แนวคิดการรักษาอาการคันที่พบบ่อยตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Main Article Content

สุภาวดี ตั้งจิตรเจริญ
แม้นมาศ วรรณภูมิ
นิตยา พันธ์มี
ณัฐฐิมา เตชะพิพัฒน์ชัย
คณิฏฐ์ษา จิรัฐิติกาล
มนัญญา อนุรักษ์ธนากร
สมเกียรติ พัดอินท

บทคัดย่อ

อาการคันเป็นอาการที่พบได้บ่อยทางโรคผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากโรคผิวหนังเองหรือเกิดจากโรคอื่น ๆ โดยการแพทย์แผนตะวันตกจะใช้ยาเฉพาะที่ หรือยาที่รักษาอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ ในการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิม เช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน มักถูกใช้เป็นทางเลือก หรือรักษาร่วมกับศาสตร์การแพทย์แผนตะวันตก โดยบทความฉบับนี้ได้อธิบายแนวคิดอาการคันของศาสตร์แพทย์แผนไทยและศาสตร์การแพทย์แผนจีน ในทางการแพทย์แผนไทยจะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่มากระทบกับธาตุทั้ง 4  แพทย์แผนจีนจะวิเคราะห์วินิจฉัยตามทฤษฎีต่างๆ หนึ่งในนั้นคือทฤษฎีปัญจธาตุ ประกอบด้วย ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุทอง และธาตุน้ำที่มีความคล้ายคลึงกับแพทย์แผนไทย ทั้งสองศาสตร์จะวิเคราะห์ความผิดปกติของธาตุในร่างกาย และสาเหตุของโรคเพื่อประกอบการวางแผนการรักษา และการเลือกใช้ยาสมุนไพรที่เหมาะสมกับผู้ป่วย การเปรียบเทียบแนวคิดของอาการคันนี้จะพัฒนาองค์ความรู้ของศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมให้กว้างมากขึ้น และในอนาคตสามารถพัฒนาเวชปฏิบัติ นำไปสู่การต่อยอดงานวิจัย เพื่อช่วยให้ส่งต่อซึ่งกันและกัน หรือส่งต่อการรักษาไปยังแพทย์แผนตะวันตกได้

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

Tivoli YA, Rubenstein RM. Pruritus: an updated look at an old problem. J Clin Aesthet Dermatol 2009;2(7):30-36.

Moses S. Pruritus. Am Fam Physician 2003;68(6):1135-1142.

ผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสรรัตนโกสินทร์. เวชศึกษา แพทยศาสตร์สังเขป เล่ม 1, 2, 3. พระยาพิศณุประสาทเวช; 2451.

พระยาพิศณุประสาทเวช. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทย; 2452.

พระยาพิศณุประสาทเวช. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศุภการจำรูญ; 2450.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 254 ง, หน้า 3.

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. ตำราประมวลหลักเภสัช. กรุงเทพฯ; 2528.

Ying XH. TCM syndrome differentiation and treatment of Skin pruritus. Journal of Navy medicine 2005;26(2): 138.

Chen HF, editors. External medicine of Traditional Chinese Medicine. 2rd ed. Shanghai: Shanghai Science and Technology Press; 2009.

Chen XR, editors. Intergrated Traditional Chinese and Western Medicine in treatment of skin disease. Beijing: People’s Medical publishing house;2012.

Yang HM, Xu J, Yang G, Zheng c. Discussion on the relationship between the skin pruritus pathogenesis and syndrome differentiation and treatment in TCM. Chin J Dermato Venerol Integ W Med 2006;5(3):175-181.

Liu XT, He Y, Zhang JH, He CH, A preliminary study on the mechanism of skin pruritus and the correlation between TCM syndrome differentiation and treatment. Med J chin PAP 2021;32(4):362-364.

Jiang YS. TCM syndrome differentiation and treatment of itchy skin. Chinese Journal of information on TCM 2013;20(6):93-94.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทยฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

Deng ZJ, editors. Prescription of Traditional Chinese Medicine. 4th ed. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Publishing; 2012.