การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดเปลือกส้มโชกุน

Main Article Content

วิไลลักษณ์ สุกใส
สถาพร สัตย์ซื่อ
ฉัตรดนัย อุประวรรณา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดเปลือกส้มโชกุน


วิธีการศึกษา: การศึกษาในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยวิเคราะห์สถานการณ์ดูแลเส้นผมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรจากธรรมชาติในปัจจุบันด้วยการสนทนากลุ่ม จากนั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ประเมินความคงตัว ประเมินความรู้สึกในการใช้ ประเมินสภาพเส้นผมก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์ และประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์


ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงเส้นผมและฟื้นฟูเส้นผมที่แห้ง ให้นุ่มสลวย ไม่พันกัน โดยมีเนื้อครีมที่ไม่เหนียวเหนอะหนะ ล้างออกง่าย มีกลิ่นหอมของส้ม และต้องการบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบหลอดบีบ ที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน จากการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่าลักษณะเนื้อครีมเนียนละเอียดดีมาก สีของครีมที่มองเห็นเป็นสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นส้มอ่อน ๆ ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ครีมมีการไหลที่ดี ไม่มีการเจริญของจุลินทรีย์หรือเชื้อรา ไม่มีการเกิด creaming และ cracking มีค่า pH 5-6 ซึมซาบดี ไม่เหนอะหนะ จากนั้นประเมินสภาพเส้นผม พบว่าเส้นผมแข็งแรง ไม่แห้งเสีย (ร้อยละ 87.05) ผมเรียบลื่น และมีความยืดหยุ่น (ร้อยละ 92.25) ไม่มีสะดุดไปตลอดเส้นผมสะท้อนถึงเส้นผมที่มีสุขภาพดี (ร้อยละ 89.15) และเส้นผมยืดหยุ่นไปตามแรงดึง (ร้อยละ 90.04) และประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์พบว่า อยู่ในระดับมาก (  = 4.40)


สรุป: จากผลการศึกษาทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ครีมนวดผมจากสารสกัดเปลือกส้มโชกุนที่ทำให้เส้นผมแข็งแรง                  เรียบลื่น มีความยืดหยุ่น สัมผัสแล้วผมนุ่มลื่น และการประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์  พบว่า อยู่ในระดับมาก ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Blume-Peytavi U, Whiting DA, Trüeb RM. Hair growth and disorders. 1st ed. Berlin: Springer-Verlag Berlin Heidelberg; 2008. 564 p.

Tsuboi R, Itami S, Inui S, Ueki R, Katsuoka K, Kurata S, et al. Guidelines for the management of androgenetic alopecia (2010). J Dermatol. 2012; 39:113–20.

Varothai S, Bergfeld WF. Androgenetic alopecia: an evidence-based treatment update. Am J Clin Dermatol. 2014; 15(3):217–30.

Programming [Internet]. A Study of Hair Growth Promoter in Pigmented Rice Extract and Development of Anti-hair Loss Products Containing Pigmented Rice Extract; c2012 [cited 2018 Dec 1]. Available from:

https://programming.cpe.ku.ac.th/AgriInformatics/viewProject.php?itemID=3295 (in Thai)

Nassar AG, AbdEl-Hamied AA, EL-Naggar EA. Effect of citrus by-products flour incorporation on chemical, rheological and organolepic characteristics of biscuits. World J. Agric. Sci. 2008;4(5): 612-16.

Lario Y, Sendra E, Garc J, Pérez A, Fuentes C, Sayas-Barberá E, et al. Preparation of high dietary fiber powder from lemon juice by-product. Innov Food Sci Emerg Technol. 2004;5(1):113-17.

Ghasemi K, Ghasemi Y, Ebrahimzadeh MA. Antioxidant activity, phenol and flavonoid contents of 13 citrus species peels and tissues. Pak J Pharm Sci. 2009;22(3):277-81.

Pumpuang P, Rattanachot A. A study on collagen content from the waste of citrus reticulata blanco (seetong, mandarina, and shogun varieties) (special problem). Department of thai traditional medicine. Nonthaburi: Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology; 2017. (73). (in Thai)

Boonworaphat W. Thai-chinese herbal encyclopedia, frequently used in thailand. 1st ed. Bangkok: The association of chinese traditional medicine in Thailand; 2011. 655p. (in Thai)

thaicrudedrug.com [Internet]. Mandarin Orange; c2010 [cited 2019 Mar 1]. Available from: http://www.thaicrudedrug.com (in Thai)

siamchemi.com [Internet]. Benefits and toxicity of citric acid; c2020 [cited 2020 Aug 18]. Available from: https://www.siamchemi.com (in Thai)

Nopkesorn T. Qualitative methods vol1. 1st ed. Nakhon Ratchasima: Chokcharoen Marketing Co., Ltd.; 2008. (in Thai)

Tantipaibulvut S, Nuamsetti T, Dechayuenyong P. Antibacterial activity of some fruit-peel extracts. KKU Res. J. 2012; 17(6):880-894. (in Thai)

Chemistry and pharmaceutical technology subject group. Manufacture of herbal cosmetics. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University Press; 2005. 26p. (in Thai)

Krasantisuk S, Runnarong H. The development of skin care sericin lotion (special project). Faculty of pharmacy. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2006. (60). (in Thai)

Likert R. New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc; 1961. 279 p.

Pasunon P. Validity of questionnaire for social science research. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University. 2015;18:375–96. (in Thai)

Hoffmann R, Happle R. Current understanding of androgenetic alopecia. part I: etiopathogenesis. Eur J Dermatol. 2000;10(4):319-27.

ratchakitcha.soc.go.th [Internet]. Announcement of the Ministry of Industry No.4462(2012); c2012 [cited 2020 Aug 18]. Available from: http://www.ratchakitcha.soc.go.th (in Thai)

Gorantla N, Prasad KS, Thimma Reddy VT, Ragadeepika J, Hajarabi T, Ahad HA. Formulation and evaluation of herbal shampoo containing chamomile, rose and orange peel. IJMPR. 2013;1(2): 192-97.

Sunsanee P. Determinants of service quality as perceived by consumers in chiang mai (thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University; 1997. (in Thai)