การใช้ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบทางการแพทย์แผนไทย : สรรพคุณของกัญชา ตำรับยาที่ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ หรือตำราทางการแพทย์แผนไทย และการวิเคราะห์โครงสร้างตำรับยา

Main Article Content

ธเนศพล พันธ์เพ็ง
เยาวเรศ สติยศ
พรปวีณ์ ตระกูลบ้านมะหิงษ์
ทัศนีย์ ภารพัฒน์
จินตภาพ ด้วงดำรงค์
กุลภัสสรณ์ จำปาเงินทวีศรี
ผศ.พท.ป.สิริกานต์ ภูโปร่ง
สุภาวดี ตั้งจิตรเจริญ
ณัชกร ล้ำเลิศกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

การประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทำให้เกิดกระแส และการตื่นตัวเรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นอย่างมาก เนื่องจาก พ.ร.บ.ที่แก้ไขใหม่นี้อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ สามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมได้ และต่อมามีการประกาศปลดกัญชาออกจาก พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 แต่การบันทึกข้อมูลในการใช้ตำรับยาเหล่านี้มีการสูญหายไป เพราะกัญชาถูกห้ามใช้เป็นระยะเวลานาน บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลบันทึกการใช้ตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบในคัมภีร์ หรือตำราหลักทางการแพทย์แผน เพื่อใช้ในการเทียบเคียงกับองค์ความรู้ทางแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการใช้ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ผลการศึกษาพบว่ามีกัญชาเป็นส่วนประกอบในตำรับยา 26 ตำรับ ซึ่งถูกบันทึกในตำราหลักทางการแพทย์แผนไทย โดยมี 8 ตำรับตรงกับที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ เมื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างตำรับยา พบว่ากัญชาทำหน้าที่เป็นยาหลักในตำรับที่แก้อาการทางลม เป็นยารองในตำรับที่รักษาอาการท้องเสีย และริดสีดวงทวาร ไม่พบการใช้กัญชาเป็นตัวยาเดี่ยวเนื่องจากมีรสยาเป็นรสเมาเบื่อ จำเป็นต้องมีสมุนไพรรสอื่น ๆ มาช่วยเสริมฤทธิ์ ลดฤทธิ์ หรือคุมฤทธิ์กันตามโครงสร้างตำรับยา

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 96, ตอนที่ 63 ฉบับพิเศษ (ลงวันที่ 27 เมษายน 2522).

กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 136, ตอนที่ 19 ก (ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562).

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 190 ง (ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2563).

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 35 ง (ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565).

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 94 ง (ลงวันที่ 11 เมษายน 2562).

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กัญชา [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ท. [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/toxic_plant.asp?gr=G25&pl=0051&id=1.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, ศุภชัย ติยวรนันท์, วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 6 เภสัชกรรม. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2555.

McPartland JM. Cannabis Systematics at the Levels of Family, Genus, and Species. Cannabis and Cannabinoid Research. 2018;3(1):203-12.

เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ: กรุงธน; 2522.

วงศ์สถิตย์ ฉั่วสกุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. สมุนไพรพื้นบ้านล้านนนา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม, โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่ม 1 ฉบับชำระ พ.ศ.2550 เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.

พิศณุประสาทเวช, พระยา. เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม 1, 2, 3. กรุงเทพฯ: วัดพระเชตุพนวิมนมังคลารามราชวรวิหาร; 2452.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2542.

สุ่ม วรกิจพิศาส. เวชสาตร์วัณ์ณณา ตำราแพทย์แบบเก่า เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พิศาล บรรณนิติ์; 2460.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2555.

ร.ร. แพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. แพทยศาสตรสงเคราะห์ เล่ม 3. พระนคร2500.

สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ฉบับใบลาน (ตำราพระโอสถพระนารายณ์) 2555. กรุงเทพฯ : สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2555.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา กก. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.

สุวัตร ตั้งจิตรเจริญ. ประสบการณ์การใช้ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ. In: พรปวีณ์ ตระกูลบ้านมะหิงษ์, editor. กรุงเทพฯ2562.