การใช้เวชปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองร่วมกับสหวิชาชีพ

Main Article Content

พัชร์พิชา ทูลสงวนศรี
นันทวัน ประทุมสุวรรณ์
ศวิตา ประสาทพรศิริโชค
อังคณา อภิชาติวรกิจ
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นการดูแลแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมการดูแลทั้งด้านกาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคม ซึ่งเป็นการดูแลที่มุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยอาศัยความร่วมมือจากสหวิชาชีพในการร่วมดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการทำงานของแต่ละวิชาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การร่วมดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้เขียนเพื่อให้สหวิชาชีพ รวมไปถึงแพทย์แผนไทยประยุกต์ เข้าใจแนวทางการร่วมบริบาลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยอ้างอิงองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยที่เป็นแนวทางหลักในการบริบาลร่วมกับประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย มารวบรวมและสรุปผล พบว่าการใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในการร่วมบริบาลมีจุดประสงค์ช่วยลดอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น อาการปวด อาการบวม อาการชา โดยการจ่ายยาสมุนไพร และการทำหัตถการ ได้แก่ การนวดไทยแบบราชสำนัก การประคบสมุนไพร การแปะยา รวมถึงการให้คำแนะนำ การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยนอกจากช่วยบรรเทาอาการทางกาย ยังสามารถช่วยดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาณและสังคม อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะประคับประคองและครอบครัวได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความทั่วไป

References

Palliative Care [Internet]. World Health Organization; [2020 August 5; cited 2021 September 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

โรงเรียนอายุรเวทธำรงฯ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. การแพทย์แผนไทยในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ พี.เอส.เพรส; 2552.

Choorit K. Palliative Care...การดูแลด้วยหัวใจในยุค 4.0. TUH journal online. 2020;5:47-50.

Henson LA, Maddocks M, Evans C, Davidson M, Hicks S, Higginson IJ. Palliative Care and the Management of Common Distressing Symptoms in Advanced Cancer: Pain, Breathlessness, Nausea and Vomiting, and Fatigue. J Clin Oncol. 2020;38(9):905-14.

Phupun E-o, Skulphan S, Thungjaroenkul P. Mental health problems and spiritual needs among patients with cancer, Nakornping Hospital, Chiangmai province. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health. 2018;32(3):75-89.

Tirapongprasert S, Samartkit N, Wiseso W. Factors Related to Spiritual Needs in Palliative Cancer Patients. The Journal of Faculty of Nursing Burapa University. 2021;29(1):67-79.

Sangchart B. Spiritual Well-being and Good Death. Journal of Nursing Science and Health. 2014;37(1):147-56.

พระปลัดอานนท์ กนฺตวีโร(ช้างแรงการ), พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ. พระสงฆ์กับการเยียวยาจิตใจ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 2559;2(1).

สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. ICD-10-TM บัญชีรหัสกลุ่มโรค อาการ และหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ; 2563. หน้า 276-89.

พรทวี ยอดมงคล. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care). บริษัท พิมพ์ดี จำกัด: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2556. หน้า 26.