แนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในห้องคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

Main Article Content

สุภัทราพร โสดี
ไพลิน อ่อนโพธิ์อารีย์
ดอกไม้ วิวรรธมงคล
วิวดี บุญเลี้ยง
เอื้อมพร สุวรรณไตรย์

บทคัดย่อ

การคลอดเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ เมื่อสตรีตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะใกล้คลอด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อเตรียมทารกให้เคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดของมารดา การเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งความเจ็บปวดทางกายและความกังวลทางใจ เมื่อความกลัวเกิดขึ้นภายในใจและความเจ็บทางกายเกิดวนซ้ำตามความก้าวหน้าของการคลอด ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์สูญเสียพลังใจ และไม่สามารถทนความเจ็บปวดทางกายได้ จึงเลือกการผ่าตัดคลอดเพื่อให้ความเจ็บปวดสิ้นสุดลง ปัจจุบันอัตราการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์สูงมากขึ้น ถึงแม้เทคโนโลยีการแพทย์จะมีความก้าวหน้าและปลอดภัยมากขึ้น แต่การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติย่อมส่งผลให้ร่างกายของมารดาฟื้นคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นหนึ่งในทีมสหวิชาชีพในห้องคลอด มีบทบาทช่วยบรรเทาความปวดระยะรอคลอด จึงประยุกต์การดูแลโดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย ได้แก่ การนวดไทยแบบราชสำนัก การประคบร้อน การหายใจ และด้านจิตใจ คือ การรับฟังเชิงลึก การสัมผัสทางกาย เพื่อส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์คลายความเจ็บปวดและมีกำลังใจที่ดี ผ่านความปวดระยะรอคลอดไปได้ บทความวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในห้องคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเกิดการบริบาลสตรีตั้งครรภ์ร่วมกัน โดยจะกล่าวถึงองค์ความรู้ และการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 4 ที่สัมพันธ์กับความปวดของสตรีตั้งครรภ์ และวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในห้องคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

เสฐียรโกเศศ. ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม; 2553.

ศุภลักษณ์ อิ่มแก้ว. พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของชาวเขา. Thai Journal of Nursing Council. 2012;16(2):15-24.

ศศิธร เตชะมวลไววิทย์. ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของ การคลอด Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 2015;31(1):114-115.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์ เล่ม 1)2555.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

พระยาแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี. แพทย์ตำบล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ; 2464.

เฉลียว สัตตมัย. โปรแกรมเตรียมคลอดโดยใช้แนวคิดจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ต่อผลลัพธ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2011;26(1):32-47.

จิราวรรณ คล้ายวิเศษ, ศรีสมร ภูมนสกุล, จรัสศรี ธีระกุลชัย. ผลของการนวดและ/หรือการประคบร้อนต่อระดับความปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วและ การรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. Rama Nurse Journal. 2016;22(3):14.

สลิตตา อินทร์แก้ว. ผลของการนวดแผนไทยต่อความปวดในระยะคลอด: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. หัตถเวชกรรมแผนไทย(การนวดไทยแบบราชสำนัก) ตอนที่ 1 การนวดพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2557.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. หัตถเวชกรรมแผนไทย(การนวดไทยแบบราชสำนัก) ตอนที่ 2 การนวดจุดสัญญาณ. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2557.

Chatchai Sawadhichai Panya Sananpanichkul, Yosapon Leaungsomnapa, and Paweena Yapanya, . Possible Role of Court-Type Thai Traditional Massage During Parturition:a Randomized Controlled Trial. International Journal of Therapeutic Massage and Bodywork. 2019;12.

สุทธชัย ใจบาล, ศุภรานันท์ เรืองพุก, ณัฐนันท์ แซ่ตั้ง. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการประคบร้อน. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2559;2:66-76.