การดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

Main Article Content

ฉันทณัฏฐ์ ทิพยเจริญธัม
ขวัญนรา นราจีนรณ
ธนภักษ์ เชาวน์พีระพงศ์
ทวีศักดิ์ วรรณชาลี
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขระดับประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ปัจจัยหลักเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค และการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งสามารถป้องกันได้ ทั้งนี้ การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยเบาหวาน ในบทความนี้ต้องการเสนอวิธีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยกล่าวถึงโรคเบาหวานในมุมมองของแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของตรีธาตุ ทำให้ธาตุในร่างกายผิดปกติ โดยศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั้นมีการใช้ยาสมุนไพร หัตถการต่าง ๆ คำแนะนำ รวมถึงการกินอาหารที่มีรสชาติหลากหลาย เน้นสมุนไพร หรือ พืชผัก เพื่อช่วยดูแลสุขภาพ และ ปรับสมดุลธาตุในผู้ป่วยเบาหวาน บทความนี้มีการนำเสนอรายงานผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาตำรับมธุรเมหะรักษาควบคู่กับยาแผนตะวันตกพบผลเป็นที่พึงพอใจ ไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ และมีตัวอย่างการใช้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์กับมะรุมในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ข้อมูลสมุนไพรอื่น ๆ แก่ผู้ป่วย  พร้อมกับข้อมูลการรักษาเบาหวานทางการแพทย์แผนตะวันตกซึ่งประกอบด้วยการรักษาโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา อีกทั้งข้อพิจารณาในการนำสมุนไพรไปใช้ให้เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และข้อควรระวังในการทำหัตถการบางอย่าง เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการชาจากอาการปลายประสาทอักเสบ สรุปคือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยทำโดยใช้หลักการปรับสมดุลของธาตุ ด้วยยาสมุนไพรและหัตถการต่าง ๆ เช่น การนวด การประคบสมุนไพร และการอบไอน้ำสมุนไพร ร่วมกับการปรับพฤติกรรมตามหลักธรรมนามัย เพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dictionary.orst.go.th/index.php

พระครูวินัยธรชาติชาย สมาจาโร. พุทธวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารวิจยวิชาการ. 2561; 1(3):87.

จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย; 2528.

พระยาพิศณุประสาทเวช. เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สามัคคี, 2529.

ขุนนิทเทส สุขกิจ. แพทย์ศาสตร์นิทเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พร้อมจักรการพิมพ์; 2516. น. 186.

สุ่ม วรกิจ พิศาล. เวชสาตร์วัณ์ณณา เล่ม 5. กรุงเทพฯ: พิศาลบรรณนิติ์. 2470. น. 841.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 280 โรค. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2544. น. 474-475.

โรงเรียนอายุรเวทธำรงสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

มูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์เล่ม 1). กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2550

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2554. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท (ชีวโกมารภัจจ์). ตำราเภสัชกรรมไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์; 2548.

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) ตอนที่ 1: การนวดพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2557.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, กัญจนา ดีวิเศษ,กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์, บรรณาธิการ. คุณค่าและสรรพคุณทางยาของผักพื้นบ้าน. พื้นบ้านและอาหารพื้นบ้าน 4 ภาค; 15-16 พฤษภาคม 2542; ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

สุขุม พิริยะพรพิพัฒน์, พาณี วสนาท. การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยามธุรเมหะกับ Metformin ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2563;18(3):478-495.

Wang F, Bao Y, Zhang C, Zhan L, Khan W, Siddiqua S, et al. Bioactive components and anti-diabetic properties of Moringa oleifera Lam. Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 2020:1-25.

Anthanont P, Lumlerdkij N, Akarasereenont P, Vannasaeng S, Sriwijitkamol A. Moringa Oleifera Leaf Increases Insulin Secretion after Single Dose Administration: A Preliminary Study in Healthy Subjects. J Med Assoc Thai. 2016;99(3):308-13.

Taweerutchana R, Lumlerdkij N, Vannasaeng S, Akarasereenont P, Sriwijitkamol A. Effect of Moringa oleifera leaf capsules on glycemic control in therapy-naive type 2 diabetes patients: A randomized placebo-controlled study. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2017;2017:6581390.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย , พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.198,213

อัครินทร์ นิมมานนิตย์. เวชศาสตร์เชิงประจักษ์กับการพัฒนางานการแพทย์แผนไทย. ใน: ทวี เลาหพันธ์, เอื้อพงศ์ จตุรธำรง, บรรณาธิการ. หนังสือการแพทย์แผนไทยประยุกต์กับการพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้ยั่งยืน 2555. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2555.11-16.

Lumlerdkij N, Mamak C, Duangdamrong J, Phayakkhawisai T, Trakoolsilp B, Jamparngernthaweesri K, et al. Evaluation of Evidence Related to Medical Uses and Health Claims of Fingerroot. Siriraj Medical Bulletin. 2021;14(2):61-72.

American Diabetes Association Professional Practice C, American Diabetes Association Professional Practice C, Draznin B, Aroda VR, Bakris G, Benson G, et al. 4. Comprehensive Medical Evaluation and Assessment of Comorbidities: Standards of Medical Care in Diabetes-2022. Diabetes Care. 2022;45(Suppl 1):S46-S59.

American Diabetes Association Professional Practice C, American Diabetes Association Professional Practice C, Draznin B, Aroda VR, Bakris G, Benson G, et al. 9. Pharmacologic Approaches to Glycemic Treatment: Standards of Medical Care in Diabetes-2022. Diabetes Care. 2022;45(Suppl 1):S125-S43.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) การนวดพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554

Al-Rowais NA. Herbal medicine in the treatment of diabetes mellitus. Saudi medical journal. 2002;23(11):1327-31.

Bush TM, Rayburn KS, Holloway SW, Sanchez-Yamamoto DS, Allen BL, Lam T, So BK, Tran DH, Greyher ER, Kantor S, Roth LW. Adverse interactions between herbal and dietary substances and prescription medications: a clinical survey. Alternative therapies in health and medicine. 2007;13(2):30-5.

Chatchawan U, Jarasrungsichol K, Yamauchi J. Immediate effects of self-thai foot massage on skin blood flow, skin temperature, and range of motion of the foot and ankle in type 2 diabetic patients. The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 2020;26(6):491-500.

Chatchawan U, Eungpinichpong W, Plandee P, Yamauchi J. Effects of thai foot massage on balance performance in diabetic patients with peripheral neuropathy: a randomized parallel-controlled trial. Medical science monitor basic research. 2015;21:68.