaphan M. Inhibition of the enzyme tyrosinase of the extract from licorice vine thailand (independent study). School of Cosmetic Science. Chiang Rai: Mae Fah Luang University; 2012. (in Thai)

Shuayprom A, Povichit N, Bunjob M, Boonrod T, Bucha P, Suphaphon B. Development of the cosmeceutical formulation for aging mix with embelin. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal. 2010;2(2):69-77. (in Thai)

Insain P. Inhibition of melanogenesis from thai berries. EAU Heritage Journal Science and Technology. 2018;12(2):69-82. (in Thai)

Songsom A. Proposed conceptual model of consumer’s attitudes and behaviors on corporate social responsibility. Veridian E-Journal. 2012;5(1):618-39. (in Thai)